พระจันทร์เวลากลางคืนขึ้นเป็นประมุขของดาวนักขัตฤกษ์ทั้งหลาย
นกฺขตฺตานํ มุขํ จนฺโท พระจันทร์เวลากลางคืนขึ้นเป็นประมุขของดาวนักขัตฤกษ์ทั้งหลาย ดาวมีมากน้อยเท่าใดในท้องฟ้า ดาวย่อมเป็นรองดวงจันทร์ ดวงจันทร์เป็นใหญ่กว่า ดวงดาวทั้งหมดมีมากน้อยเท่าใด ดวงจันทร์เป็นสำคัญกว่า แสงสว่างก็มากกว่า ดวงดาวมีมากน้อยเท่าใด จะรวมเท่าใดก็ไม่เท่าดวงจันทร์ ดวงจันทร์สำคัญกว่า ดวงจันทร์สว่างกว่า เมื่อรู้จักหลักอันนี้ ดวงจันทร์ทำแสงสว่างให้ สำคัญลบดวงดาวหมดทั้งสิ้น ฉันใดก็ดี ดวงที่ให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิดเหล่านี้ ก็มีดวงธรรมอีก สำหรับแก้ไขให้สัตว์โลกให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ดวงธรรมใหญ่เป็นลำดับจนกระทั่งดวงของพระอรหัต ใหญ่วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว สว่างหมดทั้งธาตุทั้งกรรม จะดูอะไรเห็นหมด ฉันใด ดวงที่เป็นบาปอกุศลมีมากเท่าใด ก็ถูกดวงธรรมที่ใหญ่เช่นนั้นครอบงำหมด ดวงธรรมที่ย่อยๆ ทำอะไรไม่ได้ เหมือนดวงดาวทำอะไรไม่ได้ ดวงจันทร์เป็นประมุขของดวงดาวทั้งหลาย ดวงธรรมที่ดีที่สุดที่ใหญ่ ก็เป็นประมุขของดวงบาปทั้งหลายเหล่านี้ ดวงธรรมย่อยๆ ทำอะไรไม่ได้ สู้ดวงที่ใหญ่ไม่ได้ พาสัตว์ให้ข้ามพ้นจากสมุทัยได้ นี้ก็เป็นข้อสำคัญ เป็นข้อที่ ๕
กัณฑ์ที่ ๒๕ เกณิยานุโมทนาคาถา
6/28/2022 • 2 minutes, 48 seconds จาก รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กัณฑ์ที่ ๑๖ เรื่อง ปัจฉิมวาจา
1/1/2022 • 42 minutes, 5 seconds อธิบายธรรมนิยามสูตรเป็นสยามภาษา
สมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน
อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดีสร้างถวาย ในกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น
สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาสู่ที่เฝ้า ภิกษุ
ทั้งหลายเหล่านั้นรับพุทธพจน์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอาลปน
คาถาว่า ภทนฺเต ความเจริญ จงมีแด่พระองค์ดังนี้
แล้วสมเด็จพระผู้มีพระภาคได้เริ่มตรัสพระสูตรนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ความไม่
บังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุ
นั้น เป็นที่ตั้งมั่นของธรรม เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรมสังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง
พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะอยู่ สอบสวนซึ่งธาตุนั้นอยู่ ครั้น
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว สอบสวนแล้ว ทรงบอกทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรง
แต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงกระทำให้ตื้นขึ้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ความ
ไม่บังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุ
นั้นเป็นที่ตั้งมั่นของธรรม เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรม ว่า
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะอยู่ สอบสวนซึ่งธาตุนั้นอยู่ ครั้น
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว สอบสวนแล้ว ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรง
แต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงกระทำให้ตื้นขึ้นว่า สังขารทั้งปวงเป็น
ทุกข์ ดังนี้
ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ความ
ไม่บังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดีธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุ
นั้นเป็นที่ตั้งมั่นของธรรม เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรมว่า
ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะอยู่ สอบสวนซึ่งธาตุนั้นอยู่ ครั้น
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว สอบสวนแล้ว ทรงบอกทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรง
แต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงกระทำให้ตื้นขึ้นว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่
ตัว ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ภิกษุทั้งหลายมีใจ
เพลิดเพลินยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ ดังนี้...."
นี่เป็นสยามภาษาล้วน ไม่เกี่ยวด้วยบาลี แต่ว่าเป็นเนื้อความของ
ภาษาแปลอยู่ ไม่ใช่สยามภาษาแท้ เป็นแปล มคธภาษาเป็นสยามอยู่ จะ
อรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป
เพราะธรรมนี่ลึกซึ้งนัก เราไม่รู้ไม่ถึง เราอาศัยกายมนุษย์ก็จริง แต่ว่า
หารู้จักธาตุธรรมของมนุษย์ไม่ หารู้จักธาตุธรรมของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
ไม่ วันนี้จะชี้แจงแสดงให้เข้าเนื้อเข้าใจในธาตุธรรมเหล่านี้
ข้อสำคัญอยู่ ก็ที่พระตถาคตเจ้าน่ะ เราต้องรู้จักคือใคร? รูปพรรณ
สันฐานเป็นอย่างไร?
แล้วก็คำว่า ธาตุน่ะ ว่าธรรมน่ะ เราต้องรู้จักว่าเป็นอย่างไร รูป
พรรณสัณฐานเป็นอย่างไร นั่นแน่ะต้องรู้ความอันนั้นแน่ะ
ที่แสดงมาแล้วนี้ เป็นอุเทศ นิเทศ ต้องเป็นปฏินิเทศออกไป อุเทศ
น่ะแสดงเนื้อความอยู่ นิเทศน่ะกว้างออกไป นิเทศน่ะพิสดารออกไป จะ
แสดงให้พิศดารกว้างขวางออกไปอีก
10/20/2021 • 7 minutes, 26 seconds รู้จัก ๓ ป. จึงพอเอาตัวรอด
รู้จัก ๓ ป. จึงพอเอาตัวรอด
การเล่าเรียนในทางพุทธศาสนา การแสดงก็ดี การสดับตรับฟังก็ดี ให้รู้จักทางปริยัติ ทางปฏิบัติ ทางปฏิเวธ จึงจะเอาตัวรอดได้
ถ้ารู้จักแต่เพียงทางปริยัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิบัติ ต้องให้เข้าถึงทางปฏิบัติ
ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิเวธ ให้เข้าถึงทางปฏิเวธ
นั่นแหละจึงจะเอาตัวรอดได้
ภารสุตตถาคา
๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖
โอวาทพระมงคลเทพมุนี
7/10/2020 • 1 minute, 35 seconds หตุนี้พระองค์ทรงเห็นแล้วว่า ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อยวางขันธ์ ๕ หรือละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด
ผู้ใดปล่อยได้ ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติหมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ ๕ ออกเป็นชั้นๆ ไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ ๕ จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกัน ไม่หลุด ไม่กรอ กจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ ๕ ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ ๕ เราจะเห็นขันธ์ ๕ เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
7/9/2020 • 4 minutes, 30 seconds พระมงคลเทพมุนี - สมถะวิปัสสนา กัมมัฏฐาน
เสียงพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ แสดงธรรมเรื่อง สมถะ วิปัสสนา กัมมัฏฐาน
9/14/2019 • 36 minutes, 55 seconds พระมงคลเทพมุนี สด จนฺทสโร สมถวิปัสสนา
ทางพระพุทธศาสนามี วิชชา ๒ อย่างนี้เป็นข้อสำคัญนัก บัดนี้ท่านทั้งหลายที่เสียสละเวลามา ก็เพื่อมาเรียนสมถวิปัสสนาทั้งสองอย่างนี้
สมถะเป็นวิชชาเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องเอาใจใส่ คือ แปลความว่า สงบระงับใจ เรียกว่าสมถะ
วิปัสสนาเป็นขั้นสูงกว่าสมถะ ซึ่งแปลว่าเห็นแจ้ง เป็นธรรมเบื้องสูง เรียกว่าวิปัสสนา
สมถะวิปัสสนา ๒ อย่างนี้ เป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกในทางพระพุทธศาสนา
ผู้พูดนี้ได้ศึกษามาตั้งแต่บวช พอบวชออกจากโบสถ์แล้วได้วันหนึ่ง รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็เรียนทีเดียว เรียนสมถะทีเดียว ไม่ได้หยุดเลย จนกระทั่งถึงบัดนี้
บัดนี้ทั้งเรียนด้วย ทั้งสอนด้วย ในฝ่ายสมถะวิปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนี้สมถะมีภูมิแค่ไหนสมถะ มีภูมิ ๔๐ คือกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑อรูปฌาน ๔ทั้ง ๔๐ นี้ เป็นภูมิของสมถะ
วิปัสสนามีภูมิ ๖ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันดับไป
นี้เป็นภูมิของวิปัสสนา ภูมิสมถวิปัสสนาทั้ง ๒ นี้ เป็นตำรับตำราในทางพระพุทธศาสนาได้ใช้กันสืบมา
แต่ภูมิของสมถะที่เราจะพึงเรียนต่อไปนี้ เริ่มต้นต้องทำใจให้หยุด จึงจะเข้าภูมิของสมถะได้ ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้
สมถะ เขาแปลว่าสงบ แปลว่าระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจให้หยุด ใจของเรานะอะไรที่เรียกว่าใจ ?เห็นอย่างหนึ่งจำอย่างหนึ่งคิดอย่างหนึ่งรู้อย่างหนึ่ง๔ อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน นั่นแหละเรียกว่า ใจ
อยู่ที่ไหน ? อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือความเห็น อยู่ที่ท่ามกลางกายความจำ อยู่ที่ท่ามกลางเนื้อหัวใจความคิด อยู่ท่ามกลางดวงจิตความรู้ อยู่ท่ามกลางดวงวิญญาณเห็น จำ คิด รู้ ๔ ประการนี้ หมดทั้งร่างกาย
ส่วนเห็น เป็นต้นของรู้ส่วนจำ เป็นต้นของเนื้อหัวใจส่วนคิด เป็นต้นของดวงจิตส่วนรู้ เป็นต้นของดวงวิญญาณดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในอยู่ในกลางดวงจิตดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอกอยู่ในกลางเนื้อหัวใจดวงจำ กว้างออกไปอีกหน่อยหนึ่งเท่าดวงตาทั้งหมดดวงเห็น อยู่ในกลางกายโตกว่าดวงตาออกไป นั่นเป็นดวงเห็นดวงเห็นนั่นแหละ ธาตุเห็นมันอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น นั่นแหละเรียกว่าเห็น เห็นอยู่ในธาตุเห็นนั้นดวงจำ ธาตุจำมันอยู่ในศูนย์กลางดวงนั้นดวงคิด ธาตุคิดมันอยู่ศูนย์กลางดวงนั้นดวงรู้ ธาตุรู้อยู่ในศูนย์กลางดวงนั้นเห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละ เอาเข้ามารวมเป็นจุดเดียวกัน เรียกว่า ใจ
12/31/2018 • 27 minutes, 25 seconds