เราจะรู้ว่าตับของเราเริ่มเสื่อมได้หรือไม่ ? | 6 Minute Health Talk EP.14
วันนี้เป็น Ep. ที่มาจากคำถามบน Tiktok ที่มีคนถามเกี่ยวกับการทำงานของตับ
เราสามารถรู้ได้หรือไม่ว่า ตับของเราเริ่มเสื่อม หรือทำงานได้น้อยลง ?
มีสัญญาณหรืออาการเริ่มต้นอะไรบ้างไหมที่ให้เรารู้ตัวก่อน ?
มาฟังคำตอบจากพี่หมอเอ้ว ใน 6 Minute Health Talk EP.14 กันค่ะ
4/6/2023 • 6 minutes, 7 seconds ความเครียดดีกับร่างกายเรายังไง ? | 6 Minute Health Talk EP.13
วันนี้เราจะพูดคุยถึงเรื่องของ "ความเครียด"
ปกติเราจะคุ้นเคยกันดีว่าความเครียดส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย
แต่จริงๆ แล้วกลไกความเครียดมันมีหน้าที่ที่จำเป็นต่อร่างกายของเราอยู่
มาดูกันค่ะว่าคำอธิบายคืออะไร เมื่อเรามีความเครียดเกิดขึ ้น ร่างกายจะทำงานยังไง ?
4/3/2023 • 6 minutes, 10 seconds [EP65] โรคไตระยะสุดท้ายเป็นอย่า งไร มีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง ?
วันนี้เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจจากทางสมาคมโรตไตแห่งประเทศไทย
โรคไตระยุสุดท้ายเป็นอย่างไร อาการมากแค่ไหนถึงบอกได้ว่าเป็นระยะสุดท้ายแล้ว ?
ใน Ep. นี้ ศ.นพ. เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ อายุรแพทย์โรคไต จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมาให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาในอนาคต
ติดตามรับฟังกันค่ะ
4/1/2023 • 6 minutes, 22 seconds อาหารช่วยต้าน PM 2.5 | 6 Minute Health Talk EP.12
การดูแลตัวเองในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 สูง นอกเหนือจากการดูแลตัวเองทั่วๆ ไป
อย่างการใส่ Mask และพยายามอยู่ภายในตัวอาคารแล้ว
ในทางทฤษฎีพบว่าอาหารอาจเป็นตัวช่วยป้องกันผลกระทบของ PM 2.5 ได้
วันนี้เราเลยจะมาโฟกัสเรื่องของอาหารการกินของเรากันค่ะว่า
ในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น เ ราควรกินอาหารประเภทไหนบ้างเพื่อดูแลตัวเอง ?
3/28/2023 • 5 minutes, 47 seconds ไขมันพ อกตับคืออะไร แก้ไขยังไง ? | 6 Minute Health Talk EP.11
ปกติแล้วไขมันจะแทรกอยู่ในตับของเราอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดไขมันสะสมเยอะเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะที่เรียกว่าไขมันพอกตับ มันคืออะไร ? มีสาเหตุจากอะไรบ้าง ?
จะรู้ได้ยังไงว่าเรามีภาวะไขมันพอกตับ ? แล้วเราจะแก้ไขภาวะนี้ได้ไหม ?
3/17/2023 • 7 minutes, 33 seconds อาหารที่ดีสำหรับจุลินทรีย์ในลำไส้ | 6 Minute Health Talk EP.10
จาก Ep. ที่แล้ว เราพูดถึงประโยชน์ของจุลินทรีย์ในลำไส้กันไปแล้ว
วันนี้เราจะมาดูกันต่อว่า อาหารอะไรบ้างที่ดีและมีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา
และมาทำความรู้จักกับ 4 คำนี้ Prebiotics Probiotics Postbiotics Synbiotics ว่ามันคืออะไร
ติดตามใน 6 Minute Health Talk Ep. นี้กันค่ะ
3/15/2023 • 4 minutes, 9 seconds 5 เหตุผลทำไมจุลินทรีย์ในลำไส้จึงสำคัญกับเรา | 6 Minute Health Talk EP.9
เราเคยคุยเรื่องจุลินทรีย์ หร ือ Microbiome กันไปแล้วหลาย Ep.
แต่วันนี้เราจะมาคุยสรุป 5 เหตุผลสั้นๆ ว่าจุลินทรีย์ในลำไส้มันเกี่ยวกับสุขภาพของเราได้ยังไง ?
จุลินทรีย์ในลำไส้มีผลต่อสมองและจิตใจของเราจริงไหม ?
เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันในร่างกาย และความอ้วนความผอมของเรายังไง ?
3/13/2023 • 5 minutes, 40 seconds [EP64] กินยังไงจึงจะไม่เป็นโรคไต ?
หัวข้อในวันนี้เกี่ยวข้องกับไต เราจะมาคุยกันว่ากินยังไงจึงจะไม่เป็นโรคไต ?
เวลาที่เราซื้ออาหาร มีเคล็ดลับในการเลือกซื้ออาหารยังไงบ้างที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคไต ?
วันนี้เราจะมาฟังคำตอบจาก รศ.พญ. ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย ใน Ep. นี้กันค่ะ
3/6/2023 • 5 minutes, 50 seconds ดื่มกาแฟแบบนี้อันตรายอาจตายได้ | 6 Minute Health Talk EP.8
วันนี้เราจะมาคุยเรื่องของ Caffeine cache เป็นภาวะนึงของการดื่มกาแฟที่อาจมีอันตรายได้
ภาวะนี้คืออะไร ? ทำไมถึงอันตรายต่อชีวิตเราได้ ? แล้วการทำงานของคาเฟอีน มันทำให้เราหายง่วงได้ยังไง ?
ติดตามคำตอบได้ใน 6 Minute Health Talk Ep. นี้กันค่ะ
3/4/2023 • 5 minutes, 42 seconds ทำไมเครื่องดื่มไม่มีแคลอรี่ก็ทำให้อ้วนได้ ? | 6 Minute Health Talk EP.7
เครื่องดื่ม zero calorie ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่มีพลังงาน แล้วจะทำให้เราอ้วนขึ้นได้ยังไง ?
แต่การทดลองต่างๆ ก็มีข้อมูลมากพอที่จะสรุปว่า คนที่ดื่มเครื่องดื่ม zero calorie เป็นประจำมีแนวโน้มที่จะอ้วนขึ้นได้มากกว่าคนที่ไม่ดื่ม
อะไรคือคำอธิบายของเรื่องนี้ มาฟังพี่หมอเอ้วใน Ep. กันค่ะ
3/2/2023 • 4 minutes, 59 seconds [EP63] ประวัติศาสตร์การปลูกถ่ายไต ตอนที่ 4 (ตอนจบ)
"ถึงแม้ว่าความล้มเหลวจะทำลายจิตใจของคนในทีมไปมาก เพียงแต่ความล้มเหลวแต่ละครั้งมันทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทีละเล็ก ทีละน้อย และสิ่งเหล่านี้มันจะนำไปสู่การช่วยชีวิตผู้ป่วยได้" ความตอนหนึ่งจากหนังสือของหมอ Murray อันเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง
เรื่องราวยังคงอยู่กับหมอ Murray จาก Ep. ที่แล้ว
ความก้าวหน้าของการปลูกถ่ายไตยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
วิธีการรักษาใหม่ๆ ถูกมาทดลองใช้
และหนึ่งในการรักษาใหม่นั้นเป็นไอเดียที่เกิดขึ้นมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2
การรักษาใหม่นั้นแม้ว่าจะเพิ่มโอกาสให้ไต "ติด" มากขึ้น แต่ก็เพิ่มโอกาสตายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ใน Ep. เราจะมาดูกันว่า การรักษาใหม่นั้นคืออะไร ? และทำไมจึงเพิ่มโอกาสตายมากขึ้น ? หาคำตอบได้ใน Ep. สุดท้ายของซีรีส์นี้ไปด้วยกันครับ
2/27/2023 • 14 minutes, 19 seconds เราต้องดื่มน้ำ 6-8 แก้วจริงหรือเปล่า ? | 6 Minute Health Talk EP.6
สงสัยกันไหมคะว่าเราต้องดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วจริงหรือเปล่า ? แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าดื่มน้ำแค่ไหนถึงเพียงพอต่อตัวเอง ? ดื่มน้ำเยอะไปอันตรายไหม ? มาฟังคำตอบจากพี่หมอเอ้วกันค่ะ
2/24/2023 • 4 minutes, 46 seconds [EP62] ประวัติศาสตร์การปลูกถ่ายไต ตอนที่ 3
Ep. นี้ ว่าด้วยเรื่องราวของหมอเมอร์รีย์ ที่เข้ามาพลิกวงการปลูกถ่ายไต
หลังจากล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน หมอหลายคนจึงเชื่อว่าการปลูกถ่ายไตเป็นสาขาที่ไม่มีอนาคตและอาจจะเป็นไปไม่ได้
จนหมอ โจเซฟ เอดเวิร์ด เมอร์รีย์ เข้ามาและทำให้ความฝันในการปลูกถ่ายไตเป็นจริงได้ในที่สุด
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวใน Ep. นี้เกิดขึ้นจากนักบินที่ถูกไฟคลอกทั่วร่างกายจากเหตุเครื่องบินตก
ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ผู้ป่วยถูกไฟคลอกจะเกี่ยวกับการปลูกถ่ายไตยังไง
เกิดอะไรขึ้นกับการปลูกถ่ายไต ที่สำเร็จครั้งแรก ?
มาฟังหมอเอ้วเล่าใน Ep. นี้กันครับ
2/22/2023 • 16 minutes, 16 seconds [EP61] ChatGPT กับวงการแพทย์
podcast วันนี้เป็น Ep. พิเศษ เพราะเรามีแขกรับเชิญมาร่วมพูดคุยด้วย
หมอแม้ว พญ. ศกุนี นิรันดร์วิชย ซึ่งนอกจากจะเป็นหมอเชี่ยวชาญด้านผิวหนังแล้ว ยังเป็น Innovation Team Lead ของบริษัท Digital Health Venture และเป็นอดีต Co-founder ของ healthtech startup ด้าน telemedicine
วันนี้หมอเอ้วชวนหมอแม้วมาคุยเรื่อง ChatGPT กับวงการแพทย์ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คนพูดถึง ChatGPT กันมากว่าจะเปลี่ยนแปลงโลกไปยังไงบ้าง
แต่วันนี้เราจะมาโฟกัสกันเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์ ทั้งในแง่ของคนที่เป็นหมอ ในแง่ของการเรียนการสอน และผลกระทบที่จะมีต่อคนทั่วไปในฐานะที่เป็นคนไข้
และไม่ใช่แค่ข้อดี แต่ข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย ไปฟังหมอเอ้วคุยกับหมอแม้วกันค่ะ
2/20/2023 • 28 minutes, 29 seconds ร่างกายเราต้องการ detox จริงหรือเปล่า ? | 6 Minute Health Talk EP.5
หลายครั้งคนมักถามบ่ อยๆ ว่า เราควรจะ detox แบบไหน ? ต้อง detox ทุกๆ กี่เดือน ? แต่จริงๆ แล้วคำถามสำหรับเรื่องนี้มันคือว่า "การ detox มันจำเป็นสำหรับร่างกายเราหรือเปล่า ?" วันนี้มาฟังคำตอบจากพี่หมอเอ้วกันค่ะ
2/18/2023 • 5 minutes, 58 seconds [EP60] ประวัติศาสตร์การปลูกถ่ายไต ตอนที่ 2
หลังจากเรื่องราวการปลูกถ่ายไตใน EP. แรกผ่านมา 5 ปี ก็มีทีมหมอที่สนใจเรื่องการปลูกถ่ายไตเพิ่มมากขึ้น แต่เกือบทั้งหมดเป็นการนำไตจากผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วมาใช้
ใน EP. นี้ จะเป็นเรื่องราวของการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต
เดือนธันวาคม ปี 1972 ช่างไม้หนุ่มผู้หนึ่งตกลงมาจากที่สูงขณะที่กำลังปีนขึ้นไปซ่อมหลังคาบ้าน สีข้างเขากระแทกพื้นอย่างแรง ถึงขั้นทำให้ไตข้างนั้นของเขาเสียหายและต้องตัดไตข้างนั้นทิ้ง ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะคนเราสามารถมีไตข้างเดียวได้
แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดเกิดขึ้น จนนำไปสู่ความพยายามที่จะนำไตจากผู้บริจาคที่ยังไม่เสียชีวิตมาปลูกถ่าย ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไร
ทำไมผู้ป่วยต้องได้รับการปลูกถ่ายไต ? หมอนำไตมาจากใคร ? และการผ่าตัดจะผ่าตัดหรือล้มเหลว ?
ไปฟังหมอเอ้วเล่าให้ฟังกันได้ใน EP. นี้เลยครับ
2/16/2023 • 12 minutes, 59 seconds การงีบดีหรือไม่ดีกับร่างกาย 6 Minute Health Talk EP.4
วันนี้พี่หมอเอ้วจะมาชวนคุยเรื่องการงีบว่าส่งผลดีกับสุขภาพของเราจริงๆ หรือเปล่า ? ข้อดีและข้อเสียของการงีบคืออะไรบ้าง ? ใครบ้างที่ควรงีบ ?
1/30/2023 • 4 minutes, 55 seconds อาหารที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น 6 Minute Health Talk EP.3
เวลาพูดถึงการนอน หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะสิ่งแวดล้อมภายในห้องนอน แต่จริงๆ แล้วการนอนมันยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างวันด้วย ว่าเราทำอะไรและกินอะไรเข้าไปบ้างโดยเฉพาะในมื้อเย็น วันนี้เราจะมาคุยกันว่าสิ่งที่เรากินเข้าไปเกี่ยวข้องกับการนอนได้ยังไง ?
1/28/2023 • 5 minutes, 7 seconds กินไข่ทุกวันอันตรายไหม ? 6 Minute Health Talk EP.2
ไข่ เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ราคาถูก กินง่าย ทำได้หลายเมนู แต่ก็มีข้อเสียอยู่ด้วยเหมือนกัน คำถามคือ เรากินไข่ทุกวันเลยได้ไหม ? เป็นอันตรายหรือเปล่า ? ต้องกินกี่ฟองถึงเรียกว่าพอดี ?
1/25/2023 • 6 minutes, 26 seconds นอนไม่หลับแก้ไขยังไง ? 6 Minute Health Talk EP.1
วันนี้เป็นเอพิโสดแรกของรายการใหม่ในช่องเรื่องเล่าจากร่างกาย เราจะมาโฟกัสในเรื่องของการดูแลสุขภาพ แบบเน้นนำไปใช้จริงได้เลย
จะเป็นตอนสั้นๆ ประมาณ 5-6 นาที ตั้งใจว่าจะให้เป็นเหมือนเครื่องมือช่วยที่ไม่เสียเวลาฟังมาก
และเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนคนทั่วๆ ไป ที่ยุ่งๆ กับเรื่องต่างๆ ในชีวิต ไม่ให้ลืมการดูแลสุขภาพ
สำหรับตอนแรกนี้ เราจะมาคุยถึง 11 วิธีแก้ปัญหาสำหรับคนที่นอนหลับยากกันค่ะ
1/23/2023 • 7 minutes, 9 seconds [EP59] ไม่กินยาได้ไหมกลัวไตพัง | เรื่องเล่าจากร่างกาย x คุยเรื่องไตไขความจริง
เชื่อว่าหลายคนที่ป่วยแล้วต้องกินยาประจำตัวมาเป็นเวลานานอาจมีคำถามที่สงสัยในใจว่ามันจะทำให้ไตของเราเสื่อมหรือเปล่า ?
โดยวันนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรตไตแห่งประเทศไทย จะมาให้คำตอบว่าถ้าเรากินยานานๆ ไตจะเสื่อมไหม ? แพทย์จะรู้ได้อย่างไรว่าไ ตกำลังจะเริ่มเสื่อมแล้ว ? และแนวทางในการใช้ยาสำหรับคนไข้ไตเสื่อมเรื้อรัง
ติดตามได้ในเรื่องเล่าจากร่างกายเอพิโสดนี้ค่ะ
………………………………………………………………..
“คุยเรื่องไต ไขความจริง” สาระความรู้เกี่ยวกับโรคไตที่ถูกรวบรวมไว้จากเหล่าอายุรแพทย์โรคไต และเภสัชกรที่เชี่ยวชาญ
👉https://bit.ly/3XFuqbY
สำหรับใครที่สนใจสามารถติดตามกันต่อได้ที่ Facebook สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
👉 https://www.facebook.com/kidneythai/
1/18/2023 • 6 minutes, 20 seconds [EP58] ประวัติศาสตร์การปลูกถ่ายไต ตอนที่ 1
เมื่อปี ค.ศ. 1947 ในประเทศอเมริกา…
มีหญิงสาวคนหนึ่งเดินเข้ามาที่โรงพยาบาล พร้อมกับอาการติดเชื้อในกระแสเลือด จากการที่เธอได้ไปทำแท้งมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ “ภาวะไตวาย”
สำหรับการรักษาภาวะไตวาย ถ้าเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน หญิงสาวคนนี้คงไม่ต้องกังวลอะไรมากมาย เพียงนำไตเทียมมาต่อเข้าในร่างกาย ก็มีโอกาสพ่นขีดอันตรายได้ไม่ยากนัก แต่เมื่อ 75 ปีที่แล้วนั้น ยังไม่มีองค์ความรู้ ไม่มีวิธีรักษาภาวะไตวายเหมือนกับในปัจจุบันนี้ ทำได้เพียงภาวนาให้หายจากอาการนี้อย่างปลอดภัยเท่านั้น
ทั้งนี้ เป็นเรื่องโชคดี (หรือโชคร้ายกันแน่) เมื่อมีหมอนายหนึ่ง ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาได้คิดค้นวิธีรักษา และได้นำไอเดียการเปลี่ยนไตของสัตว์สี่ขาสุดน่ารักอย่างสุนัข มาใช้รักษาหญิงสาวผู้นี้ !!!
ชะตากรรมของหญิงสาวจะเป็นอย่างไร มาหาคำตอบได้ใน EP นี้กันครับ
และนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของ ประวัติศาสตร์การปลูกถ่ายไต ที่เราจะได้เรียนรู้กันต่อไปครับ
12/16/2022 • 21 minutes, 56 seconds [EP57] ทำไมมนุษย์ถึงเป็นสิว ?
เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของซีรีส์ผิวหนัง วันนี้เราจะมาพูดถึงโรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งก็คือเรื่องของ "สิว"
มีคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิว คือ รู้ไหมว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ไม่เป็นสิว แล้วทำไมสิวถึงเกิดขึ้นเฉพาะในมนุษย์ ? ทำไมคนที่ยังใช้ชีวิตแบบใกล้ชิดธรรมชาติจะไม่ค่อยเป็นสิว ? สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเพิ่มความเสี่ยงและโอกาสที่จะเป็นโรคสิวได้ยังไง ? ติดตามคำตอบในเอพิโสดนี้กันค่ะ
………………………………………………………………..
ขอบคุณผู้สนับสนุนของเรา Tarel
Line official: @tarel
IG: @tarelofficial
Shopee: tarelofficial link: https://shope.ee/Aqo0UpiMr
#ผิวหนัง #tarel
เจลแต้มสิวที่พัฒนามาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11/18/2022 • 15 minutes, 45 seconds [EP56] อะไรอาศัยอยู่บนผิวหนังของเรา และมีประโยชน์อะไร กับเราบ้าง ?
วันนี้เราจะคุยกันในเรื่องของ Skin Microbiome หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของเรา แม้ว่าผิวหนังอาจดูเป็นที่ที่ยากต่อการอาศัยของจุลินทรีย์
เพราะสิ่งแวดล้อมของผิวหนังเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต้องสัมผัสกับโลกภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความชื้น รังสี UV อุณหภูมิ และความมันบนผิวหนัง
แต่ผิวหนังก็เป็นส่วนที่มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่มากมาย วันนี้เราจมาดูว่าจุลินทรีย์ที่อยู่บนผิวหนังมันดีต่อเรายังไง ? และมีอะไรบ้างที่ทำให้จุลินทรีย์บนผิวหนังเสียสมดุลไป ?
………………………………………………………………..
ขอบคุณผู้สนับสนุนของเรา Tarel
Line official: @tarel
IG: @tarelofficial
Shopee: tarelofficial link: https://shope.ee/Aqo0UpiMr
#ผิวหนัง #tarel
เจลแต้มสิวที่พัฒนามาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11/9/2022 • 18 minutes, 56 seconds [EP55] เจอกรณีคนเหยียบกันตาย ทำยังไงเราจึงมีโอกาสรอดตาย?
วันนี้เป็นตอนพิเศษจากหมอเอ้วและหมอขวัญปีใหม่ จะมาพูดคุยถึงกรณีที่เกิดขึ้นที่อิแทวอน และแชร์วิธีการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ Crowd crush (ฝูงชนเบียดกัน) และอีกเหตุการณ์ที่เราอาจเจอได้บ่อย อย่างเวลาไปดูงานคอนเสิร์ตต่างๆ ที่เรียกว่า Stampede หรือวิ่งเหยียบกันตาย เพื่อใช้รับมือและลดความเสี่ยงเมื่อเราบังเอิญไปอยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น
11/2/2022 • 19 minutes, 44 seconds [EP54] ผิวหนังของเราทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
เรื่องเล่าจากร่างกายวันนี้ขอนำเสนอซีรีส์ใหม่ในเรื่องของผิวหนัง หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าผิวหนังทำหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน ผิวหนังทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกายที่เป็นเหมือนกำแพงป้องกันร่างกายภายในกับโลกภายนอก แต่นั่นก็เพียงหนึ่งในหน้าที่ของผิวหนังเท่านั้น วันนี้เราจะมาดูกันว่าผิวหนังทำหน้าที่อะไรอีกบ้าง และมีความสำคัญต่อร่างกายของเรายังไง ติดตามกันได้ในซีรีส์ผิวหนังของเราทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
………………………………………………………………..
ขอบคุณผู้สนับสนุนของเรา Tarel
Line official: @tarel
IG: @tarelofficial
Shopee: tarelofficial link: https://shope.ee/Aqo0UpiMr
#ผิวหนัง #tarel
เจลแต้มสิวที่พัฒนามาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10/29/2022 • 14 minutes, 26 seconds [EP53] ระบบเมตาบอลิซึมของร่างกายเราทำงานยังไง ?
หัวข้อที่เราจะคุยกันวันนี้เป็นเรื่องของเมตาบอลิซึม เชื่อว่าใครหลายคนน่าจะเคยได้ยินและคุ้นเคยกับคำนี้กันมาบ้างว่าเมตาบอลิซึมคือระบบเผาพลาญของร่างกาย แต่มันอาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด มันยังมีคำถามที่น่าสนใจอีกหลายคำถามเกี่ยวกับระบบนี้ เช่น เมตาบอลิซึมของร่างกายมันเปลี่ยนแปลงได้ไหม? มันสามารถเพิ่มหรือลดได้ไหม? มีปัจจัยอะไรที่ทำให้เมตาบอลิซึมของร่างกายเราเปลี่ยนแปลงไปได้บ้าง?
10/11/2022 • 18 minutes, 39 seconds [EP52] เกิดอะไรขึ้นหลังจากเรากินไขมันเข้าไปแล้ว ?
หัวข้อวันนี้ยังอยู่ในซีรีส์ระบบทางเดินอาหารของคุณทำงานยังไง ตอนที่ 2 เราจะมาทำความรู้จักสิ่งที่เรียกว่าไขมัน เราจะมาดูว่าเมื่อเราทานไขมันเข้าไปแล้ว มันผ่านระบบทางเดินอาหารยังไง ? ไขมันที่กินเข้าไปกลายเป็นไขมันในเลือดได้ยังไง ? ทำไมปั จจุบันถึงแยกเป็นไขมันดีและไม่ดี กระเพาะเราจะย่อยและดูดซึมสารเหล่านี้แล้วส่งผลต่อร่างกายของเรายังไงบ้าง ?
10/4/2022 • 24 minutes, 42 seconds [EP51] ระบบทางเดินอาหารของคุณทำงานยังไง ตอนที่ 1
เรื่องเล่าจากร่างกายวันนี้ เริ่มต้นซีรีส์ใหม่ด้วยเรื่องของทางเดินอาหาร เราจะมาดูภาพรวมการทำงานของระบบทางเดินอาหารว่ามันทำงานยังไง ตั้งแต่เวลาที่เรากินอาหารเข้าไป แล้วผ่านกระบวนการย่อยและดูดซึมอาหารต่างๆ จนถึงการขับถ่ายออกมา และพูดคุยถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารอย่างกรดไหลย้อนคืออะไร ? ใครบ้างเสี่ยงเป็นโรคนี้ ?
9/29/2022 • 39 minutes, 2 seconds [EP50] จุลินทรีย์ในอุจจาระ ใช้รักษาโรคได้ยังไง?
เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินเรื่องการนำเอาอุจจาระมารักษาโรคอยู่บ้าง เพราะด้วยความแปลกของมันเลยทำให้เรื่องนี้ถูกพูดถึงกันเยอะ
แต่สำหรับใครที่ไม่เคยได้ยินและคงจะสงสัยกันอยู่ว่าอุจจาระนั ้นนำมาใช้รักษาโรคได้อย่างไร และเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเหล่านั้นคืออะไร? วันนี้เราจะมาตอบคำถามเหล่านั้นกันครับ
9/26/2022 • 20 minutes, 3 seconds [EP49] จุลินทรีย์ในลำไส้ เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ และ พาร์กินสันยังไง?
เราจะมาคุยเรื่องของโรคทางสมองกันอีก 2 โรค นั่นก็คือ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายๆ คนอาจคุ้นเคยกับชื่อของโรคเหล่านี้ดี เพียงแต่อาจจะยังไม่คุ้นเคยว่ามันมีอาการยังไง สาเหตุเกิดจากอะไร
และที่สำคัญเชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่าโรคทางสมองเหล่านี้เกี่ยวกับจุลินทรีน์ในลำไส้ของเราด้วยเหมือนกัน และการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ อาจช่วยป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของโรคเหล่านี้ได้ เรื่องราวจะเป็นมาอย่างไรนั้น ตามมาหาคำตอบไปพร้อมกันครับ
9/21/2022 • 28 minutes, 21 seconds [EP48] จุลินทรีย์ในลำไส้เกี่ยวกับโรค Autism ได้ยังไง ?
หัวข้อของเราในว ันนี้น่าสนใจมาก คือเราจะมาพูดคุยถึงเรื่องโรคออติซึม (Autism) หรือ ที่เราเรียกติดปากกันว่า โรคออทิสติก โรคของสมองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
และความน่าสนใจไปมากกว่านั้นของเรื่องที่จะเล่าให้ฟังในวันนี้ คนที่จุดประกายให้เกิดการค้นพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้มันเกี่ยวข้องกับโรคออทิสติกด้วยนั้นเป็นบุคคลที่อยู่นอกวงการแพทย์
8/31/2022 • 27 minutes, 46 seconds [EP47] จุลินทรีย์ในลำไส้คุยกับสมองได้ยังไง ? Gut-Brain Axis
เคยรู้หรือไม่ครับว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา มันสามารถมีผลต่ออารมณ์ สมอง และนิสัยใจคอของเราได้ด้วย?
ถึงขนาดว่ามีคำนิยามว่า "ลำไส้ของเราเปรียบได้เหมือนสมองส่วนที่สองของร่างกาย"
การค้นพบประสบการณ์ที่น่าสนใจนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก และในตอนนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องนี้ ทำไมลำไส้เป็นสมองที่สองของร่างกาย ? หรือที่เรียกกันในอีกชื่อว่า Gut-brain axis กันครับ
8/24/2022 • 22 minutes, 35 seconds [EP46] ลำไส้แปรปรวนเกี่ยวกับจุ ลินทรีย์ในลำไส้ยังไง ?
ในซีรี่ส์ Microbiome ของเราในวันนี้ ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปในช่วงปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 2000 ช่วงที่เกิดโรคระบาดครั้งหนึ่ง ในเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งที่ชื่อว่า Walkerton ประเทศแคนาดา
เราจะพาไปรู้จักกับโรคลำไส้แปรปรวน หรือ Irritable bowel syndrome (IBS) ว่าโรคนี้นั้นมีอาการอย่างไร และเกี่ยวข้องกับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรายังไง?
8/23/2022 • 26 minutes, 55 seconds [EP45] จุลินทรีย์ในลำไส้กับโรค Autoimmune diseases
รู้หรือไม่ครับว่าจุลินทรีย์ที่ไม่สมดุลอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในที่นำไปสู่โรคต่างๆ อย่างโรค Autoimmune diseases หรือภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หรือที่รู้จักกันในชื่อว่าโรคพุ่มพวง โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ไทรอยด์ เหล่านี้ได้อย่างไร?
Lifestyle และพฤติกรรมการกินของคุณ กำลังเสี่ยงทำให้ต่อโรคเหล่านี้อยู่หรือเปล่า?
เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมการดูแลความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้กับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจึงสำคัญมาก และ ภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองเกี่ยวกับแบคทีเรียในลำไส้ยังไง ?
ครั้งนี้เราจะมาเริ่มต้นเรื่องราวทั้งหมดกันด้วยการพาย้อนอดีตไปพบกับ คดีฆาตกรรมคดีหนึ่ง ในปีค.ศ. 1859 ครับ
8/10/2022 • 28 minutes, 35 seconds [EP44] จุลินทรีย์ในลำไส้กับโรคภูมิแพ้
ทุกวันนี้เวลาเราพูดถึงโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด เชื่อว่าใครๆ ก็คงรู้ดีนะครับว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก แต่ถ้าย้อนเวลากลับไป 150 ถึง 200 ปีที่แล้ว โรคภูมิแพ้แทบจะเป็นโรคที่ไม่มีคนรู้จักกันเลย เพราะว่าแต่เดิมโรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก
แต่รู้ไหมครับว่านับจากวันนี้ ในอีก 30 ปีข้างหน้า เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ มันก็เลยชวนให้สงสัยว่าทำไมช่วงเวลาสั้นๆ แค่ประมาณ 200 ปี มนุษย์ถึงได้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น ขนาดนี้ ?
สำหรับเราตอนนี้ ผมอยากจะชวนย้อนเวลาไปสู่จุดเริ่มต้นกลับไปดูเพื่อไปดูประวัติศาสตร์ของโรคภูมิแพ้กัน และความคิดที่เชื่อว่าสาเหตุของโรคนี้เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเรามีขึ้นมาได้อย่างไร
7/26/2022 • 34 minutes, 53 seconds [EP43] จุลินทรีย์ในลำไส้เกี่ยวกับโรคเบาหวานยังไง ?
ในซีรีส์ Microbiome นี้เราก็ได้คุยกันถึงโรคต่างๆ ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคปัจจุบัน และเป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและจุลินทรีย์ในร่างกายของมนุษย์ สำหรับในวันนี้โรคที่เราจะคุยกันคือ “โรคเบาหวาน” ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นเบาหวานถึง 10% ของประชากรโลกและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีข้อมูลว่าโรคเบาหวานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันส่วนหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับแบคทีเรียและจุลินทรีย์ในลำไส้ในร่างกายของเราด้วย เราจะมาดูกันว่าจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายของเรามันสัมพันธ์กับโรคเบาหวานได้ยังไง
7/19/2022 • 21 minutes, 26 seconds [EP42] จุลินทรีย์ในลำไส้ทำให้อ้วนหรือผอมได้ไหม ?
เคยสงสัยไหมครับ ว่าทำไมคนสองคนที่กินอะไรคล้ายๆ กัน มีกิจวัตรประจำวันคล้ายๆ กัน ออกกำลังกายเท่าๆ กัน แต่มีรูปร่างอ้วนผอมต่างกัน ?
คำอธิบายในเรื่องนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในร่างกายของเราก็ได้ เรื่องราวเป็นมาอย่างไร ? และเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้เกี่ยวกับความอ้วนได้ยังไง ? ตามมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันครับ
7/12/2022 • 18 minutes, 32 seconds [EP41] ทำไมจุลินทรีย์ในร่างกายของคนสองคนจึงต่างกัน ?
หลังจากที่เราได้เห็นกันไปแล้วว่าจุลินทรีย์ในร่างกายมันสำคัญยังไง วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังว่าจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายของเราแต่ละคนมันมีที่มาจากไหน ? ทำไมแต่ละคนถึงมีจุลินทรีย์ในร่างกายที่ต่างกัน ? แล้วทำไมบางคนถึงเสียสมดุลของจุลินทรีย์ไป ? เรามาหาคำตอบกันต่อใน episode นี้กันครับ
7/9/2022 • 22 minutes, 42 seconds [EP40] ทำไมคนทุก วันนี้จึงมีจุลินทรีย์ต่างไปจากบรรพบุรุษ ?
จากตอนที่แล้วที่เราคุยกันเรื่องที่ว่า Microbiome คืออะไร ทำไมถึงเป็นเรื่องสุดฮอตในวงการแพทย์ในช่วงหลายปีให้หลังนี้เป็นอย่างมาก วันนี้เราจะมาคุยกันต่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของ Microbiome ที่ทำให้โรคต่างๆ นั้นเพิ่มขึ้นมันคืออะไร และที่บอกว่ามันเปลี่ยนแปลงนั้นมันเปลี่ยนแปลงยังไง?
7/7/2022 • 16 minutes, 32 seconds [EP39] ทำไมแบคทีเรียในลำไส้จึงเป็นเรื่องสุดฮอตในวงการแพทย์ ?
เคยสงสัยไหมครับว่าในปัจจุบัน ทำไมคนเราถึงป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้นเรื่อยๆ ? อย่างโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน โรคลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน โรคหัวใจ ภูมิแพ้
สำหรับซีรีส์ใหม่ที่เราจะคุยกันนี้ ผมจะชวนไปหาคำตอบของคำถามข้างต้นที่ว่าไป กับปัจจัยอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “Microbiome” เป็นหัวข้อที่ในช่วงสิบกว่า ปีที่ผ่านมาในวงการแพทย์หรือวงการวิทยาศาสตร์ค่อนข้างให้ความสนใจกันมาก มันคืออะไร และสำคัญอย่างไร มาหาคำตอบไปด้วยกันในซีรีส์นี้ครับ
7/5/2022 • 24 minutes, 5 seconds [EP38] กรดด่างในร่างกายเราคืออะไร แล้วร่างกายเราปรับสมดุลกรดด่างยังไง
วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องภาวะ กรดและด่าง ในร่างกายสำคัญยังไง และร่างกายมีกลไกควบคุมกรดด่างอย่างไรบ้าง และมีสารเคมีที่มีผลต่อกรดด่างในร่างกายของเรา อวัยวะที่ควบคุมภาวะคงที่ของกรดและด่างในร่างกายนั้นมันทำงานยังไง แล้วถ้าเราเข้าใจในภาวะปกติไปแล้วเราจะไปดูในเรื่องภาวะไม่ปกติกันต่อ
6/16/2022 • 28 minutes, 38 seconds [EP37] การตรวจปัสสาวะบอกอะไรเราได้บ้าง และ อาหารของผู้ป่วยโรคไตจากสมาคมโรคไต
ใน Episode ที่แล้วเราจบเรื่องของไตไปแล้ว แต่มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะเล่า นั่นคือเรื่องของการตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจที่ง่ายและราคาไม่แพง วันนี้เราเลยจะมาเล่าให้ ฟังว่าเวลาเขาตรวจนั้น ตรวจอะไรกันบ้าง
แต่หัวข้อในวันนี้เราไม่ได้มีแค่เรื่องเดียวครับ นอกเหนือจากเรื่องการตรวจปัสสาวะที่มันสามารถบอกอะไรเราได้บ้าง เรายังมีอีกหัวข้อหนึ่งมาฝากเกี่ยวกับอาหารการกินในผู้ป่วยโรคไต
ทำไมคนที่ป่วยเป็นโรคไตต้องกินอาหารต่างจากคนทั่วไป หรือว่าคนที่เป็นโรคไตกินอะไรได้บ้าง หรือควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไหนบ้าง? และอีกคำถาามที่น่าสนใจคือผู้ป่วยโรคไตสามารถที่จะกินอาหารที่เป็นเทรนด์อยู่ได้หรือเปล่า?
5/26/2022 • 22 minutes, 3 seconds [EP36] อธิบายการทำงานของไต : ตอนที่ 4 ไตบาดเจ็บเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรังมันคืออะไร ? เราจะมาคุยกันว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการมันเป็นยังไง? สามารถเกิดขึ้นกับใคร ใครที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคนี้บ้าง?
4/30/2022 • 27 minutes, 4 seconds [EP35] อธิบายการทำงานของไต : ตอนที่ 3 ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน
จากสองตอนแรกเราคุยกันเรื่องของไตในการทำใน ภาวะปกติไปแล้ว วันนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องของไตในรูปแบบที่ผิดปกติกันบ้าง
3/29/2022 • 20 minutes, 49 seconds [EP34] อธิบายการทำงานของไต : ตอนที่ 2 ไตเอาของเสียออกจากเลือดได้ยังไง ?
ในตอนที่แล้วเราได้คุยกันถึงหน้าที่การทำงานของไตคร่าวๆไว้ 8 หน้าที่ สำหรับวันนี้เราจะมาโฟกัสไปที่หน้าที่หลักของไต คือหน้าที่การกรองของเสียออกจากเลือด เราจะมาดูกันว่าไตนั้นทำหน้าที่นี้ยังไง
3/13/2022 • 20 minutes, 11 seconds [EP33] อธิบายการทำงานของไต : ตอนที่ 1 หน้าที่ของไตที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้มาก่อน
ในซีรี่ส์นี้เราจะมาคุยไตและระบบทางเดินปัสสาวะ ในส่วนแรกเราจะมาคุยถึงเรื่องไตในภาวะปกติ ว่าไตและระบบปัสสาวะของคนทั่วไปทำงานอะไรบ้างและทำงานอย่างไร และส่วนที่สองคือเราจะนำความรู้จากส่วนแรกที่เราได้รู้กันแล้วว่าไตตอนทำงานปกติเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้เข้าใจว่าไตของเราในตอนที่ทำงานผิดปกติเป็นอย่างไร และเข้า ใจในโรคของไตต่างๆ
3/10/2022 • 28 minutes, 16 seconds [EP32] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 7)
สำหรับตอนสุดท้ายของซีรี่ส์หัวใจ เราจะมาพูดถึงภาวะช็อคที่ได้เกริ่นกันไปในหลายๆตอนก่อนหน้า สำหรับคนทั่วไปเวลาพูดถึงภาวะช็อคอาจจะหมายถึงอะไรก็ตามที่สะเทือนอารมณ์มากๆ ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความเสียใจ ความตกใจมากๆ จนเกิดอาการช็อคขึ้นมา แต่ในวงการแพทย์เวลาพูดถึงอาการช็อคนั้นจะมีความหมายต่างกันไป
2/2/2022 • 19 minutes, 38 seconds [EP31] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 6)
เดินทางมาถึง 2 ตอนสุดท้ายในซีรี่ส์หัวใจและหลอดเลือด สำหรับ Episode นี้ เราจะมาคุยกันในเรื่องภาวะการเจ็บป่วย นั่นก็คือภาวะหัวใจวายและภาวะช็อค เป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และการนิยามความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์และคนทั่วไปค่อนข้างต่างกัน และทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันอยู่บ่อยครั้ง มีเรื่องราวอะไ รบ้างนั้นมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันค่ะ
1/14/2022 • 16 minutes, 19 seconds [EP30] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 5)
ใน 4 ตอนที่แล้วเราเล่าเกี่ยวกับการทำงานแบบปกติของหัวใจกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงโรคหัวใจกัน และเรื่องแรกที่เราจะคุยกันคือเรื่องเส้นเลือดหัวใจตีบ ที่ถ้าเป็นรุนแรงมันจะนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ซึ่งจะเป็นโรคถัดไปที่เราจะคุยกัน
12/28/2021 • 26 minutes, 33 seconds [EP29] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 4)
เดินทางมาถึงตอนที่ 4 ของซีรี่ส์อธิบายการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด วันนี้เราจะมาคุยกันในเรื่อง “ความดันเลือด” ถ้าความดันเลือดของเราสูงหรือว่าต่ำเกินไป ร่างกายของเราจะตอบสนองมันอย่างไร?
12/23/2021 • 26 minutes, 59 seconds [EP28] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 3)
ในตอนนี้เราจะมาคุยกันถึงสิ่งที่เรียกว่า "ความดันเลือด" ความดันเลือดคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร? ทำไมบางครั ้งการที่มีความดันเลือดสูงถึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย? และร่างกายของมนุษย์สามารถทำให้ความดันเลือดของเราคงที่อยู่ได้อย่างไร?
12/16/2021 • 25 minutes, 21 seconds [EP27] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 2)
ในตอนนี้ที่ 2 นี้เรายังอยู่ที่เรื่องของหัวใจ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่า หัวใจของเราเต้นได้ยังไง? ระบบไฟฟ้าทำงานยังไง? และเรื่องเกี่ยวกับเส้นเลือดที่คอยเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อจะได้เข้าใจภาวะหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดตีบตันมากขึ้น
12/10/2021 • 18 minutes, 1 second [EP26] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 1)
มนุษย์มีหัวและระบบไหลเวียนเลือดไปเพื่ออะไร? เพราะไม่ใช่ว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีหัวใจและหลอดเลือด แล้วมันมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร? หัวใจของเราเต้นได้อย่างไร และ สมองมีบทบาทอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเต้นของหัวใจ
11/24/2021 • 25 minutes, 1 second [EP25] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 5)
เดินทางกันมาถึงตอนสุดท้ายของซีรี่ส์การทำงานของปอดและทางเดินหายใจ วันนี้เราจะมาคุยกันถึงภาวะติดเชื้อที่เกิดขึ้นในทางเดินหายใจ โดยเฉพาะที่ปอด หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ปอดบวม” นั่นเอง
10/22/2021 • 23 minutes, 10 seconds [EP24] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 4)
ในวันนี้เราจะมาดูในภาวะที่ผิดปกติกันบ้าง เราจะคุยกันเรื่องของโรคปอดที่พบได้บ่อยและพบได้ใกล้ตัวอย่าง COPD (โรคปอดที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่นานๆ) และในช่วงที่เรายังมีโรค Covid ระบาดอยู่อย่างนี้ หลายๆคนคงอยากจะรู้ว่ากลไกที่เกิดขึ้นกับปอดในภาวะติดเชื้อเป็นยังไง
10/17/2021 • 33 minutes, 58 seconds [EP23] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 3)
จากตอนที่แล้วเราคุยกันในเรื่องโครงสร้างของปอด และ กลไกการทำงานของระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ จมูก หลอดลม ลงไปจนถึงปอด ซึ่งวันนี้เราจะลงไปอีกค่ะ วันนี้เราจะมาคุยเรื่องของถุง ลมที่อยู่ในปอดของเรากัน
10/15/2021 • 22 minutes, 34 seconds [EP22] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณ ทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 2)
ในตอนที่ 2 นี้เราจะมาเริ่มหายใจกัน จะได้รู้กันว่าระบบนี้มันทำงานยังไง ทุกคนทราบไหมคะว่าอะไรที่เป็นตัวควบคุมการหายใจของเรา? แล้วการที่เราสามารถหายใจได้ทั้งทางปากกับจมูก ทั้งสองทางนี่มันต่างกันยังไง มีทางไหนที่ดีกว่าอีกทางหนึ่งหรือเปล่า มาทำความรู้จักกับปอดของเราและเรียนรู้กับว่าระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ทำงานอย่างไร
9/29/2021 • 17 minutes, 47 seconds [EP21] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 1)
เคยสงสัยไหมคะเวลาเราไปเที่ยวต่างประเทศ หรือที่ที่มีอากาศแห้ง เย็น เราถึงมีเลือดกำเดาออกง่ายขึ้น มีน้ำมูกมากขึ้น จมูกตัน หายใจไม่ค่อยออก แม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ หรือเรื่องที่เราสามารถหายใจได้ทั้งทางปากกับจมูก แล้วการหายใจทั้งสองทางนี่มันต่างกันยังไง มีทางไหนที่ดี กว่าอีกทางหนึ่งหรือเปล่า ในซีรี่ส์ 4 ตอนจบนี้เราจะมาทำความรู้จักกับปอดของเราและเรียนรู้กับว่าระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ทำงานอย่างไร
9/23/2021 • 19 minutes, 4 seconds [EP20] ติดเชื้อโควิด แต่ รพ. ไม่มีเตียง จะดูแลตัวเองที่บ้านยังไง? x SLC (ตอนที่ 2)
ยังอยู่กับ Home Isolation ในตอนที่ 2 นี้หมอเอ้วกับหมอขวัญจะมาพูดคุยกับถึงวิธีการดูแลและรักษาตนเองในกรณีที่ต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน จะมีวิธีการการดูแลตนเอง รวมไปถึงการป้องกันการแพร่เชื้อใส่ผู้อื่นภายในบ้านอย่างไร?
9/1/2021 • 11 minutes, 15 seconds [EP19] ติดเชื้อ Covid-19 แต่ รพ. ไม่มีเตียง จะดูแลตัวเองที่บ้านยังไง? x SLC (ตอนที่ 1)
วันนี้หมอเอ้วกับหมอขวัญจะมาพูดคุยถึงวิธีการทำ Home Isolation จะมีวิธีรักษาตัวเองได้อย่างไรบ้าง? และหากสถานที่ที่เราอยู่ไม่สามารถกักตัวแยกจากผู้อื่นได้ จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เราแพร่เชื้อใส่ผู้อื่นได้อย่างไร
9/1/2021 • 18 minutes, 59 seconds [EP18] การอักเสบ เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆได้อย่างไร? x SLC
การอักเสบ ภาวะที่ใครๆก็น่าจะรู้จักหรือคุ้นเคยกันดี แต่เคยได้ยินไหมคะว่ามีภาวการอักเสบที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคต่างๆ สารพัดโรค ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน อ้วน ภูมิแพ้ อัลไซเมอร์ ไปจนถึงโรคหัวใจขาดเลือด สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร? ตามมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยค่ะ
8/29/2021 • 31 minutes, 54 seconds [EP.17] รู้ไหมว่าภูมิคุ้มกันของคุณทำงานยังไง ? (ตอนจบ)
มาต่อกันที่ด่านที่ 2 (Innate immunity) และ ด่านที่ 3 (Adaptive/Acquired Immunity) ของระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย มันคืออะไร และทำงานอย่างไร ?
6/25/2021 • 32 minutes, 8 seconds [EP.16] รู้ไหมว่าภูมิคุ้มกันของคุณทำงานยังไง ?
วันนี้จะมาเล่าถึงระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ว่ามันคืออะไร และทำงานอย่างไร ?
6/24/2021 • 16 minutes, 36 seconds [EP.15] ไม่มีเวลาออกกำลังกาย HIIT ช่วยได้
เชื่อว่าทุกวันนี้ทุกคนรู้และเชื่อว่าการออกกำลังกายนั้นสำคัญต่อร่างกาย แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเว ลาออกกำลังกายอย่างจริงจัง
วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะพามารู้จักการออกกำลังกายในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า High-Intensity Interval Training หรือการออกกำลังกายอย่างหนักในช่วงเวลาสั้นๆ มันคืออะไร ไอเดียการออกกำลังกายแบบนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และช่วยร่างกายของเราในเรื่องอะไรบ้าง ตามมาฟังกันเลยค่ะ
4/6/2021 • 18 minutes, 21 seconds [EP.14] แพ้ยา กับ ผลข้างเคียงจากยา ต่างกันยังไง ?
หลายๆคนอาจจะเคยสับสนระหว่างการ "แพ้ยา" กับ "ผลข้างเคียงจากยา" เพราะคิดว่าเมื่อไหร่ที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา มักจะถูกเรียกรวมๆเรียกง่ายๆว่าเป็นอาการแพ้ยา แล้ว 2 อย่างนี้มันต่างกันอย่างไร ?ถ้าให้ว่ากันตามตรง 2 สิ่งนี้คือคนละอย่าง และมีกลไกที่ต่างกัน วันนี้เราจะมาคุยในเรื่องความแตกต่างของสองเรื่องนี้ในชีวิตจริงกัน
3/31/2021 • 18 minutes, 12 seconds [EP13] ทำไมมนุษย์ถึงกินอาหารสุก
ในธรรมชาติ สัตว์อื่นๆเวลาล่าห าอาหารมาก็ล้วนแต่กินดิบได้เลยกันทั้งนั้น แล้วทำไมกันนะ มนุษย์เราถึงจึงต้องมีวิธีการปรุงอาหารที่ซับซ้อนไม่เหมือนสัตว์อื่นๆ
วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะมาคุยถึงเรื่องราวการกินอาหารปรุงสุก พฤติกรรมแบบนี้นั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ หรือจริงๆแล้วมันเป็นแค่วัฒนธรรมกันแน่?
3/27/2021 • 16 minutes, 41 seconds [EP12] ฝ่าเท้าทำให้มนุษย์ฉลาดกว่าลิงอื่นได้ยังไง? x Skechers GoWalk Arch Fit
ตั้งแต่เด็กๆเราได้เรียนกันมาว่ามนุษย์นั้นพัฒนา วิวัฒนาการมาจากลิง
แต่เคยสงสัยกันไหมคะ อะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มนุษย์วิวัฒนาการกลายมาเป็นมนุษย์ที่ต่างไปจากลิงอื่นๆ ?
วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปของคำถามที่ว่านั้น ถึงส่วนที่สำคัญที่ทำให้มนุษย์ต่างไปจากสัตว์อื่น ๆ และยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ จะเป็นอะไรนั้น ตามมาหาคำตอบไปด้วยกันเลยค่ะ
3/24/2021 • 20 minutes, 25 seconds [EP11] การวิ่งระยะไกลเหมาะกับร่า งกายมนุษย์หรือไม่? x SLC
🏃 การวิ่งระยะไกลเหมาะกับร่างกายมนุษย์หรือไม่ ?
..........................................................................
Podcast นี้ได้รับการสนับสนุนจาก SLC Group "ENDLESS BEAUTY ความงามที่เป็นคุณ"
..........................................................................
ในช่วงนี้หลายๆคนเหมือนจะฮิตการวิ่งมาราธอนกันใช่ไหมคะ
Podcast Episode นี้ เราจะมาพูดถึงคำถามง่ายๆที่หลายๆคนอาจจะเคยความสงสัยว่าการวิ่งในระยะทางไกลแบบนี้ มันฝืนธรรมชาติของร่างกายเราหรือเปล่านะ?
วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะมาอธิบายกลไกการทำงานของร่างกาย ย้อนไปตั้งแต่สมัยที่เรายังเดินสี่ขากันอยู่เลย ว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะกับการวิ่งระยะไกลจริงหรือไม่?
😺 Graphic Design by AdminFye
😎 Sound Engineer & Editor by AdminTop
..........................................................................
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook
👉 https://bit.ly/368PJv4
..........................................................................
3/13/2021 • 30 minutes, 25 seconds [EP10] กาแฟดีกับสุขภาพหรือไม่? x Timemore
☕️ กาแฟ เครื่องดื่มยอดฮิตอย่างกาแฟที่หลายต่อหลายคนโปรดปราน เจ้าเครื่องดื่มสุดป็อปปูล่าที่มีการถกเถียงกันมาเรื่อยๆเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของมัน
วันนี้หมอเอ้วกับหมอขวัญจะพามารู้จักกับเจ้าเครื่องดื่มสุดโปรดของหลายๆคนตัวนี้ ทั้งสารที่พบในกาแฟที่ไม่ได้มีแค่คาเฟอีน อย่างที่หลายๆคนทราบ และผลการศึกษาของกาแฟเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าแท้จริงแล้ว กาแฟ นั้นดีต่อสุขภาพจริงไหม?
4.10 รู้หรือไม่ สารที่พบในกาแฟไม่ได้มีแค่คาแฟอีนนะ
5.35 ไม่กรองกาแฟ อาจทำให้คอเรสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?
8.50 ผลกระทบของคาเฟอีนกับการทำงานของร่างกาย
18.36 ภาวะ Caffeine crash กินกาแฟแต่ยังง่วงอยู่
21.25 Coffe Nap เคล็ดไม่ลับการจิบกาแฟก่อนไปงีบ
27.00 ผลการศึกษาของกาแฟต่อความเสี่ยงของโรคหัวใจและเบาหวาน
31.24 กาแฟ อาจจะลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งจริงหรือไม่?
😺 Graphic Design by AdminFye
😎 Sound Engineer & Editor by AdminTop
..........................................................................
ขอบคุณ Timemore Thailand ที่ให้การสนับสนุน Podcast นี้
🔥 พิเศษ! รับส่วนลด 15%* เพียงแจ้งว่ามาจากทางเพจเรื่องเล่าจากร่างกาย / หลงไปในประวัติศาสตร์ 🔥
*ไม่สามารถใช้ร่วมกันโปรโมชั่นอื่นๆ ได้
เฉพาะสั่งซื้อทาง Facebook และ Line@ เท่านั้น
ช่องทางสั่งซื้อ:
👉 Facebook : https://www.facebook.com/timemorethailand/
👉 Line@ : https://bit.ly/3s0RBi3
..........................................................................
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook
👉 https://bit.ly/368PJv4
..........................................................................
3/11/2021 • 38 minutes, 48 seconds [EP9] รู้จักหน้าที่และการทำงานของม้าม
SHOW LESS🩺 รู้จักหน้าที่และการทำงานของม้าม
..........................................................................
เรื่องเล่าจากร่างกาย Podcast Episode นี้เราจะพามารู้จักกับหน้าที่และการทำงาน
ของอวัยวะที่สามารถตัดออกไปจากร่างกายแล้วเราไม่ตาย!?
อวัยวะเล็กๆที่เราเรียกว่า "ม้าม" นั่นเองค่ะ
มาทำความรู้จักกันดีกว่าว่าเจ้าอวัยวะที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญแต่สำคัญนี้
ทำหน้าที่ดูแลอะไรเกี่ยวกับร่างกายของเราบ้าง
1.37 ม้าม ค่ายทหารพิทักษ์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
4.06 ธาลัสซีเมีย โรคยอดฮิตที่เกี่ยวกับการทำงานของม้าม
..........................................................................
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook
👉 https://bit.ly/368PJv4
3/6/2021 • 7 minutes, 40 seconds [EP8] รู้หรือไม่ว่าตับอ่อนของคุณทำหน้าที่อะไรบ้าง?
🩺 รู้หรือไม่ว่าตับอ่อนของคุณทำหน้าที่อะไรบ้าง?
..........................................................................
จาก Episode ที่แล้ว หมอเอ้วกับหมอขวัญได้คุยเรื่องการทำงานของ "ตับ" กันไปแล้ว วันนี้เราขอมาลงลึกกันอีกสักนิดกับ "ตับอ่อน" อวัยวะที่หลายๆคนไม่ค่อยคุ้นเคย วันนี้เรามาลองรู้จักเจ้าอวัยวะที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของร่างกาย
ที่มีหน้าที่เกี่ยวเนื่องตั้งแต่การย่อยอาหาร ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด และไปจนถึงสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบคืออะไร ตามมาหาคำตอบกันได้ใน เรื่องเล่าจากร่างกาย Podcast ในตอนนี้กันได้เลยค่ะ
2.10 ต่อมมีท่อ เอาไว้ขนส่งที่ทำอันตรายต่อร่างกายอย่างไร?
3.11 ไบคาร์บอเนต สารโซดาไฟที่ช่วยย่อยอาหาร
7.58 ต่อมไร้ท่อ ตัวช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด
12.20 โรคเบาหวานกับการทำงานของตับอ่อน
13.08 การดื่มแอลกอฮอลล์ สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ
3/3/2021 • 16 minutes, 12 seconds [EP7] รู้ไหมว่าตับของคุณทำงานยังไง?
🩺 รู้ไหมว่าตับของคุณทำงานยังไง?
..........................................................................
Podcast นี้ได้รับการสนับสนุนจาก Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน
..........................................................................
ในยุคที่คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยกันมากขึ้น แต่ในการที่เราจะเข้าใจภาวะความผิดปกติของร่างกายได้ ส่วนหนึ่งเราต้องเริ่มมาจากการเข้าใจก่อนว่าร่างกายคนเราตอนที่เป็นปกติเนี่ย มันทำงานอย่างไร?
วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะพามาทำความเข้าใจ ใน Podcast เรื่องเล่าจากร่างกาย Episode ที่ 7 เริ่มกันด้วย อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายอย่าง "ตับ" ว่าตับของคุณมีหน้าที่ และการทำงานยังไง?
😺 Graphic Design by AdminFye
😎 Sound Engineer & Editor by AdminTop
..........................................................................
ขอบคุณ Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน ที่ให้การสนับสนุน Podcast นี้
✅Ocylens คอนแทคเลนส์รายวันใส่สบาย เพราะทำจากวัสดุพรีเมี่ยม Etafilcon A
🔥 พิเศษสำหรับแฟนเพจชัชพลบุ๊คส์ 🔥 รับสิทธิ์ซื้อ 1 แถม 1 เพียงเพิ่มเพื่อนและสั่งซื้อในไลน์
👉 Add Line : @Ocycontacts
2/27/2021 • 27 minutes, 4 seconds [EP6] การจะพัฒนาวัคซีนมีขั้นตอนอะไรบ้าง x Ocylens
💉 การจะพัฒนาวัคซีนมีขั้นตอนอะไรบ้าง
..........................................................................
Podcast นี้ได้รับการสนับสนุนจาก Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน
..........................................................................
หลังจากทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดใหญ่ของโรค Covid-19 แน่นอนว่าประเด็นที่น่าจับตามองและทั้งโลกกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้คงจะหนีไม่พ้นเรื่องเจ้าวัคซีนโควิด และขณะที่โลกมีวัคซีนหลายแบบถูกพัฒนาออกมาให้เลือกใช้
วันนี้หมอขวัญและหมอเอ้วจะมาพาไปมองย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ ความตื่นตาตื่นใจตั้งแต่เรามีวัคซีนตัวแรก ไปจนถึงขั้นตอนการพัฒนาวัคซีน ที่ในยุคแรกเริ่มนั้นยากลำบากมากกว่าที่คิด และจวบจนถึงปัจจุบันที่พวกเราอยู่ในยุค Covid แบบนี้
มนุษยชาติเรากับการพัฒนาวัคซีนนั้นเดินทางมาไกลขนาดไหน มาติดตามกันใน Episode ที่ 6 จากหมอเอ้วและหมอขวัญ กับเรื่องเล่าจากร่างกายในตอนนี้กันได้เลยค่ะ
..........................................................................
ขอบคุณ Ocylens คอนแทคเลนส์รายวัน ที่ให้การสนับสนุน Podcast นี้
✅Ocylens คอนแทคเลนส์รายวันใส่สบาย
เพราะทำจากวัสดุพรีเมี่ยม Etafilcon A
🔥 พิเศษสำหรับแฟนเพจชัชพลบุ๊คส์ 🔥
รับสิทธิ์ซื้อ 1 แถม 1 เพียงเพิ่มเพื่อนและสั่งซื้อในไลน์
👉 Add Line : @Ocycontacts
2/25/2021 • 28 minutes, 18 seconds [EP5] Intermittent fasting (IF) x Avarin
เรื่องราวที่หลายๆคนรีเควสมากันอย่างล้นหลาม กับการลดน้ำหนักด้วยวิธี IF หรือ Intermittent fasting ที่เป็นที่นิยมกันอย่างมากในช่วงนี้
แล้วเจ้า IF ที่ว่ามันคือยังไง มีกี่วิธี ต้องทำแบบไหน
ช่วงเวลาใด อดอาหารเพื่อลดน้ำหนักมันจะดีจริงๆหรือ?
2/17/2021 • 21 minutes, 49 seconds [EP4] ทำไมผู้หญิงและผู้ชายจึงคิดต่างกัน?
👩❤️👨 ทำไมผู้หญิงและผู้ชายจึงคิดต่างกัน?
ต้อนรับวันแห่งความรัก วันนี้หมอเอวกับหมอขวัญจะมาชวนคุยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของอารมณ์ ทำไมผู้ชายถึงไม่เข้าใจผู้หญิง และผู้หญิงทำไมถึงไม่เข้าใจผู้ชาย ทำไมจึงมีพฤติกรรมและความคิดต่างกัน สิ่งใกล้ตัวเหล่านี้ที่เราอาจจะตั้งคำถามใส่กันในทุกๆวัน วันนี้เรามาไขคำตอบไปด้วยกันนะคะ
2/14/2021 • 30 minutes, 40 seconds [EP3] ทำไมมนุษย์ถึงสร้างวิตามินซีไม่ได้
🍊 ตอนที่แล้วเราเดินทางไปค้นพบการกำเนิดวิตามินไปแล้ว
วันนี้เรามาต่อกันแบบไม่ให้ขาด ช่วง มาต่อกับเจ้าวิตามินที่ทุกๆคนน่าจะคุ้นเคยกันดี อย่างเจ้าวิตามินซี วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะพามาทำความรู้จักเจ้าวิตามินซีให้มากขึ้นว่ามันมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
และหน้าที่สำคัญของเจ้าวิตามินซี มีเพียงช่วยเรื่องความสวยความงาม เพิ่มภูมิต้านทานและป้องกันโรคหวัดเท่านั้นหรือ? แล้วทำไมมนุษย์จึงสร้าง วิตามินซี เองไม่ได้ ถ้าอยากรู้แล้ว รีบตามมาฟังเลยดีกว่าค่ะ
0:20 วิตามิน C ทำหน้าที่อะไรบ้าง
1:30 ทำไมมนุษย์จึงสร้าง วิตามิน C เองไม่ได้
5:35 ทำไมโรคลักปิดลักเปิดจึงกลับมาพบมากขึ้นอีกครั้ง
😺 Graphic Design by AdminFye
😎 Sound Engineer & Editor by AdminTop
2/12/2021 • 10 minutes, 54 seconds [EP2] เรื่องราวที่น่าสนใจของการค้นพบวิตามิน C
💊 วิตามิน สารอาหารตัวเล็กๆแต่คุณค่ามหาศาล
สิ่งสำคัญมากอีกอย่างสำหรับร่างกายมนุษย์
วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญ ไม่ได้แค่มาพูดคุยเรื่องวิตามินที่เรารู้จักกันทั่วๆไป แต่จะพาย้อนกลับไปถึงการกำเนิดและค้นพบ ว่าในแรกเริ่มนั้นนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิตามินได้ยังไง? และเรื่องราวที่น่าสนใจของการค้นพบวิตามินซี ของเจมส์ ลินด์ ถ้าพร้อมแล้ว ตามมาฟังใน Episode 2 ของ เรื่องเล่าจากร่างกาย กันได้เลยค่ะ
1:20 วิตามิน B4, B8, B10, B11 หายไปไหน
2:35 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิตามินได้ยังไง
4:10 โรคลักปิดลักเปิด คืออะไร ทำไมโรคนี้จึงพบได้น้อยในยุคโบราณ
7:30 อาการที่น่ากลัวของโรคลักปิดลักเปิด
10:00 ผลกระทบของโรคลักปิดลักเปิดต่อประวัติศาสตร์ยุโรป
12:50 การค้นพบวิตามิน C โดย เจมส์ ลินด์
13:30 การทดลองที่น่าสนใจของ เจมส์ ลินด์
19:10 การค้นพบวิธีป้องกันโรคลักปิดลิกเปิดช่วยให้อังกฤษรบชนะนโปเลียนได้ยังไง
😺 Graphic Design by AdminFye
😎 Sound Engineer & Editor by AdminTop
2/10/2021 • 22 minutes, 20 seconds [EP1] ถ้ามนุษย์เป็น omnivore จริง แล้วทำไมการกินเนื้อสัตว์จึงไม่ดีกับสุขภาพ?
🥩 Omnivore เป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ถ้ามนุษย์เป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์
แล้วทำไม เราจึงมักได้ยินว่าการกินไขมันจากสัตว์ กินเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง จึงไม่ดีกับสุขภาพ?
แต่การกินผักผลไม้ เป็นการกินที่ดีกับสุขภาพ
วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญ จะมาให้คำตอบในเรื่องนี้กัน ตามมาฟังไปพร้อมๆกันใน
Episode แรกจาก เรื่องเล่าจากร่างกาย Podcast กันได้เลยค่ะ ☺️
0:30 มนุษย์เป็นสัตว์กินพืชหรือสัตว์กินสัตว์ ?
2:20 ทำไมกินเนื้อสัตว์อย่างเดียวจึงไม่ดีกับสุขภาพ ?
4:20 โดยธรรมชาติแล้วอาหารของมนุษย์เป็นอย่างไร ?
6:30 สมัยก่อนมนุษย์หาเนื้อสัตว์มากินอย่างไร ?
7:25 การวิ่งมาราธอนเป็นธรรมชาติของมนุษย์หรือไม่ ?
10:30 การกินหลากหลายลดลงของมนุษย์ยุคปัจจุบันมีผลต่อแบคทีเรียในทางเดินอาหารอย่างไรบ้าง ?
12:30 คนสมัยก่อนมีโอกาสขาดอาหารมากหรือน้อยกว่าคนปัจจุบัน ?
😺 Graphic Design by AdminFye
😎 Sound Engineer & Editor by AdminTop
2/5/2021 • 18 minutes, 53 seconds [EP0] เรื่องเล่าจากร่างกาย
มาแล้วค่ะ สำหรับ Podcast ที่หลายๆคนรอคอย วันนี้หมอเอ้วแทคทีมพาหมอขวัญ มาชวนทุกๆคน มาพูดคุยกันใน เรื่องเล่าจากร่างกาย Podcast Podcast ที่จะพาทุกๆคนไปรู้จักกับวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกาย สุขภาพ เข้าใจร่างกาย พฤติกรรมและธรรมชาติ ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการ สำหรับแฟนเพจและผู้ฟังท่านไหนที่มีเรื่องราวที่อยากจะให้ หมอเอ้วและหมอขวัญนำมาพูดคุยให้ฟัง สามารถมาแลกเปลี่ยน คอมเมนท์บอกกันได้ทั้งที่แฟนเพจเรื่องเล่าจากร่างกาย Youtube Channel หมอเอ้ว ชัชพล ส่วน Episode 1 ที่ทุกท่านรอคอย กำลังจะมาพบกัน ในเร็วๆนี้ ไม่นานเกินรอแน่นอนค่ะ อดใจรอกันอีกนิดนะคะ ☺️
2/4/2021 • 2 minutes, 44 seconds