รับชมทาง YouTube
R U OK เอพิโสดสุดท้ายในซีรีส์ Mindset อยากชวนคุยเรื่องความสำเร็จ
คำที่เป็นเส้นชัย เป็นเหมือนเป้าหมายที่ต้องเดินทางไปให้ถึง แต่สำหรับบางคนแล้วยิ่งเดินทางเป้าหมายยิ่งห่างไกล จนตั้งคำถามว่าตกลงแล้วความสำเร็จคืออะไรกันแน่
R U OK เลยอยากตั้งคำถามกับคำว่าประสบความสำเร็จอีกครั้ง เราต้องวางสิ่งนี้ไว้เป็นเป้าหมายชีวิตหรือไม่ ถ้าความสำเร็จไม่ใช่จุดที่เราจะเดินทางไป ซึ่งอาจขัดกับบรรทัดฐานของสังคม เราจะทำอย่างไร รวมถึงวิธีอิสระตัวเองจากคุณค่าที่ตัวเองโอบกอดมานาน
เคยสำรวจตัวเองกันไหมว่าบางครั้งที่ ‘เลือก’ หรือ ‘ไม่เลือก’ ทำอะไร ลึกๆ แล้วอาจมาจากความคิดที่ไม่อยากทำให้พ่อแม่เสียใจ ซึ่งสาเหตุหนึ่งของ Mindset นี้เป็นไปได้ว่ามาจากการสื่อสารภายในครอบครัวที่ไม่ตรงไปตรงมา แถมทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด หรือที่เรียกว่า Guilt Trip
R U OK ชวนสำรวจของการเลือกตัดสินใจบางอย่างที่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่น โดยเก็บความต้องการ ของตัวเองเอาไว้ว่ามีผลเสียอย่างไร ส่งผลถึงวัยผู้ใหญ่อย่างไร และเราจะมีวิธีสื่อสารอย่างไรบ้างที่จะทำให้เข้าใจโดยไม่ต้องทำร้ายกัน
9/7/2022 • 14 minutes, 17 seconds
RUOK275 ดี-เลว ถูก-ผิด โลกนี้ไม่ได้มีแค่ 2 ขั้ว
การมองโลกเป็น 2 ขั้ว ดี-เลว, ถูก-ผิด, ใช่-ไม่ใช่ แม้ว่า Mindset นี้ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่การแยก 2 อย่างต่างขั้วชัดเจน อาจทำให้เราพลาดรายละเอียดซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะการพยายามเข้าใจมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถแยกทุกอย่างขาดกันอย่างชัดเจน R U OK อยากชวนสำรวจถึงที่มาของการมองโลกเป็น 2 ขั้ว ที่อาจเป็นไปได้ทั้งกลไกการป้องกันตัวเองหรือจากประสบการณ์ในวัยเด็ก และชวนให้เห็นถึงปัจจุบันว่าถ้าหากรู้ตัวว่ากำลังใช้ Mindset นี้อยู่แล้วนำไปสู่ความติดขัดซ้ำๆ การวางแว่นนี้ลงบ้างก็อาจทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เป็นจริงๆ มากขึ้น
9/3/2022 • 16 minutes, 44 seconds
RUOK274 อย่าปล่อยให้ความพยายามทำร้ายตัวเอง
รับชมทาง YouTube
ความพยายามคือหนึ่งในคุณสมบัติที่หลายคนยึดถือว่าจะนำทางไปสู่ความสำเร็จ แต่เชื่อหรือไม่ว่าความพยายามกลับใช้ต้นทุนทั้งทางร่างกายและจิตใจไปอย่างมหาศาล R U OK จึงอยากชวนสำรวจว่า หากจะทำบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องใช้ความพยายามเสมอไปหรือไม่ เรามีทางเลือกอื่นที่นอกเหนือจากความพยายามหรือเปล่า เพราะการดูแลร่างกายและจิตใจของตัวเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ความสำเร็จปลายทางเช่นกัน
8/30/2022 • 18 minutes, 33 seconds
RUOK273 จิตวิทยาความสัมพันธ์ 4 สิ่งที่ควรบอกคนรัก
รับชมทาง YouTube
“คนรักกันไม่ควรมีความลับต่อกัน” ประโยคชินหูที่หลายคู่ใช้เป็นเหตุผลในการรู้เรื่องราวอีกฝ่าย จนกลายเป็นประเด็นให้ถกกันไม่จบสิ้นว่าแท้จริงแล้วในความสัมพันธ์ เราควรเหลือพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองไว้แค่ไหน
R U OK เชียร์ว่ามีทั้งสิ่งที่เราควรบอกและไม่ควรบอกกับคนที่อยู่ในความสัมพันธ์ และยังเชื่อด้วยอีกว่าไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์รูปแบบไหน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีพื้นที่ส่วนตัว เพราะจะคงไว้ซึ่ง Self-Respect หรือการยอมรับนับถือของตัวเอง ชวนอีกฝ่ายตกลง ปรับตัวและเรียนรู้กันไป เพราะทุกคนควรมีพื้นที่ที่กลับไปเมื่อไรก็อบอุ่นใจและเป็นเจ้าของมันได้แบบเต็มๆ
สภาพแวดล้อมและสังคมที่คนแต่ละคนหรือแต่ละเจเนอเรชันให้คุณค่านั้นอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจให้ความสำคัญกับความสงบเรียบร้อย หากแต่บางคนอาจให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายและความเป็นมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อความเห็นไม่เหมือนกัน อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกันได้
R U OK ชวนหาวิธีของตัวเองในการอยู่ร่วมกันกับความเห็นต่าง เพราะความเห็นที ่ต่างกันอาจไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้คิดเหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องลดทอนคุณค่าของอีกฝ่าย แต่การสื่อสารอย่างสันติและการเคารพในสิ่งที่อีกฝ่ายให้คุณค่า อาจเป็นทางออกของการอยู่ร่วมกัน
หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความเศร้าหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ เพราะเกรงว่าจะทำให้ทุกข์มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การค่อยๆ เผชิญหน้าจะทำให้ความเศร้านั้นเบาบางลง
เมื่อความเศร้าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอไม่วันใดก็วันหนึ่ง R U OK อยากชวนทำความคุ้นเคยความเศร้าด้วยการเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ เพราะยิ่งอยู่ในความเศร้าได้นานเท่าไร กล้ามเนื้อทางใจจะเพิ่มความแข็งแรงในการรับมือ และวันหนึ่งเราจะพบวิธีในการออกจากหลุมเศร้าด้วยรูปแบบของตัวเอง
แม้ความหวังจะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เรามีแรงออกไปสู้อุปสรรคและเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้ แต่ในทางกลับกัน การมีความหวังเพียงอย่างเดียวก็อาจกลายเป็นกับดักและกั้นไม่ให้นำไปสู่การลงมือทำ
R U OK ชวนดูความหวังว่ามันทำงานกับจิตใจเราอย่างไรบ้าง ข้อดีข้อเสียของการมีความหวัง รวมถึงการประเมินความหวังในสถานการณ์ต่างๆ กับความเป็นจริงเพื่อนำไปสู่การลงมือทำ เพราะแท้ที่จริงแล้วเรามีพละกำลังและอำนาจในการควบคุมตัวเองมากกว่าการใช้ความหวังเพียงอย่างเดียว
ประโยคที่ว่าชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีการวางแผน อาจเป็นจริงสำหรับผู้ที่อยากมองเห็นอนาคตของตัวเองเพื่อจะได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่ า หากอีกด้านการวางแผนคือความเครียดที่มากดดันตัวเองเมื่อมันไม่ได้เป็นไปตามแผน
แน่นอนว่าไม่มีความคิดไหนที่ผิดหรือถูก R U OK เลยอยากชวนสำรวจข้อดีข้อเสียของการวางแผนชีวิต ชวนดูว่าชีวิตที่เป็นไปตามแผนหรือปล่อยไปตามใจ แบบไหนที่เหมาะกับเรา และชวนทำความเข้าใจธรรมชาติของการวางแผนว่าไม่มีแผนไหนที่จะเป็นไปตามที่วางร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะคนที่วางแผนวันนี้กับคนที่ใช้ชีวิตจริงในวันข้างหน้าล้วนเป็นคนละคนกัน และไม่มีใครที่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต
7/12/2022 • 25 minutes, 3 seconds
RUOK259 วิธีใช้ชีวิต แบบคน Low Self-Esteem
Self-Esteem หรือการรับรู้คุณค่าในตัวเอง คือเครื่องมือหนึ่งที่ใช้วัดความแข็งแรงทางใจที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนบางคนก็อาจตั้งคำถามว่า ผิดไหมที่ไม่มี Self-Esteem เสียที เพราะว่าไม่ว่าพยายามเท่าไรความรู้สึกไม่มีคุณค่าก็ยังแวะเวียนมาเสมอ
เพราะ Self-Esteem ไม่ได้เพิ่มกันในชั่วข้ามคืน R U OK เลยอยากชวนพลิก Mindset การ ‘ต้อง’ มี Self-Esteem ว่าอาจเต็มไปด้วยข้อดีก็จริง แต่ก็การบังคับให้ตัวเอง ‘ต้อง’ มี อาจมาสู่การกดดันตัวเอง เพราะ Self-Esteem ลดและเพิ่มได้ในทุกวันและหลายคนก็อยู่ในระหว่างทางเพื่อเรียนรู้การมีสิ่งนี้
R U OK ชวนสำรวจ Mindset เรื่องความกตัญญูที่เป็นวิธีปฏิบัติและค่านิยมที่แข็งแรงของสังคมไทยว่า ‘ลูกที่ดีต้องกตัญญู’ แต่ในเมื่อความกตัญญูคือ ‘ความรู้สึก’ ซึ่งขึ้นชื่อว่าความรู้สึกแล้ว มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เองโดยที่ไม่สามารถบังคับกันได้ ดังนั้นแล้ว หลายคนจึงเกิดความขัดแย้งในตัวเองเมื่อสิ่งที่รู้สึกและสิ่งที่คิดว่าควรทำไม่สอดคล้องตรงกัน จะทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เพราะท้ายที่สุดแล้วความกตัญญูอาจไม่ใช่เครื่องมือเดียวที่จะยึดโยงสายสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเอาไว้
ใครหลายคนโตมากับความเชื่อที่ว่า ‘ทำอะไรต้องทำให้ถึงที่สุด’ เพราะจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง แต่ในขณะเดียวกันศักยภาพของมนุษย์นั้น ‘สูง’ และ ‘ไปไกล’ มากกว่าที่คาดคิด การพยายามตะบี้ตะบันลงแรงกายแรงใจจนเบียดเบียนตัวเองก็อาจส่งผลเสีย
R U OK ชวนสำรวจ Mindset ว่าภาย ใต้การทำอะไรให้ถึงที่สุด อาจมีสิ่งที่เรียกว่า The Fear of Regret ซ่อนอยู่ การเผชิญหน้ากับความเสียดายอาจเจ็บปวดรวดร้าว แต่นั่นคือประตูบานแรกที่จะทำให้เรารู้จักตัวเอง รู้จักอีกหลายอารมณ์ของความเป็นมนุษย์ และเมื่อถึงเวลานั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องวิ่งหนีความเสียดายอีกก็ได้
5/30/2022 • 19 minutes, 6 seconds
RUOK248 อกหัก Move on ต่อไม่ไหว ทำอะไรได้อีกบ้าง
ถึงคราวที่อกหัก ไม่สมหวัง อาจมีเสียงรอบข้างที่บอกว่า “ถึงเวลาที่เราควร Move on ได้แล้ว” ด้วยความห่วงใยและไม่อยากให้เราอยู่ในความเสียใจนาน แต่พอมองย้อนกลับมาที่ตัวเองกลับพบว่าเราไม่มีเรี่ยวแรงที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนเพื่อให้ตัวเองดีขึ้น
R U OK ชวนสำรวจว่า ‘การ Move on’ จำเป็นแค่ไหนในเวลาที่เราต้องรับมือกับความผิดหวัง เป็นไปได้ไหมที่ปรารถนาจะอยู่ในห้วงเวลาความทุกข์ได้นานตราบเท่าที่พอใจ ความทนทานในความทุกข์สร้างทักษะให้เราได้อย่างไร และเมื่อถึงเวลาที่ยืนไหวเราจะกลายเป็นคนใหม่แบบที่ต้องการจะเป็น
ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนโควิดที่ต้องทำงานในออฟฟิศ หรือในช่วงโควิดที่ต้อง Work From Home มนุษย์ออฟฟิศหลายต่อหลายคนเหน็ดเหนื่อยกับปริมาณงานที่ถาโถมเข้ามาจนหมดแรงกายแรงใจ
R U OK พอดแคสต์อยากชวนให้ลองเช็กตัวเองกันอีกสักรอบว่าไหวกันอยู่ไหม หรือพอจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้เราอยู่ไหว และกลับไปทำงานด้วยใจที่มั่นคงอีกครั้ง
00:00 อยากตะโกนออกมาว่า ‘งานหนักเกินไปแล้ว’ จะหาความสุขจากไหนได้บ้าง | R U OK EP.184
18:37 เวิร์กโหลด งานงอก ควรพอหรือไปต่อดี? | R U OK EP.180
40:37 ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจริงไหม? แล้วถ้าผลงานออกมาไม่ดีเราจะยังมีคุณค่าหรือเปล่า? | R U OK EP.178
59:42 งานที่เหมาะกับเราคือแบบไหนกันแน่? ท้าทายความสามารถ แต่บางครั้งก็ยากเกินไป | R U OK EP.177
01:24:27 ปรับความคิดได้ไหมถ้าต้องทำงานที่ไม่รัก? | R U OK EP.179
โรคซึมเศร้าอาจเป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคมไทย แต่ความจริงแล้วยังมีโรคทางจิตเวชสำคัญๆ อีกมากที่ควรรู้จัก และต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อสุขภาพจิตที่แข็งแรง R U OK Medley นี้ไม่ได้มาฟันธงว่าใครเป็นโรคอะไร แต่ชวนฟังอาการของโรคต่างๆ ทั้งโรคเครียด, โรค PTSD, โรคจิตเภท, โรควิตกกังวล ฯลฯ เผื่อถ้ามีอาการไหนเข้าข่าย หรือทุกข์ใจจนหาทางออกไม่ได้ จะได้นัดหมายจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้เราหายจากอาการเหล่านี้ได้
Time Index
00:00 R U OK EP.222 มีหลายคนในร่างเดียว จำไม่ได้ว่าทำอะไรลงไป รู้จักกับโรคหลายอัตลักษณ์ (DID)
23:59 R U OK EP.213 ความกระทบกระเทือนทางใจหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง Post-Traumatic Stress Disorder
46:20 R U OK EP.211 ทำไมถึงเครียดมากกว่าที่ควรจะเป็น มารู้จัก Adjustment Disorder
01:07:29 R U OK EP.210 ขึ้นๆ ลงๆ อารมณ์รุนแรง ทำความรู้จัก Borderline Personality Disorder
01:29:33 R U OK EP.209 เข้าใจโรคจิตเภทที่หลายคนบอกว่า ‘บ้า’ แท้จริงคือโรคทางสมอง
01:53:06 R U OK EP.208 หยุดความคิดไม่ได้ คิดวนแค่ไหนถึงเรียกว่าโรควิตกกังวล
12/20/2021 • 2 hours, 20 minutes, 49 seconds
RUOK MEDLEY #14 ทำไมเราควรอนุญาตให้ตัวเองอ่อนแอ
แม้จะได้ชื่อว่าเข้มแข็งแค่ไหน แต่ทุกคนน่าจะมีช่วงเวลาที่อ่อนแอ รู้สึกว่าเรื่องราวต่างๆ ถาโถมเข้ามาเกินกว่าจะรับไหว หลายคนรีบปัดความรู้สึกนี้ทิ้ง หรือรีบบอกตัวเองว่าเรา ‘ต้อง’ ไม่อ่อนแอ เพราะขัดกับคุณสมบัติที่ดี แต่รู้ไหมว่าเรากำลังพลาดโอกาสสำคัญในการรู้จักตัวเองในอีกแง่มุมหนึ่ง เรากำลังติดกับดักความคิดที่ว่า อ่อนแอ=ไม่ดี ซึ่งอาจไม่จริงเสมอไป R U OK ชวนรู้จักตัวเองผ่านมิติของความอ่อนแอ ว่าแท้จริงแล้วทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไป และเราเองก็แกร่งกว่าที่คิด
Time Index
00:00 Intro
02:05 5 ขั้นตอนทางจิตวิทยาของการอกหัก และถ้าเศร้าหนักเกินเยียวยาไปหาจิตแพทย์ได้ไหม | R U OK EP.13
34:34 แคร์ความรู้สึกคนอื่นมากเกินไปเกิดจากอะไร และจะทำอย่างไรจะลดความกังวลเรื่องคนรอบข้าง | R U OK EP.40
50:05 เบื้องหลังของความรู้สึกน้อยใจคืออะไร และทำไมเราถึงไม่กล้าสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา | R U OK EP.55
01:10:11 บางครั้งครอบครัวคือที่มาของความรู้สึกไร้ค่า และหากรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการควรทำอย่างไร | R U OK EP.65
01:28:00 ความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต แต่ควรเปลี่ยนวิธีคิดก่อนจะกลายเป็นกับดัก | R U OK EP.79
11/13/2021 • 1 hour, 46 minutes, 32 seconds
RUOK MEDLEY #13 รวมวิธีการสื่อสารให้เป็น
การสื่อสารคือสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน เพราะไม่เพียงเฉพาะภาษาพูดเท่านั้น แต่เรายังสื่อสารกันผ่านน้ำเสียงและภาษากายซึ่งมีผลต่ออีกฝ่าย การสื่อสารจึงเป็นได้ทั้งกาวใจและเป็นได้ทั้งอาวุธ เพื่อให้เราใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ R U OK รวมเอพิโสดที่ว่าด้วยเรื่องการพูด การฟัง น้ำเสียง และภาษากาย ผ่านสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้สิ่งที่อยู่ในใจถูกถ่ายทอดออกมาอย่างตรงความต้องการ ผู้รับสารก็สามารถมองเห็นสิ่งที่ผู้สื่อสารต้องการ แม้จะไม่ได้พูดออกมาอีกด้วย
Time Index
00:00 โน้มน้าวใจคนฟังด้วยน้ำเสียง 8 แบบ | R U OK EP.25
23:31 สื่อสารอย่างเห็นใจคนตรงหน้า ว่าเขาแบกความรู้สึกอะไรมา และยอมรับซึ่งกันและกัน | R U OK EP.96
43:12 เปิดหู เปิดใจ ทะเลาะกันอย่างไรให้เข้าใจกันมากขึ้น | R U OK EP.119
58:17 Deep Listening ทักษะการฟังเสียงในใจที่ลูกไม่ได้พูดออกมา | R U OK EP.150
01:17:34 ฮึกเหิม สร้างพลังใจ บอกข่าวร้าย การสื่อสารที่ออกแบบได้ในยามเปราะบาง | R U OK EP.161
01:55:30 เทคนิคกั้นรั้วเพื่อรักษาใจให้ยังไหวในภาวะวิกฤต | R U OK EP.238
10/30/2021 • 2 hours, 25 minutes, 42 seconds
RUOK MEDLEY #12 หนทางสู่การรักตัวเอง
รักตัวเอง คือพื้นฐานของการมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นการเท่าทันอารมณ์ของตนเอง และเป็นฐานอันมั่นคงในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามา แต่เมื่อพูดถึงการรักตัวเองแล้วก็อาจดูนามธรรมจนจับต้องไม่ได้ และไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร R U OK Medley รวบรวมวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้ค่อยๆ ได้กลับมารักตัวเอง ทั้งการหาเวลาพูดคุยกับตัวเอง ประยุกต์เข้ากับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เราได้ตระหนักและกลับมาเห็นคุณค่าคนที่เราควรใจรักและใส่ใจมากที่สุด
Time Index
00:00 “รักตัวเองก่อนจะไปรักใคร” คือเรื่องจริงไหม และเติมเต็มตัวเองอย่างไรให้ใจมีความสุข | R U OK EP.44
19:27 ฝึกยอมรับและเมตตาต่อตนเองอย่างไร ให้ผ่านวันที่แย่ๆ | R U OK EP.91
35:59 Self-Esteem ไม่ใช่เพียงความมั่นใจ แต่คือการเห็นคุณค่าในตัวเองที่มนุษย์ทุกคนควรมี | R U OK EP.92
53:19 จะเริ่มรับรู้คุณค่าในตัวเองอย่างไร จากที่ Low Self-Esteem มาทั้งชีวิต | R U OK EP.93
01:10:42 ขั้นตอนการเป็นเพื่อนแท้กับตัวเอง | R U OK EP.115
01:27:38 ทำกิจวัตรประจำวันเรียบง่ายให้กลายเป็นเรื่อง Self-Care | R U OK EP.231
10/23/2021 • 1 hour, 54 minutes, 18 seconds
RUOK MEDLEY #11 อยู่ร่วมกับโรคซึมเศร้าอย่างเข้าใจ
แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคทางใจที่ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่เข้าใจในสังคมวงกว้างมากขึ้น แต่หากใครไม่ได้ประสบพบเจอโรคนี้ด้วยตัวเอง อาจนึกไม่ออกว่าความรู้สึกดิ่ง ไร้ค่า รวมถึงความคิดทำร้ายตัวเองจะเกิดขึ้นกับเราได้จริงๆ R U OK พอดแคสต์ จึงขอรวมเอพิโสดที่ว่าด้วยเรื่องโรคซึมเศร้า เพื่อเป็นแนวทางให้สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีโรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา จะมีแนวความคิดและวิธีการปฏิบัติอย่างไร เพราะถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เราก็สามารถดีขึ้นได้หรืออยู่ร่วมกับโรคนี้ได้อย่างเข้าใจ
Time Index
00:00 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่ชวนทำความเข้าใจ | R U OK EP.109
29:47 ไปเจอจิตแพทย์ครั้งแรกควรทำตัวอย่างไร | R U OK EP.111
51:56 ดูแลกายและใจอย่างไร เมื่อถูกวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้า | R U OK EP.112
01:10:10 โรคซึมเศร้าไม่ได้แค่เศร้า เพราะแต่ละวัยก็มีการแสดงออกที่ต่างกัน | R U OK EP.108
01:25:22 เมื่อวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้า จะสื่อสารอย่างไรให้คนรอบข้างเข้าใจ | R U OK EP.110
01:46:49 ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนพูดว่า อยากฆ่าตัวตาย | R U OK EP.113
ในฐานะมนุษย์หนึ่งคน ช่วงเวลาแบบนี้เราต้องสลับอารมณ์ไปตามเรื่องต่างๆ เดี๋ยวเหนื่อยกับเรื่องงาน เดี๋ยวเครียดกับโรคระบาด เดี๋ยวก็เศร้ากับความสูญเสีย ซึ่งการสวิตช์อารมณ์ไปมาแบบนี้ อาจนำพาไปสู่ความเหนื่อยล้าแบบไม่รู้ตัว R U OK ชูใจ ชวนอยู่กับตัวเองในช่วงเวลาสั้นๆ ลองเช็กอินอารมณ์ตัวเองว่าขณะนี้เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่ เพราะการเท่าทันโลกภายในอาจนำมาซึ่งความมั่นคงทางอารมณ์และทำให้เราแข็งแรงพร้อมรับเรื่องราวต่างๆ
แพสชัน ดูเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่ในช่วงเวลาที่เครียด และหดหู่แบบนี้หลายคนอาจรู้สึกว่าแพสชันในการผลักให้ไปทำสิ่งต่างๆ ดูหด หาย จนไม่อยากจะทำอะไร R U OK ชูใจ ชวนทำความรู้จักแพสชันที่สามารถเกิดขึ้นได้จากภายใน และสร้างได้จากภายนอก พร้อมกับตั้งคำถามว่าในการใช้ชีวิตนั้น แท้จริงแล้วต้องใช้แพสชันเป็นแรงขับเคลื่อนเสมอไปหรือไม่ เพราะก็มีอีกหลายครั้งที่เราใช้เหตุและผลในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในสภาวะที่ต้องเอาตัวรอดแบบนี้
7/15/2021 • 31 minutes, 37 seconds
SELF09 ป๋าเต็ด สร้างวิธีการจำในรูปแบบของตัวเอง
ความจำที่ดี ดูเป็นคุณสมบัติที่ใครหลายคนต้องการ เพราะมันทำให้เราเอาตัวรอดตั้งแต่การเรียนหนังสือ การทำงานที่ต้องติดต่อสื่อสารกับคนต่างๆ รวมทั้งในแง่มุมความสัมพันธ์ที่แสดงถึงความใส่ใจและความเป็นมืออาชีพ
ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม เล่าให้ R U OK Self-Work ฟังว่า ระยะหลังความจำที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่สามารถบรรจุลงไปในถุงความจำ ตั้งแต่ชื่อคน วันสำคัญ หรือแม้กระทั่งดูหนังจบเรื่องหนึ่งก็สามารถดูซ้ำได้ทันทีเพราะจำรายละเอียดไม่ได้ R U OK Self-Work จึงชวนป๋าเต็ดทำงานกับตัวเอง เรื่องการบรรจุความจำ และวิธีการสร้างความจำได้ในรูปแบบของตัวเอง
ในช่วงเวลาที่ต้องเอาตัวรอดจากความยากลำบาก หลายคนเข็นตัวเองให้ออกไปทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนเมื่อร่างกายและจิตใจเริ่มเรียกร้องให้หยุดพัก แต่กลายเป็นว่าพักแล้วกลับรู้สึกผิดกับตัวเองที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไป อยากให้เวลามีค่ากว่านี้
R U OK ชูใจ ขอเป็นแรงใจให้ทุกคนที่กำลังใช้ชีวิตและออกไปทำงานภายใต้แรงกดดัน แต่การไม่อนุญาตตัวเองได้มีเวลาพักผ่อนอาจไม่ยุติธรรมกับตัวเองเท่าไรนัก การพักผ่อนสำคัญอย่างไร เพื่อสุดท้ายเราจะได้พักและมีแรงกลับไปต่อสู้อีกครั้ง
R U OK Self-Work ชวนเบลล์ เขมิศรา พลเดช มาแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวจากการก้าวผ่านความรู้สึกไม่เก่งพอเมื่อเปรียบเทียบตัวเองกับเพื ่อนๆ วัยเดียวกัน มาสู่จุดที่รู้สึกพอใจในความสามารถของตัวเอง เพื่อให้ทุกคนที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง สามารถนำวิธีจัดการความรู้สึกไปปรับใช้กับโลกภายในของตัวเองและเตรียมจิตใจให้พร้อมรับมือกับอุปสรรคใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิตอยู่เสมอ
สำหรับสายวิตกกังวล คงเข้าใจความรู้สึกดีว่า เมื่อความกังวลเริ่มก่อตัวขึ้นมักนำพาความคิดให้กระเจิดกระเจิง เห็นแต่เรื่องที่จัดการไม่ได้และมองเห็นว่าตัวเองไร้ประสิทธิภาพ และดูว่าไม่มีท่าจะหยุดความคิดนั้นได้ง่ายๆ R U OK ชูใจ ชวนสูดลมหายใจเข้าลึกๆ เข้าไปพิจารณาความวิตกกังวลใกล้ๆ ว่าแท้จริงแล้วเราสามารถเข้าใจและจัดการความคิด ความรู้สึกนี้ได้อย่างไรได้บ้าง
R U OK Self-Work ชวน ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา ยูทูเบอร์ช่อง Fahsarika มาแชร์ประสบการณ์การรับมือกับคอมเมนต์ในโลกโซเชียลมีเดีย ที่มักจะมีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่แล้ว
เอพิโสดนี้จะพาไปสำรวจวิธีการจัดการอารมณ์ของตัวเองผ่านการวาดภาพ ที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการณ์อารมณ์ได้อย่างสมดุล
6/14/2021 • 32 minutes, 5 seconds
RUOK234 Emotional Support เป็นที่พึ่งทางความรู้สึกให้คนใกล้ตัว แบบไม่ตัดสิน
บางทีที่เห็นคนที่เรารักกำลังทุกข์ อยากเข้าไปเป็นที่พึ่งทางใจ ประคับประคองให้เขาผ่านช่วงเวลายากๆ ไปได้ แต่ก็ไม่รู้วิธีการว่าทำแบบไหนถึงจะเวิร์ก R U OK ชูใจ เอพิโสดนี้ พูดคุยถึงการเป็นแนวทางในการเป็น Emotional Support ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร มีวิธีการใช้คำพูดแบบไหน คำพูด น้ำเสียง หรือท่าทีแบบไหนที่เป็นการตัดสิน เพื่อให้เราได้ดูแลใจกันอย่างถูกวิธีและไม่กลายเป็นการสร้างบาดแผลให้กัน
นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง และความขี้เกียจดูเป็นคุณสมบัติที่ไม่พึงปรารถนาของใครหลายคน
ปั๊บ โปเตโต้ แชร์ให้ R U OK Self-Work ฟังว่า เมื่อมีงานที่ต้องรับผิดชอบ เขามักจะใช้เวลาไปกับความสบายก่อนที่จะตัดสินใจลงมือทำ แต่ระหว่างนั้นก็แบกความรู้สึกผิดไปด้วย และเพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไป ปั๊บจึงหยิบประเด็นนี้มาคุยกับ R U OK Self-Work และมองมันใหม่อีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าวิถีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพียงเราเข้าใจในรูปแบบของตัวเองและทำมันออกมาสำเร็จก็อาจเพียงพอ
หลายคนอาจจะเคยรู้สึกอึดอัด เมื่อผลการตัดสินใจของตัวเองขัดกันระหว่างอารมณ์กับเหตุผล เพราะบางครั้งการเลือกทำตามอารมณ์ก็ฟังดูไม่มีเหตุผล หรือถ้าเลือกทำตามเหตุผลก็มักจะไม่ถูกใจตัวเองเสมอไป
R U OK ชวนแม็กซ์ เจนมานะ มาแชร์ประสบการณ์การเลือกตัดสินใจ ระหว่างอารมณ์และเหตุผล และเราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อที่จะสามารถรู้เท่าทันเสียงในใจ โดยไม่ด่วนตัดสินว่า ‘สิ่งที่เลือก’ นั้นถูกต้องหรือไม่
ในช่วงเวลาที่ท้อแท้สิ้นหวัง เราอาจจับสังเกตได้ว่าหลายคนเหนื่อยต่อการมีชีวิต และอีกหลายคนที่ส่งเสียงเหมือนคล้ายๆ ว่ าอยาก ‘พอ’ R U OK ชูใจ ชวนจับสัญญาณคนรอบตัวที่อาจเปรยถึง ‘ความตาย’ ว่าพูดถึงแบบไหนที่เข้าข่ายอันตราย และในฐานะคนใกล้ชิด สามารถช่วยเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางใจได้อย่างไรบ้าง
งานหนักจนไม่มีความสุข เมื่อความเครียดส่วนใหญ่มาจากงาน ฟังเมดเลย์รวม 6 ตอนจากพอดแคสต์ R U OK ที่อาจให้ทางออกกับคุณ คุณอาจทำงานต่อไปแต่สุขขึ้นได้ หรือลาออกไปด้วยใจที่มั่นคง
4/17/2021 • 1 hour, 53 minutes, 56 seconds
RUOK MEDLEY #6 จิตวิทยาของการนอนและความฝัน
มัดรวม 5 ตอนจากพอดแคสต์ R U OK ที่จะพาไปเข้าใจเบื้องหลังทางจิตวิทยาของอาการนอนไม่หลับ ฝันร้าย ฝันแฟนตาซี ที่อาจให้คำตอบสำหรับคนที่ประส บปัญหาเหล่านี้
มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการเป็นที่รัก แต่ภายใต้ความรู้สึกนั้นหลายคนกลับรู้สึกว่าตัวเอง ‘ดีไม่พอ’ ‘ไม่ควรค่าพอ’ ที่จะได้รับความรักจากใคร
R U OK ชวนทำความเข้าใจที่มาของความรู้สึกไม่ควรค่าที่จะถูกรัก ว่าส่วนใหญ่ไม่น่าเชื่อว่าจะมาจากการเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กจากครอบครัว แต่เมื่อเราเติบโตและตระหนักรู้ในคุณค่าของตัวเอง เราสามารถสร้างและรับรู้คุณค่าของตัวเองได้เสมอ
โรคทางจิตเวชที่พบไม่ได้บ่อย แต่เป็นที่จดจำในภาพยนตร์อย่างเรื่อง Split คือโรคหลายบุคลิก หรือเรียกอย่างทางการว่าโรคหลายอัตลักษณ์ Dissociative Identity Disorder (DID) ผู้เป็นโรคนี้มีมักมีหลายตัวตนอยู่ในคนคนเดียว
R U OK คุยกับ นพ.ชยุติ วงศ์เลิศวิศวกร ว่าโรคหลายอัตลักษณ์เหมือนหรือแตกต่างกับบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งหรือโรคไบโพลาร์อย่างไร จุดสังเกตอยู่ตรงไหน แล้วเป็นไปได้จริงหรือไม่ที่แต่ละตัวตนจะไม่รู้จักกันเลย
11/23/2020 • 24 minutes
RUOK221 หยุดแบกโลกทั้งใบ และเลิกนิสัยชอบโทษตัวเอง
โทษตัวเอง เป็นวิธีแก้ปัญหาของเราที่บางครั้งก็เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติด้วยความเคยชิน ว่าทำแล้วสบายใจและไม่เดือดร้อนคนอื่น แต่บางครั้งก็อาจลืมไปว่าคนที่เป็นทุกข์และแบกโลกทั้งใบอยู่นั้นคือเรา
R U OK ชวนมองสาเหตุของนิสัยโทษตัวเอง ซึ่งบางครั้งมาจากคนใกล้ตัวอย่างไม่ตั้งใจ แต่เมื่อรู้ตัวแล้วว่านิสัยนี้ทำให้คุณค่าของเราลดลง จะทำอย่างไรให้เลิกความคิดที่มีต่อตัวเองแบบนี้
ความฝันเป็นเรื่องชวนสงสัยไม่จบสิ้น
หลายครั้งที่พยายามตีความความฝัน แต่กลับแปลไม่ออกว่าทำไมเราถึงฝันหลุดโลกอย่างนั้น บางเรื่องก็ไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน บางทีก็ฝันถึงคนที่ลืมไปนาน ห รือบางคืนก็ฝันถึงเหตุการณ์ในอดีตอย่างไม่รู้สาเหตุ
ที่เป็นอย่างนี้เพราะความฝันคือการทำงานของความทรงจำที่เก็บกดอยู่ภายในจิตใจ ที่กำลังแปลเรื่องราวเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งการที่แต่ละคนฝันเหมือนกันก็ไม่ได้แปลความเหมือนกันอีก ร่วมสนุกไปกับการถอดรหัสความฝันได้ใน R U OK เอพิโสดนี้
กลไกอย่างหนึ่งของความคิดมนุษย์ เมื่อสิ่งที่เห็นตรงหน้าไม่สอดคล้องกับความ เชื่อที่ยึดถือมาทั้งชีวิต
R U OK พูดคุยถึงความคิดไม่ลงรอย หรือ Cognitive Dissonance เพื่อตอบคำถามว่า ทำไมมนุษย์ถึงสร้างตรรกะหรือเลือกเชื่อข้อมูลที่สนับสนุนความคิดของตัวเอง เพื่อป้องกันความไม่สบายใจ กลบความรู้สึกแย่ ซึ่งอาจนำไปสู่การคิดอย่างไม่เป็นเหตุเป็นผลและตัดสินใจผิดพลาดได้
ภาพของผู้ป่วยโรงพยาบาลจิตเวช คือภาพที่หลายคนมักกลัวและไม่เข้าใจว่าผู้ป่วยกำลังเผชิญกับอะไร และคำว่า ‘บ้า’ คือคำตีตราที่ทำให้เขาเหล่านั้นกลายเป็นมนุษย์ที่ขาดพร่อง
R U OK ชวนทำความเข้าใจโรคจิตเภทที่ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นโรคสมอง ว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมผู้ป่วยถึงเชื่ออย่างจริงจังในเรื่องที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และเราควรปฏิบัติอย่างไรในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
หลายครั้งที่ไม่ว่าจะพยายามเท่าไรก็หยุดความคิดไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงเวลาจบวันที่ล้มตัวลงนอน แล้วพบว่าความคิดก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ เริ่มหนัก และกลายเป็นก้อนความกังวลที่มากขึ้นจนทำให้นอนไม่หลับ
เพราะโรคทางจิตเวชมีหลากหลาย R U OK ประจำเดือนนี้จึงชวนคุยเรื่องความเจ็บป่วยทางใจ เริ่มด้วยโรควิตกกังวล ที่หลายคนอาจไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญอยู่ ชวนฟังเพื่อสำรวจตัวเองและดูแลจิตใจได้อย่างทันท่วงที
หากนับจากวิวัฒนาการ มนุษย์เราใช้เครื่องมือบางอย่างเพื่อทำให้มีชีวิตรอด จนก้าวเข้าสู่โลกทุนนิยม ‘เงิน’ กลายเป็นตัวกลางที่สมองเราเรียนรู้ว่าคือสิ่งที่ทำให้รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย แต่บางครั้งอาจหลงลืมไปว่าเงินเป็นเพียงตัวกลางที่จะนำไปสู่สิ่งที่เราต้องการมากกว่านั้น
R U OK คุยกับ หมอนัท คลินิกกองทุน ว่าในภาวะที่การเงินหลายคนเริ่มฝืดเคือง เราสามารถหาความสุข และความมั่นคงทางใจได้อย่างไรบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินเป็นเรื่องสูงสุดเสมอไป
9/28/2020 • 34 minutes, 52 seconds
RUOK206 Time Management กุญแจสำคัญที่จัดการทั้งงาน ครอบครัว และความต้องการส่วนตัว
ในช่วงเวลาวิกฤตมักมีเรื่องที่เราจัดการไม่ได้ และอยู่นอกเหนือการควบคุมอยู่เต็มไปหม ด แต่เราอาจลืมไปว่าสิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีเท่ากันนั่นคือ ‘เวลา’ และเวลานี่เองคือกุญแจสำคัญที่เป็นพื้นฐานตั้งต้นในการจัดการเรื่องยากๆ ทั้งหลายในชีวิต
R U OK คุยกับ สีตลา ชาญวิเศษ ที่นอกจากจะเป็นพนักงานออฟฟิศ เป็นผู้ดูแลครอบครัว ยังไม่ลืมที่จะจัดสรรให้เวลากับความต้องการของตัวเอง ซึ่งเธอยืนยันว่าไม่ว่าใครหากเข้าใจหลักในการจัดสรรเวลาแล้ว จะสามารถทำทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9/24/2020 • 27 minutes, 42 seconds
RUOK205 เป็นกำลังใจให้ตัว เพื่อให้ผ่านพ้นวันยากๆ
เป็นธรรมดาถ้าจะรู้สึกว่า ‘วันนี้ไม่ใช่วันของเรา’ เพราะปัญหาที่ผ่านเข้ามาทำให้เราท้อ เราถอยได้ง่ายๆ
R U OK ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังก้าวผ่านอุปสรรค ได้โปรดเชื่อมั่นในจุดแข็งของตัวเองว่าเราสามารถใช้มันผ่านเรื่องยากๆ ได้เสมอ และเรื่องยากในวันนี้ที่เจอมันจะเป็นอีกเรื่องที่จะค่อยๆ อยู่กับมัน ได้ แม้จะรู้สึกยาวนานแค่ไหนก็ตาม
9/21/2020 • 23 minutes, 31 seconds
RUOK204 อะไรทำให้คนกลายเป็นอาชญากร
สาเหตุอะไรที่ทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็นอาชญากรทำสิ่งผิดกฎหมาย และทำร้ายผู้อื่นได้
R U OK ชวน ผศ. ดร.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล นักอาชญาวิทยา มาให้ความรู้ว่ามีแรงจูงใจอะไรที่ทำให้มนุษย์สามารถกลายเป็นอาชญากร ที่มาเหล่านั้นมีผลต่อการตัดสินใจในการก่ออาชญากรรมอย่างไร หากเราสามารถเข้าใจ ‘ผู้กระทำ’ ที่อาจเคยเป็น ‘ผู้ถูกกระทำ’ มากขึ้น ก็อาจนำไปสู่การลดความเจ็บปวดทางใจของใครสักคน และสามารถลดความเสี่ยงที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งจะต้องกลายเป็นอาชญากรเลยก็ได้
มินและนิ้ง ตัวแทนนักเรียนจากทวิตเตอร์แอ็กเคานต์ นักเรียนเลว ที่สร้างความเคลื่อนไหวในสังคมด้วยการรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ได้ออกมาเล่าถึงความเหลื่อมล้ำในโรงเรียนที่หลายคนมองไม่ออก สัมผัสไม่ได้ ผ่านพอดแคสต์ R U OK เอพิโสดนี้ เพื่อให้เห็นภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และเพื่อบอกว่า ทุกคนมีส่วนช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้
เมื่อเกิดเหตุการณ์บูลลี่ขึ้นในโรงเรียน หลายครั้งนักเรียนอาจรู้สึกว่าทำไมครูถึงไม่จัดการอะไร ถ้าไม่รับฟังเฉยๆ บางครั้งก็ลงโทษซ้ำทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำจนเป็นแผลทางใจ
R U OK ชวนคุณครู 3 ท่านมาเปิดเผยความหนักใจว่าต้องระมัดระวังแค่ไหน การกระทำจะไม่เป็นแผลทางใจกับเด็ก และหากจะสร้างทักษะให้ครูและทุกคนในโรงเรียนตระหนักในปัญหาเรื่องการบูลลี่ต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน
จอยลดา คือแพลตฟอร์มนิยายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะผู้อ่านวัยรุ่น เพราะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับความสนใจ แต่ผู้ใหญ่หลายคนยังไม่เข้าใจว่านิยายออนไลน์มีรูปแบบอย่างไร จึงเต็มไปด้วยความเป็นห่วง
R U OK ชวนนักอ่าน นักเขียนจอยลดา จากโครงการ dtac Safe Internet และ Community Manager จากจอยลดา มาร่วมทำความเข้าใจกันว่าความเสี่ยงในการใช้แพลตฟอร์มนิยายออนไลน์มีอะไร และจะสร้างให้เกิดความเข้าใจกันในครอบครัวได้อย่างไรบ้าง
เราเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน และเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ยกขึ้นมาพูดคุยได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสื่อสารกัน โดยเฉพาะหน่วยเล็กที่สุดอย่างครอบครัว
R U OK เสนอวิธีการสื่อสารเรื่องการเมืองภายในครอบครัว ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ปรับความคิดอย่างไรเมื่อ ‘ความต่าง’ ไม่ใช่ ‘ความผิด’ จนไปถึงรับมือกับความรู้สึกตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดความไม่เห็นด้วย
“เล่นมือถืออีกแล้ว”
เด็กๆ หลายคนอาจเคยถูกผู้ปกครองดุ ทั้งๆ ที่เพิ่งหยิบมือถือขึ้นมา หรือไม่ก็รู้สึกว่าไม่ได้เล่น แต่คุยกับเพื่อนเรื่องงานอยู่ต่างหาก
R U OK เอพิโสดนี้ชวนตัวแทนคุณพ่อมาแชร์ปัญหาที่หลายครอบครัวพบเจอ เรื่องความไม่เข้าใจกันในการใช้เวลาในการเล่นมือถือ พ่อแม่จะเข้าไปสอดส่องแค่ไหน จะเว้นระยะและให้เกียรติลูกอย่างไร ความหวังดีจะไม่เป็นการทำร้ายกัน
จากเอพิโสดที่แล้ว R U OK คุยกันให้เห็นภาพครูใช้ความรุนแรงกับนักเรียน มาถึงเอพิโสดนี้ที่ครูก็อยากพูดความในใจจากการถูกบูลลี่ เพื่อนำมาสู่การเห็นโครงสร้างอำนาจนิยมในโรงเรียนและหยุดการใช้ความ รุนแรงในที่สุด
พื้นที่โซเชียลมีเดียนอกจากใช้ติดต่อสื่อสาร ยังเป็นพื้นที่สีเทาหมิ่นเหม่ที่เต็มไปด้วยคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จุดประสงค์ บางครั้งคือการล่อลวงที่เราต้องรู้เท่าทัน
R U OK ชวน พ.ต.อ.มรกต แสงสระคู ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศเด็กและวัยรุ่นในพื้นที่โซเชียลมีเดีย ว่าเราควรสอดส่องระมัดระวังการถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างไร ผู้กระทำมีขั้นตอนอย่างไร และหากตกเป็นเหยื่อเราขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างไรได้บ้าง
ความเครียดที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ นอกจากมีสาเหตุจากเรื่องเล็กๆ ในระดับปัจเจกแล้ว โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจที่เราสังกัดอยู่ก็มีผลไม่น้อย
R U OK ชวน ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์ Content Creator เศรษฐกิจสำนักข่าว THE STANDARD มาคุยกันว่าเราจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ภายใต้โครงสร้างที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้นี้อย่างไรดี
บางทีเรื่องหนักๆ ในชีวิตก็เข้ามาพร้อมกันอย่างไม่ทันตั้งตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจแบบนี้ บางคนอาจเจอความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ ตกงาน ไม่มีเงิน
R U OK ชวนหยุดมองความ ‘พัง’ ที่เกิดขึ้นว่าเราค วรรับมือกับมันอย่างไร เพราะเมื่อตั้งสติให้ดี อาจมีหลายสเตปก่อนจะไปถึงการจัดการเพื่อให้ชีวิตแข็งแรงขึ้น
เศรษฐกิจช่วงนี้ต้องยอมรับกันตามตรงว่าไม่ได้คล่องมือกันเท่าไรนัก ไม่ว่าจะเป็นการทำมาค้าขายหรือแม้แต่การเป็นพนักงานประจำ
R U OK ชวน ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์ Content Creator ประจำสำนักข่าว THE STANDARD มานั่งคุยกันให้เห็นว่า ‘เงิน’ ที่เราใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสิ่งของนั้น เชื่อมโยงกับความมั่นคงทางใจอย่างไร และเมื่อเงินพร่องไปจะทำอย่างไรให้ความมั่นใจยังคงอยู่
6/29/2020 • 17 minutes, 9 seconds
RUOK180 เวิร์กโหลด งานงอก ควรพอหรือไปต่อดี?
ในขณะที่หลายบริษัทกำลังขยับปรับตัวเพื่อรับกับสิ่งใหม่ พนักงานออฟฟิศก็ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะความรับผิดชอบของงาน ที่ดูจะไม่ใช่อย่างที่คุยกันไว้ใน Job Description
R U OK ชวน ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ Co-Host I Hate My Job: First Jobber มาหาทางออกว่าถ้าทำไปงานงอกไป ต้องทำหน้าที่ใหม่มากขึ้นทุกที เราจะจัดการอย่างไรดี
6/25/2020 • 22 minutes, 24 seconds
RUOK179 ปรับความคิดได้ไหมถ้าต้องทำงานที่ไม่รัก?
สภาพเศรษฐกิจแบบนี้การเลือกทำงานในฝัน อาจจะไม่ใช่สิ่งแรกในชีวิต เพราะมีปัจจัยมากมายให้เราคำนึง แต่พอทำงานที่ไม่ได้ชอบ ก็ดูเหมือนจะมีความทุกข์ไม่คุ้มกับค่าตอบแทน
R U OK ชวน ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ มาตอบคำถามที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนกำลังคาใจ ว่า เราจะเปลี่ยนมายด์เซ็ตจาก ‘งานที่ไม่รัก’ ให้กลายมาเป็นงานที่ทำได้ด้วยความรู้สึกโอเคกับมันมากขึ้นได้อย่างไร
ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กว่า ‘ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน’ แล้ววถ้าเราไม่มีงาน หรือผลงานออกมาไม่ดี เท่ากับว่าเราไม่มีค่าเลยหรือ?
R U OK ชวน โอมศิริ วีระกุล Co-Host จาก The Money Case by The Money Coach มนุษย์เงินเดือนที่เกี่ยวข้องกับทั้งเงินและงาน ว่านอกจากมิติของการเป็นพนักงานที่สร้างผลงานให้บริษัทแล้ว คุณค่าของเราสามารถวัดจากอะไรได้บ้าง
ความเปลี่ยนแปลงเรื่องงานที่เข้ามาท้าทายความสามารถเราอยู่ในขณะนี้ บางคนมองเห็นเป็นเรื่องสนุกที่ตัวเองได้งัดทักษะที่มีอยู่ออกมารับมือ แต่บางทีก็กลับรู้สึกว่ามันเกินไปจนเกิดคำถามว่าหรืองานนี้ไม่เหมาะกับเรา
R U OK ชวน โอมศิริ วีระกุล Co-Host พอดแคสต์ The Money Case by The Money Coach, เจ้าของพอดแคสต์ออฟฟิศ 0.4 และผู้เขียนหนังสือ สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก มาคุยกันว่าตกลงแล้วงานที่เหมาะกับตัวเราคืองานแบบไหนกันแน่?
ในยุคที่การสมัครงานเป็นเรื่องยาก เราต้องเจอการปฏิเสธและความผิดหวังซ้ำๆ จนบางครั้งรู้สึกว่าไม่มีค่าหรือไม่มีความสามารถเอาเสียจริงๆ
R U OK ชวน ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ คอลัมนิสต์และมนุษย์ออฟฟิศที่เห็นหัวอกหัวใจคนทำงานมาชวนคิดว่าจะจัดการกับการถูกปฏิเสธซ้ำๆ อย ่างไรไม่ให้เสียความรู้สึก พร้อมเปลี่ยนความผิดหวังให้กลายเป็นขุมข้อมูลที่ช่วยผลักเราให้ใกล้ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
หลายครั้งที่เราถูกถามหาข้อดีหรือจุดแข็งตัวเอง แล้วตอบไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คิดถูกต้องหรือเปล่า
R U OK วันนี้ชวนรู้จัก 4 ทักษะสำคัญของชีวิต Social Skills, Emotion Skills, Physical Skills และ Conitive Skills ฟังไปอาจดูยาก แต่ทุกคนล้วนมีทักษะเหล่านี้ในชีวิตอย่างไม่รู้ตัว เขย่าจนเป็นส่วนผสมสูตรที่เฉพาะ ที่ไม่เหมือนใครในโลก โดยเริ่มต้นจากการรู้จักตัวเอง
6/4/2020 • 15 minutes, 17 seconds
RUOK173 Essential Skill ทักษะสำคัญของ First Jobber ที่ต้องค้นหาในตัวเองเมื่อมองไม่เห็นอนาคต
R U OK ประจำเดือนมิถุนายน ยังพูดถึงเรื่องสำคัญคือ Emotional Intelligence หรือความฉลาดทางอารมณ์ โดยขยับมาที่พื้นที่ทำงาน เริ่มด้วยเอพิโสดที่เป็นเสียงสะท้อนของ First Jobber ที่ยังไม่ทันทำงาน แรกก็เจอกับอุปสรรคเศรษฐกิจจาก Covid-19
จะทำอย่างไรเมื่อต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสังคมทำงาน ในขณะที่หลายออฟฟิศกำลังทยอยเอาคนออก ความกดดันที่มีต่อตัวเองและครอบครัวก็มากขึ้นทุกที อนาคตที่หวังไว้ก็รู้สึกเหมือนมองไม่เห็น
R U OK ตอบคำถามจากทางบ้านอีกครั้ง ว่าด้วยเรื่องพลังลบของคนในครอบครัวที่ต้องเผชิญหน้าแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่ามีวิธีการไหนบ้างที่จะสะท้อนความรู้สึกให้ไม่เสียความสัมพันธ์
หมายเหตุ สามารถส่งคำถามมาทางเพจเฟซบุ๊ก THE STANDARD หรือกล่องข้อความของทวิตเตอร์ @TheStandardPod
มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น เรากลับพบว่ามีนิสัยเล็กๆ น้อยๆ ของคนในครอบครัวที่เพิ่งค้นพบว่าไม่ชอบเอาเสียเลย แต่เมื่ออยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวมันกลับมีสายใยบางอย่างที่ตัดขาดกันไม่ได้ แล้วเราจำเป็นจะต้องอดทนไหม?
R U OK ชวนนักจิตบำบัด จากมหาวิทยาลัย York คุณสฤญรัตน์ โทมัส มาร่วมสร้างความเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีข้อเสีย แล้วจะฝึกอย่างไรให้เห็นข้อดีระหว่างกัน
แม้ไม่ใช่คนเปราะบางแต่บางครั้งคำพูดของคนในครอบครัว ก็ทิ่มแทงความรู้สึกเรา อาจลามไปถึงการแปะป้าย ตีตราตัดสินอย่างไม่ตั้งใจ
R U OK ชวนนักจิตบำบัดจากมหาวิทยาลัย York ประเทศอังกฤษ คุณสฤญรัตน์ โทมัส มาคุยกันว่าในสถานการณ์ที่เราอยากใช้คำพูดตีตรามให้อีกฝ่ายเจ็บจำหรือล้มลงไปต่อหน้า เรามีวิธียั้งตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้ไปถึงตรงนั้นบ้าง
เคยสังเกตตัวเองไหมว่าเวลาเจอเรื่องเครียดอะไรมา คนที่เรามักเผลอลงระเบิดใส่คือคนใกล้ตัวและมักเป็นคนในครอบครัวเสมอ
R U OK ชวน หมอโอ๋ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน มาคุยกันว่าในสายตาของวิทยาศาสตร์สมองทำงานอย่างไรเมื่อเกิดอาการปรี๊ด และในด้านจิตวิทยาเราสามารถใช้ Emotional Intelligence มาพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ได้อย่างไรในขณะที่เราต้องอยู่บ้านด้วยกันมากขึ้น
RUOK162 Mentality ที่ดีในการทำงานที่บ้านเป็นอย่างไรเมื่อ Work From Home อาจกลายเป็น New Normal
ทำไมหลายคนรู้สึกว่าการ Work From Home ถึงเครียดกว่าการทำงานที่ออฟฟิศ?
R U OK ชวนสำรวจตัวเองว่าความเครียด ความเหนื่อยล้า และหนักจากการทำงานที่บ้านเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง และที่สำคัญคือเราควรปรับสภาพจิตใจอย่างไรหาก Work From Home จะกลายเป็น New Normal หรือความปกติใหม่ของสังคมการทำงานในอนาคต
ในยามวิกฤต ความรู้สึกของมนุษย์จะเปราะบางมากกว่าปกติเพราะกำลังอยู่ในภาวะป้องกันตัวเอง การสื่อสารระหว่างกันจึงต้องประคับประคองความรู้สึกมากเป็นพิเศษ
R U OK ชวน เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ คุยในฐานะผู้บริหารองค์กรที่ต้องแจ้งนโยบายและสื่อสารกับคนในองค์กรทุกระดับ ว่ามีหลักการสื่อสารอะไรที่ต้องยึดถือเพื่อให ้เกิดความมั่นคง ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นใจเพื่อนมนุษย์ในเวลาด้วย
Work From Home, Leave without Pay, ปรับลดเงินเดือน หรือปลดพนักงาน หลากหลายนโยบายขององค์กรที่ทำเพื่อให้บริษัทอยู่รอดในช่วงวิกฤต ทั้งหมดเป็นลำดับขั้นตอนที่แต่ละองค์กรต้องพิจารณา แต่ไม่ว่าจะพนักงานจะได้รับผลกระทบทางใจอย่างไร ต่างสามารถทำผ่านกรอบของ ‘Empathy’ หรือความเห็นอกเห็นใจกันได้
R U OK ชวน เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ THE STANDARD และโฮสต์พอดแคสต์ The Secret Sauce มาคุยกันว่าจะไปเป็นไปได้ไหมที่บริษัทจะสามารถมั่นคงในวิกฤต พร้อมกับการรับผิดชอบชีวิตพนักงานไปพร้อมๆ กัน
ช่วงเวลาที่วิกฤตแบบนี้หลายคนอาจเจอความทุกข์ได้ง่ายๆ ทั้งเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เรื่องที่แก้ไขได้ แก้ไขไม่ได้ จนบางครั้งรู้สึกว่าความทุกข์มันใหญ่เกินที่เราจะรับมือไหว
R U OK ชวนนั่งลงพิจารณาความทุกข์นั้นอีกครั้ง เปลี่ยนมุมมองว่าชีวิตใช่เรื่องสมบูรณ์แบบ และความทุกข์ไม่ใช่ตัวร้าย แล้วเราจะพบว่าความทุกข์เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราต้องค่อยๆ เรียนรู้และรับมือกับมันไปตลอดชีวิต
ด้วยเหตุการณ์ปัจจุบันทำให้หลายคนรู้ว่ากำลังเกิดความเครียด แต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เป็นอยู่นั้นเราเครียดมากเกินไปไหม รับมือไหวหรือเปล่า ไปจนถึงเราจะรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร
R U OK ชวนคุยเรื่องวิธีการลดความเครียด ตั้งแต่เริ่มรับรู้ความเครียดที่อาจจับต้องได้ยาก สังเกตอาการทางกาย รวมถึงการจัดการอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นรูปธรรม เผื่อว่าอย่างน้อยเราจะพอจะรับมือความเครียดที่เกิดขึ้นได้โดยไม่จมดิ่งกับมันไปเสียก่อน
ทัศนคติที่ว่าหน้าที่หลักของการเลี้ยงลูกเป็นของแม่ เพราะความเชื่อว่าผู้หญิงละเอียดอ่อนและใส่ใจมากกว่าผู้ชายนั้น กลายเป็นกับดักที่ทำให้หน้าที่เลี้ยงลูกตกเป็นของผู้หญิงโดยปริยาย โดยผู้ชายมีหน้าที่ช่วยเสริมแรงหรือผลัดเปลี่ยนเท่านั้น
R U OK อยากชวนคุยเพื่อทบทวนกันอีกครั้ง ไม่ว่าพ่อหรือแม่ต่างก็มีความสำคัญในการเลี้ยงลูก ไม่ใช่หน้าที่หลักของใคร แต่คือการจับมือเป็นทีมเดียวกัน สื่อสารและตกลงกัน เพราะการระหว่างที่ลูกกำลังพัฒนาการและซึมซับทางเลือกต่างๆ ในชีวิต พ่อแม่คือตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ลูกจะนำไปหยิบใช้ในอนาคต
3/9/2020 • 15 minutes, 33 seconds
RUOK150 Deep Listening ทักษะการฟังเสียงในใจที่ลูกไม่ได้พูดออกมา
ทุกคนล้วนมีสิ่งที่ต้อง ‘ทำ’ และ ‘เป็น’ ในครั้งแรกชีวิตเสมอ และครั้งแรกมักจะนำมาซึ่งความผิดพลาดหรือความไม่สมบู รณ์แบบเพราะนั่นคือธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะการเป็น พ่อแม่คนครั้งแรก ที่หลายคนเฝ้ารอและใฝ่ฝันจะให้วันนั้นมันถึง เลยเครียดเกร็งและคิดว่าทุกอย่างจะต้องสมบูรณ์แบบเสมอไป
R U OK ซีรีส์ใหม่ประจำเดือนมีนาคม ไม่ได้จะกลายมาเป็นพอดแคสต์คู่มือการเลี้ยงลูก แต่อยากชวนปรับทัศนคติของการเป็นพ่อแม่มือใหม่ ว่าความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้ เราก็ยังต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันตลอดเวลา จุดสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะให้อภัยตัวเองได้อย่างไรเมื่อเราทำผิดพลาดต่างหาก
3/2/2020 • 21 minutes, 4 seconds
RUOK148 Little Women ชวนมองความผูกพันในครอบครัวที่เป็นฐานของความเข้าใจและให้อภัยต่อกัน
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
หากใครเป็นคอหนังสือคงทราบอยู่แล้วว่าวรรณกรรมอมตะเรื่อง สี่ดรุณี หรือ Little Women ถูกดัดแปลงเป็นทั้งภาพยนตร์ ซีรีส์ ละครพูด มิวสิคัลมาแล้วหลายต่อหลายคร ั้ง หากความพิเศษในการสร้างเป็นภาพยนตร์ในครั้งนี้คือการเล่าเรื่องที่ไม่ได้ดำเนินเป็นเส้นตรง หากแต่ตัดสลับเหตุการณ์อดีตปัจจุบันเช่นเดียวกับการที่เรารับรู้เรื่องราวของใครบางคนแบบไม่เรียงลำดับเวลา เช่นเดียวกับโลกจริง
นอกจากการเล่าเรื่องที่ส่งผลต่อการรับรู้และจิตใจผู้ชมแล้ว Little Women ยังมีอีกหลายประเด็นทางจิตวิทยาที่น่าหยิบมาชวนคุย R U OK เลือกความลึกซึ้งของสายสัมพันธ์พี่น้อง ที่น่าตั้งคำถามว่าความผูกพันในครอบครัว นำมาสู่ความเข้าใจและการให้อภัยได้อย่างไร
2/27/2020 • 16 minutes, 54 seconds
RUOK147 The Irishman การสารภาพบาปที่ค้างคา และความเดียวดายของชีวิตที่ไม่ได้ตายแต่ก็เหมือนไม่มีชีวิตอยู่
RUOK146 Ford V Ferrari ฝ่าขีดจำกัดด้านจิตใจและเอาชนะ EGO ของตัวเอง
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
หลังจากพอดแคสต์ The Secret Sauce เคยพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในประเด็น Ford v Ferrari บทเรียนจากนักแข่งรถผู้ไม่เคยเหยียบเบรกและไม่นิยมเลียก้นหัวหน้า ด้วยมุมมองของความขัดแย้งในวัฒนธรรมองค์กรแล้ว วันนี้ R U OK ชวนคุยถึงภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้งในมุมมองของจิตวิทยา ผ่านตัวละค รหลักอย่างเคน ไมลส์ และคารอล เชลบี ในแข่งขันเลอม็องส์ที่ไม่เพียงแค่เป็นการเอาชนะขีดจำกัดด้านร่างกายของ ยังเป็นการทะลุด้านตัวตน จิตใจ และทำความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิต
2/20/2020 • 21 minutes, 21 seconds
RUOK145 Once Upon a Time...in Hollywood รุ่งโรจน์ โรยร่วง และการยอมรับขาลงของชีวิต
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
Once Upon a Time...in Hollywood ผลงานของ เควนติน ทารันติโน ภาพยนตร์ที่พูดถึงช่วงสุดท้ายของยุคที่รุ่งโรจน์ของวงการฮอลลีวูด ผ่านสายตาของนักแสดงและสตันท์แมนที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงในอาชีพการงาน
นอกจากเรื่องจริงที่เควนตินนำมาดัดแปลงให้เป็นภาพยนตร์ และฝีมือการแสดงของ แบรด พิตต์ ที่คว้ารางวัลออสการ์ในสาขาสมทบชายซึ่งเป็นรางวัลแรกในชีวิตการแสดงแล้ว สิ่งที่น่านำมาพูดถึงในมุมของจิตวิทยา คือการเปลี่ยนผ่านของตัวละคร ‘ริก ดัลตัน’ จากชีวิตในช่วงที่รุ่งโร จน์สู่ความร่วงโรย ต้องต่อสู้กับความรู้สึกขาลงของตัวเองที่ไม่ใช่แค่เพียงสมรรถภาพของการทำงาน แต่สะท้อนถึงคุณค่าของตัวตน เขาจะยอมรับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร
2/17/2020 • 26 minutes, 17 seconds
RUOK144 Marriage Story สำรวจซากปรักหักพังของความสัมพันธ์ นี่เรายังรักกันอยู่ใช่ไหม?
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
เนื่องในโอกาสวันแห่งความรักและเดือนแห่งออสการ์ คงไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนเหมาะไปกว่า Marriage Story ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่กำลังจะเลิกรากัน
R U OK ชวน ประวิทย์ แต่งอักษร อาจารย์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาพูดคุยถึงการแสดงที่น่าประทับใจของ อดัม ไดรเวอร์ และ สการ์เล็ตต์ โจแฮนส์สัน ที่ถ่ายทอดความสัมพันธ์ของมนุษย์อย่างละเอียดลออ ความคาดหวังในชีวิตคู่ และนำไปสู่การเรียนรู้ว่าเราไม่มีทางได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการร้อยเปอร์เซ็น ต์ หากเรายังต้องการอีกคนมาเป็นคู่ในชีวิต
2/13/2020 • 22 minutes, 34 seconds
RUOK143 1917 สงคร ามและเหตุผลของการมีชีวิตอยู่
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
แม้ว่าจะไม่ได้รางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แต่ ‘1917’ ผลงานกำกับของ Sam Mendes ก็อยู่ในใจของใครหลายคน ด้วยเทคนิคลองเทกที่ทำให้เรารู้สึกมีประสบการณ์ร่วมราวกับอยู่ในสนามรบ แล้วมันเกี่ยวกับจิตวิทยาอย่างไร?
R U OK ชวน ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส วิเคราะห์ ‘1917’ ในฐานะของคนดูว่าการมีประสบการณ์ผ่านสายตาของ 2 นายทหารในภาพยนตร์ที่สร้าง Empathy ให้กับคนดูการเดินทางผ่านอุปสรรคของตัวละครทำให้เกิดการเรียนรู้สู่เป้าหมายการมีชีวิตอยู่อย่างไร รวมถึงย้อนดูตัวเองว่าแรงผลักที่ทำให้เราออกไปใช้ชีวิตแต่ละวัน มาจากเหตุผลอะไรกันแน่
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของ หนัง
เมื่อคราวที่หนังเรื่อง JOKER เข้าฉาย เกิดการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ด้วยความดาร์กดิบของหนังที่เสี่ยงต่อคนที่มีภาวะทางจิตใจ ดูแล้วอาจชวนหดหู่หรือดิ่งตาม เพราะ JOKER เวอร์ชันนี้ฉายภาพให้เห็นที่มาของมนุษย์คนหนึ่งก่อนที่จะถูกแปะป้ายว่าเป็นวายร้ายแห่งเมืองก็อตแธม เมืองสมมติที่ดูอย่างไรก็ไม่ได้ห่างไกลจากตัวเรา
R U OK เอพิโสดนี้ชวน ชาญชนะ หอมทรัพย์ อาจารย์พิเศษและนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาขุดลึกลงไปภายในจิตใจอันล่มสลายของ JOKER ว่าจริงๆ แล้ว ‘สังคม’ มีส่วนที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งกลายเป็นวายร้ายได้จริงหรือไม่ และเหตุผลอะไรที่ทำให้เลือกตอบโต้การถูกกระทำด้วยความรุนแรง
2/6/2020 • 27 minutes, 27 seconds
RUOK141 Parasite แรงสะท้อนของการถูกกดทับ
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
และแล้ว Parasite ก็สามารถคว้ารางวัลออสการ์มาครองได้สำเร็จ นี่คือครั้งแรกในประวัติศาสต ร์ 92 ปีของออสการ์ ที่ภาพยนตร์ต่างประเทศชนะรางวัลที่ใหญ่ที่สุด ด้วยความสากล ภาพยนตร์สามารถทำลายกำแพงวัฒนธรรมภาษา ให้ทุกคนรู้สึกร่วมถึงประเด็นสำคัญที่ต้องการจะสื่อ นั่นคือเรื่องโครงสร้างทางสังคมและการถูกกดทับ
R U OK และ THE STANDARD POP ชวนมองภาพยนตร์ Parasite ผ่านมุมมองทางจิตวิทยา เราอาจไม่ใช่ครอบครัวที่เหมือนกับในภาพยนตร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การตัดสินใจบางสถานการณ์ของตัวละครล้วนเชื่อมโยงให้เห็นตัวเราเองได้เสมอ
แทบทุกองค์กรหรือทุกบริษัทเต็มไปด้วยความหลากหลายของพนักงาน ทั้งบุคลิก เพศ ความสนใจ และเจเนอเรชัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดหากเกิดความคิดเห็นไม่ตรงกัน หรืออาจถึงขั้นขัดแย้ง
R U OK ชวน คุณบี-อภิชาติ ขันธวิธิ เจ้าของเพจ HR THE NEXT GEN มองปัญหาในออฟฟิศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ว่า เราจะเปลี่ยนทัศนคติอย่างไรให้มองเห็นความแตกต่างและเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ
1/27/2020 • 19 minutes, 49 seconds
RUOK138 เมื่อเปลี่ยนงานบ่อยไม่เกี่ยวกับความไม่มั่นคง ทำไม Gen Z ถึงถูกมองว่าลาออกเก่ง
Gen Z บางส่วนกำลังขยับตัวเองจากโลกการเรียนเข้าสู่โลกการทำงาน ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้าสู่สังคมใหม่อีกครั้ง แต่เมื่อต้องเอาตัวเองไปปะทะกับโลกที่เต็มไปด้วยคนต่างวัย ความเห็นที่ไม่ตรงกันจึงเกิดขึ้น
R U OK ชวน คุณบี-อภิชาติ ขันธวิธิ เจ้าของเพจ HR THE NEXT GEN มาคุยกันถึงประเด็นที่หลายคนมองว่า Gen Z มีความอดทนต่ำ ไม่มีระเบียบการทำงาน ลาออกบ่อย เป็นการมองอย่างตัดสินเกินไปไหม และสาเหตุอะไรที่ส่งเสริมให้คนในวัยนี้เห็นทางเลือกมากมายในชีวิต
1/24/2020 • 28 minutes, 34 seconds
RUOK137 Gen Z จะจัดการอารมณ์ตัวเองอย่างไรให้กลายเป็นทักษะสำคัญของชีวิต
R U OK พูดอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดพฤติกรรมที่น่าสงสัยแปลกไปจากเดิม ให้เข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบางครั้งอาจดูเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง จะดีกว่าไหม ถ้าหากเราสามารถรู้จักตัวเองและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ ก่อนที่จะนำพาไปสู่โรคและค วามขัดข้องต่างๆ
ญา-ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เด็กหญิงวัย 14 ปี ผู้ผลักดันให้ ‘วิชาการจัดการอารมณ์’ เป็นหนึ่งในหลักสูตรของการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้เด็กมีทักษะในการรับมือกับอารมณ์ต่างๆ และเป็นการป้องกันปัญหาด้านอารมณ์ที่ต้นเหตุ รวมถึงสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนและครู เพื่อให้เห็นตรงกันว่าปัญหาด้านจิตใจเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ
ก่อนหน้านี้การเข้าพบจิตแพทย์ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองหรือได้รับหนังสือยินยอม ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคให้กับเด็กบางส่วนที่อยากเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญด้วยตัวเองแต่ไม่สามารถทำได้
ด้วยปัญหานี้ R U OK ชวนคุยกับ ญา-ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เด็กหญิงวัย 14 ปี ที่เป็นแกนนำเรียกร้องในแก้ไ ขพระราชบัญญัติสุขภาพจิต เพื่อให้เด็กเข้าพบจิตแพทย์โดยไม่ต้องมีผู้ปกครอง เธอพบเห็นอะไรถึงผลักดันเรื่องนี้ ขณะนี้กระบวนการเป็นอย่างไร มาฟังเสียงของเธอชัดๆ ว่าไม่ว่าวัยไหนก็เผชิญกับความเครียดได้และต่างต้องการความช่วยเหลือ
1/16/2020 • 28 minutes, 17 seconds
RUOK135 ทำอย่างไรดี เมื่อ GEN Z รู้สึกว่าตัวเองต้องรีบประสบความสำเร็จ
ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็เต็มไปด้วยคนที่ประสบความสำเร็จ แถมคนเหล่านั้นยังอายุน้อยลงเรื่อยๆ คน GEN Z ในปัจจุบันจึงดูเหมือนประสบภาวะกดดันให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ไม่มีธุรกิจอะไรเป็นของตัวเอง ก็รู้สึกว่าต้องสร้างอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน
R U OK ชวนคุยกับ ออกแบบ-ชุติมณฑน์ ตัวแทนของ GEN Z ที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จจากผลงานการแสดงครั้งแรกเรื่อง ฉลาดเกมส์โกง แต่ความเป็นจริง เธอยังตั้งคำถามกับคำว่าสำเร็จ ความรีบเร่งของยุคสมัยส่งผลต่อเ จนเนอเรชันอย่างไร และความสำเร็จจะนำมาซึ่งความสุขได้จริงหรือเปล่า
ถ้าพูดถึงภาพยนตร์ไทยตอนนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ฮาวทูทิ้ง ผลงานล่าสุดของ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ จากค่าย GDH ที่พูดถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่พยายามทิ้งของและความสัมพันธ์เพื่อ Move on ไปข้างหน้า แต่ในรายละเอียดของภาพยนตร์เรื่องนี้ กลับมีประเด็นด้านจิตวิทยาและความสัมพันธ์ที่น่าพูดถึงมากมาย
R U OK เอพิโสดนี้ได้รับเกียรติจาก ออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง นักแสดงผู้รับบท จีน นางเอกของเรื่อง มาร่วมวิเคราะห์พฤติกรรมตัวละครว่าทำไมถึงตัดสินใจแบบนั้น จีนเป็นคนเห็นแก่ตัวและไม่แคร์ความรู้สึกคนอื่นจริงไหม ร่องรอยความขัดแย้งระหว่างเจเนอเรชันเกิดจากอะไร พร้อมทั้งเบื้องหลังของตัวละครที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน!
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญบางส่วนของภาพยนตร์
1/9/2020 • 29 minutes, 17 seconds
RUOK133 ธ รรมชาติของ Gen Z และความกดดันที่ต้องเผชิญ
ซีรีส์ใหม่รับปีใหม่ของ R U OK ว่าด้วยเรื่องคนรุ่นใหม่ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘คน Gen Z’ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการแบ่งประชากรตามหลักสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาที่มองคนในลักษณะปัจเจก แต่สิ่งที่น่าสนใจของมนุษย์ที่เกิดตั้งแต่ยุค 2000 ที่เทคโนโลยีเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์อย่างแยกกันไม่ออก ก็เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ และมีความเชื่อมโยงกับจิตใจไม่น้อย
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น R U OK ชวน นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้ทำงานกับเด็กและวัยรุ่น มาคุยกันเรื่องความทุกข์ ความกดดันที่ Gen Z ต้องรับมือ การปะทะความคิดกันระหว่างวัย และจะมีวิธีที่ไหนที่จะเห็นตรงกลางร่วมกัน
ช่วงต้นปีแบบนี้หลายคนมักตั้ง New Year’s Resolutions ให้กับตัวเอง แต่ก็มักประสบปัญหาคือทำได้ไม่นานก็ล้มเลิก R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากช่วยวางแผนให้ทุกคนทำปณิธานปีใหม่ให้สำเร็จ ตั้งแต่วิธีการเริ่มตั้งเป้าหมายให้ชัด ต่อสู้กับข้ออ้าง จนถึงการลงมือทำ เพราะทุกๆ พฤติกรรมของมนุษย์เมื่อปฏิบัติเป็นประจำ ก็สามารถกลายเป็นนิสัยดีๆ ที่เราต้องการได้เสมอ
1/3/2020 • 19 minutes, 52 seconds
RUOK132 ฝึกให้ใจสงบส่งท้ายปี ด้วยการ Meditation
ช่วงสิ้นปีที่หลายคนถือโอกาสสงบทบทวนตัวเอง R U OK ขอเป็นส่วนหนึ่งด้วยการนำเสนอเรื่อง Meditation ศาสตร์ที่มีอยู่อย่างยาวนาน ชวนให้เรากลับมามีสมาธิกับกิจกรรมที่ทำตรงหน้า พร้อมชวน Meditation ภาคปฏิบัติจริงผ่านการกินและการเคลื่อนไหวที่สามารถทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน
12/30/2019 • 31 minutes, 38 seconds
RUOK131 ส่งต่อแรงบันดาลใจให้เห็นคุณค่าการมีชีวิต กับ Art for Cancer by Ireal
ขณะที่วางแผนจะไปเรียนต่อต่างประเทศ ออย-ไอรีล ไตรศาลศรี ในวัย 26 ปี พบว่าป่วยเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 จึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษา ระหว่างนั้นเธอค่อยๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโรคและเพื่อนร่วมโรค จนเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดโครงการ Art for Cancer by Ireal โครงการส่งต่อแรงบันดาลใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการระดมทุนผ่านศิลปินและจิตอาสา
หากแต่เรื่องราวไม่จบแค่นั้นเพราะเมื่อ Art for Cancer by Ireal ดำเนินมาได้ถึง 6 ปี เธอก็พบว่าตนเองกลับมาเป็นมะเร็งระยะที่ 4 เธอผ่านเรื่องราวทั้งหมดมาด้วยทัศนคติของการมีชีวิตอย่างไร และในขณะเดียวกันเธอก็สามารถแบ่งปันส่งต่อคุณภาพชีวิตและซัพพอร์ตจิตใจให้คนอื่นๆ ได้อีกด้วย
12/26/2019 • 27 minutes, 39 seconds
RUOK130 อยู่ร่วมกับโรคทางกายด้วยจิตใจที่แข็งแรง
จะทำอย่างไรเมื่อมีชีวิตเหลืออยู่เพียง 6 เดือน
ด้วยคำถามของคนไข้ที่กระตุ้นจิตใจของ ‘หมอ โจ้’ แพทย์หญิงพัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง จึงตัดสินใจเรียนต่อด้านศิลปะบำบัด เพื่อนำศิลปะมาช่วยเยียวยาให้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย R U OK ชวนหมอโจ้มาแชร์ประสบการณ์การบำบัดผู้ป่วย พร้อมวิธีที่จะประคับประคองจิตใจหากคนรอบข้างต้องอยู่ร่วมกับโรคทางกายด้วยการเห็นหัวใจกันมากขึ้น
พ่อแม่ทุกคนเชื่อว่าการแบ่งปันเป็นสิ่งดี เพราะได้ให้และเกิดความรู้สึกดีภายใน แต่ชีวิตมนุษย์ก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน การสอนด้วยการ ‘สั่ง’ ให้ทำตรงๆ จึงไม่ใช่ทางออกที่ดีในการที่จะให้เด็กเรียนรู้วิธีการแบ่งปัน แถมบางครั้งอาจเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีด้วยซ้ำ
R U OK คุยกับ นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กและวัยรุ่น เพื่อชวนให้เห็นพัฒนาการของเด็กที่เชื่อมโยงกับการแบ่งปันว่า เราจะสอนให้เด็กรู้จักการแบ่งปันได้อย่างไร เริ่มจากการเรียนรู้การแพ้ชนะ การต่อคิว จนค่อยๆ ขยับไปเป็นสิ่งของ หรือแม้แต่การทำเป็นตัวอย่างให้ดูของพ่อแม่ ก็ล้วนส่งผลต่อประสบการณ์การแบ่งปันของเด็กที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต
12/9/2019 • 22 minutes, 41 seconds
RUOK125 ทฤษฎีสามเหลี่ยมความสัมพันธ์ กับรากฐานสำคัญในการสร้าง Quality Time ในครอบครัว
ช่วงเวลาสิ้นปี เป็นจังหวะที่หลายครอบครัวหาโอกาสมาเจอหน้าค่าตากัน สร้างกิจกรรมร่วมกันเพื่อสานสัมพันธ์ให้เกิดช่วงเวลาดีๆ หรือที่เราเคยได้ยินกันชินหูว่า Quality Time แต่จริงๆ แล้วช่วงเวลาคุณภาพที่ว่านั้นคืออะไร
R U OK ชวน นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยา มาช่วยคิดทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาคุณภาพ หรือ Quality Time ในครอบครัวที่แท้จริงแล้วไม่เกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงที่ใช้จ่ายร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นโอกาสพิเศษสำคัญ หากแต่วัดกันที่เจตจำนงและความรู้สึก และถ้าหากมองเห็นว่า Quality Time คือเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เราจะเริ่มสร้างมันไปด้วยกันอย่างไร
นอกจากเรื่องความรัก วิทยาศาสตร์ก็สามารถตอบคำถามหลายอย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ โดยเฉพาะความรู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องเข้าสังคมใหม่หรือต้องผูกสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า
R U OK ชวน นพ.ปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์ มามองความสัมพันธ์ด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการ ว่าอาการประหม่าของมนุษย์เมื่อเจอคนแปลกหน้าเป็นธรรมชาติหรือถูกพัฒนามาอย่างไร และเราจะเริ่มต้นผูกมิตรกับใครสักคนด้วยวิธีการอย่างไร
ในความสัมพันธ์ชีวิตคู่คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีความเห็นไม่ตรงกันจนเกิดการทะเลาะขึ้น แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าปลายทางของการทะเลาะคืออะไร
R U OK ชวน นพ.ปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์ เจ้าของเพจ Therory of Love มาคุยถึงเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นในชีวิตคู่อย่างการทะเลาะ ว่ามีข้อห้ามอะไรบ้าง และมีวิธีไหมที่ทเลาะกันแล้วจะนำพาไปสู่ความเข้าใจที่มากขึ้นกว่าเดิม
‘ความรัก’ คือความรู้สึกหนึ่งของมนุษย์ที่พยายามหาคำอ ธิบายกันตลอดมา ทั้งเรื่องโรแมนติก พรหมลิขิต รักแรกพบ แต่อีกนัยหนึ่งความรักก็สามารถไขคำตอบได้ด้วยมุมมองของวิทยาศาสตร์
R U OK ซีรีส์ความสัมพันธ์ ชวน นพ.ปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์ เจ้าของเพจ Theory of Love มาอธิบายความรักด้วยทฤษฎีจิตวิทยาวิวัฒนาการ เพื่อร่วมหาคำตอบกันว่า ทำไมเราถึงรักกัน ความรักมันมีสเตปขั้นตอนไหม และหากความรักดำเนินต่อไปมีโอกาสหมดโปรโมชันได้จริงหรือเปล่า
คนจำนวนไม่น้อยที่เดินเข้าไปพบจิตแพทย์ และถูกวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้า อาจเกิดความสงสัยว่านอกจากการกินยาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไรอีกบ้าง
R U OK ชวน พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล จิตแพทย์จากสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มาตอบข้อสงสัยทั้งกินยาแล้วกินแอลกอฮอล์ได้ไหม? จำเป็นต้องออกกำลังกายหรือเปล่า? จะมีวิธีสังเกตสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อย่างไร เพื่อให้ช่วงเวลาที่ไม่เจอหมอเราสามารถประคองตัวเองให้ผ่านไปได้
อยากไปหาจิตแพทย์ครั้งแรกควรทำอย่างไร?
ต้องเตรียมตัวเล่าเรื่องตัวเองไหม?
คลินิก โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนต่างกันอย่างไร?
ใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคมได้หรือเปล่า?
วอล์กอินได้ไหมหรือต้องโทรจองก่อน?
R U OK คุยกับ พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล เพื่อตอบคำถามของการไปหาจิตแพทย์ครั้งแรกว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้การไปพบแพทย์มีความหมายมากที่สุด
วัยรุ่นเป็นวัยที่เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิต ทั้งด้านร่างกาย ความคิด และสังคม จึงเป็นวัยหนึ่งที่อาจเกิดความเครียดและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ไม่ต่างจากวัยผู้ใหญ่
R U OK ชวน ต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น มาร่วมหาทางออกว่า ถ้าวัยรุ่นเริ่มรู้สึกว่าตัวเองอาจเข้าข่ายมีภาวะซึมเศร้า ควรเริ่มต้นสื่อสารกับใคร ด้วยวิธีการไหน จึงจะนำมาสู่ความเข้าใจและประคับประคองจิตใจไปด้วยกัน
10/14/2019 • 21 minutes, 26 seconds
RUOK109 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่ชวนทำความเข้าใจ
R U OK ในซีรีส์โรคซึมเศร้าเอพิโสดนี้ ชวน ต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยามาพูดคุยกันอีกครั้งถึง 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่เราอาจไม่เข้าใจเพราะนึกหน้าตาและความรู้สึกนั้นไม่ออก บางคนเชื่อว่าไม่ต้องไปพบแพทย์แต่สามารถชนะได้ด้วยใจ, บางคนเชื่อว่าถ้าผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ก็เท่ากับปกติดี, บางคนสงสัยว่าทำไมอยู่เป็นเพื่อนแล้ว ผู้ป่วยถึงยังเศร้า ฯลฯ R U OK จะค่อยๆ ทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้ให้ดีมากยิ่งขึ้น
‘วันนี้เราจะไม่เศร้า’ ซีรีส์ใหม่ประจำเดือนตุลาคมของ R U OK ที่ว่าด้วยเรื่องโรคซ ึมเศร้า ซึ่งแม้เราจะพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่เพราะโรคที่ใกล้ตัวเราและคนรอบข้างขึ้นมาทุกที R U OK เลยขอลงรายละเอียด เพื่อให้เข้าใจโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น
เอพิโสดนี้ชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่แสดงอาการต่างกันไปในแต่ละวัย ในวัยเด็กอาจก้าวร้าว หงุดหงิด ส่วนผู้สูงวัยอาจซึม พูดน้อย ดังนั้นเราจะมีวิธีการสังเกตอย่างไรเพื่อได้พบผู้เชี่ยวชาญได้ทันท่วงที
ความรู้สึกไร้ค่า เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน เมื่อกำลังเผชิญสถานการณ์ที่รู้สึกว่าตัวเองสามารถเป็นประโยชน์หรือแสดงศักยภาพได้เต็มที่มากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น บางครั้งรู้สึกว่าเป็นพนักงานที่ไม่มีประโยชน์ต่อองค์กรเท่าที่ควร เป็นประชาชนที่ไม่สามารถขับเคลื่อนความเป็นไปของประเทศ หรือแม้แต่หน่วยเล็กๆ อย่างครอบครัวเราก็อาจรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ
แต่สำหรับบางคน ความรู้สึกไร้ค่าก็เกิดขึ้นบ่อยจนชวนให้สงสัย R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจความไร้ค่าที่บางครั้งอาจมาจากเรื่องเล็กๆ ในครอบครัวที่มองข้าม แต่กลับส่งผลมากมายกับความรู้สึก พฤติกรรมที่ว่าคืออะไร และเราจะรู้เท่าทันตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้น
Time index
02:08 ความรู้สึกไร้ค่าแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน
03:47 ความรู้สึกไร้ค่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน
04:25 ลึกๆ แล้วบางคนรู้สึกเป็นพนักงานที่ไม่ได้ทำประโยชน์ต่อองค์กร
04:55 บางคนแสดงความรู้สึกไร้ค่าด้วยความคิดที่ว่าไม่ทำคนเดียวก็ไม่เห็นเป็นไร
06:24 เด็กรับรู้ถึงคุณค่าผ่านเงินไม่ได้
09:24 เด็กบางคนต้องแบกรับความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่แคร์มาจนโต
10:10 พื้นฐานของการอยู่ด้วยกันคือการสัมผัส ใส่ใจ และใช้เวลาอยู่ด้วยกัน
11:26 หากในวัยเด็กรู้สึกไม่มีค่า เมื่อโตขึ้นมาแล้วโลกใบนี้เมินเพียงนิดเดียวก็สามารถพังได้
13:01 หากเกิดความรู้สึกไร้ค่าขึ้นมาลองฟังเสียงของตัวเอง
8/20/2019 • 17 minutes, 48 seconds
RUOK SPECIAL ฝึกงาน ฝึกใจ และร่วมสร้าง R U OK ซีซั่นใหม่ไปด้วยกัน
ระหว่างที่พักซีซั่นสั้นๆ เพื่อเตรียมตัวขึ้นซีซั่นใหม่ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ และโปรดิวเซอร์ประจำรายการเลยอยากชวนคนที่สนใจมาฝึกงาน R U OK รับรองว่านอกจากจะได้สำรวจพฤติกรรม ความคิดของมนุษย์กันอย่างละเอียดลออ ยังได้ฝึกทำพอดแคสต์กันตั้งแต่ก้าวแรกอย่างไม่มีกั๊ก
ติดตามรายละเอียดการฝึกงานได้ที่ลิงก์นี้ https://thestandard.co/podcast/ruokspecial/
จะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีหรืออะไรก็ตามที่เอื้อให้ทุกวันนี้เราทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ จนบางครั้งก็อาจสงสัยตัวเองว่าที่เป็นอยู่นั้นเรากลายเป็นคนบ้างานไปแล้วหรือเปล่า
R U OK ชวนหาจุดสังเกตว่าแค่ไหนถึงเรียกว่าบ้างาน คนที่ให้ความสำคัญกับงานจนไม่สนใจชีวิตด้านอื่น เขาเหล่านั้นต้องการอะไร และถ้าอยากจูนชีวิตใหม่เราจะเริ่มจัดตารางอย่างไรให้มีคุณภาพ
Time index
02:11 อาการบ้างานสังเกตจากผลกระทบ 3 ด้าน
08:23 ทำไมคนเราถึงบ้างาน
12:00 เราจะปรับตารางชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างไร
เมื่อเผชิญสภาวะตึงเครียด หรือตกอยู่ภายใต้ความกดดัน เราต่างมีวิธีการรับมือที่ไม่เหมือนกัน บางคนเครียด ลน ประหม่าจนไม่สามารถรับมืออะไรไหว
แต่ทั้งหมดล้วนเป็น ‘ทักษะ’ ที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้
R U OK พาไปสำรวจสาเหตุว่าทำไมแต่ละคนถึงจัดการกับความกดดันต่างกันและในสถานการณ์ที่เรากดดันมากๆ อย่างการพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก จะฝึกฝนตัวเองอย่างไร
Time index
02:00 ทำไมเราจึงมีวิธีการรับมือกับความกดดันแตกต่างกัน
02:43 ทำไมบางคนจึงลนเมื่อเจอความกดดัน
04:20 ประสบการณ์และการเลี้ยงดูมีผลต่อการรับความกดดัน
05:39 วิธีการรับมือกับความประหม่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ
ตอบคำถามประจำเดือนมิถุนายน R U OK เลือก 2 คำถามตั้งแต่เรื่องการถูกลวนลามจากผู้ใหญ่ที่รู้จักและตัดสัมพันธ์ไม่ได้ จะรับมืออย่างไร รวมถึงเรื่องการเลิกราที่พอสืบหาสาเหตุ มักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมเดิมๆ ของเราที่แก้ไขไม่หาย จะทำให้อย่างไรให้เลิกพฤติกรรมแบบนี้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจบแบบเดิม
Time index
01:22 จบความสัมพันธ์ด้วยพฤติกรรมเดิมๆ จะแก้ไขอย่างไรดี
15:11 ถูกลวนลามโดยสายตาและคำพูดจากคนที่เป็นผู้ใหญ่ จะทำอย่างไรดี
คำถามประจำเดือนมีนาคม มีทั้งเรื่องหนักๆ อย่างการไม่ชอบเวลาพ่อแม่แสดงความรักต่อกันจนเกิดความสับสน, รู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอทั้งๆ ที่คิดว่าตัวเองมีความสามารถและอาจประสบความสำเร็จ หรือเรื่องเบาๆ อย่างวิธีการดูแลใจตัวเองให้ไม่ห่อเหี่ยวหลังกลับมาจากเที่ยว
คำถามทั้งหมด R U OK สามารถตอบได้เพียงกว้างๆ เพราะเรื่องจิตใจนั้นซับซ้อนและเฉพาะบุคคล แต่คิดว่าคำตอบคร่าวๆ เหล่านั้นอาจนำไปสู่ทางออกที่ทำให้ดีขึ้น
Time index
01:17 ทำอย่างไรหากรู้สึกไม่โอเคเมื่อพ่อกับแม่แสดงความรักต่อกัน
12:01 รู้สึกดีไม่พอจนกดดันตัวเอง ทำอย่างไรจะให้ประสบความสำเร็จ
18:12 กลับมาจากเที่ยวทำไมยังห่อเหี่ยวอยู่ จะดูแลตัวเองอย่างไร
มีคำถามที่ส่งถึงพอดแคสต์ R U OK ซึ่งล้วนแล้วน่าสนใจและคิดว่าน่าจะตรงกับประสบการณ์ใครหลายคน ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป R U OK เลยเลือกคำถามมาตอบเดือนละครั้ง เริ่มจากคำถามของพนักงานบริษัท เมื่อโดนคอมเมนต์จากหัวหน้างานแล้วกลับไปคิดมาก จะทำอย่างไรเมื่อคำพูดเหล่านั้นวนเวียนไม่หยุด กับคำถามของวัยกลางคนที่พ่อแม่ทั้งของเราและเพื่อนเริ่มป่วย จะพูดหรือปลอบอย่างไรให้เพื่อนที่กำลังทุกข์ใจรู้สึกดีขึ้น
Time index
02:25 ถูกคอมเมนต์จากหัวหน้างานและเก็บไปคิดไม่หยุด จะทำอย่างไรดี
09:56 จะปลอบใจเพื่อนอย่างไร เมื่อพ่อแม่เพื่อนกำลังป่วย
14:03 ถ้าดูแลคนป่วยจนเครียดจะทำอย่างไรดี
หากถอดสมการให้เป็นภาพชัดๆ
ความคาดหวัง = ความต้องการ
หลายครั้งเราเลยเอาความต้องการของเราที่มีเป็นร้อยเป็นพันอย่าง ไปทาบทับคนอื่นโดยคาดว่าเขาจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้ โดยลืมไปว่าอีกฝ่ายคือมนุษย์คนหนึ่งที่มีความต้องการเป็นของตัวเองเหมือนกัน
R U OK เอพิโสดนี้อยากให้ยั้งสักนิด ลองทบทวนตัวเองก่อนที่จะเอาความคาดหวังทั้งหมดที่มีของเราไปวางทาบคนอื่นโดยเฉพาะคนที่เรารัก พร้อมทั้งมี 2 คำถามง่ายๆ ที่ใช้ถามตัวเองก่อนที่ความหวังดีจะไปทำร้ายอีกฝ่าย
Time index
02:57 ความคาดหวังคือความต้องการ
03:37 เรามีความคาดหวังได้กับทั้งคนรอบข้างและตัวเอง
04:45 ทำไมเราชอบคาดหวังกับคนใกล้ตัวหรือคนรัก
05:59 ความต้องการที่ไปพาดอยู่บนตัวคนอื่นเรียกว่า ความคาดหวัง
08:24 แม้แต่เพื่อนร่วมงานเราก็ยังคาดหวังให้เป็นอย่างที่เราต้องการ
10:17 บางความคาดหวังไม่ได้เจตนาร้ายแต่มาจากคำสอนที่ยึดถือไว้ในใจ
11:28 ทุกเสียงในหัวที่บอกว่าดี ไม่ได้ดีสำหรับทุกคนเสมอไป
13:20 ความคาดหวังมีได้ แต่ให้ถามตัวเองด้วย 2 คำถามนี้
2/7/2019 • 19 minutes, 45 seconds
RUOK68 สำรวจเสียงของตัวเองที่ดังขึ้นในใจ ก่อนจะติดป้าย ใครว่า Wanna be
หลายครั้งที่เราเล่นโซเชียลมีเดียมักจะเห็นคอมเมนต์ทำนองว่าคนนั้นคนนี้ Wanna be บ้าง อยากดังบ้าง เพราะเรา ‘รู้สึก’ ว่าเขาเหล่านั้นพยายามและไม่ธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น แต่เคยสังเกตบ้างไหมว่าความรู้สึกของเราอาจไปแปะป้ายตัดสินเขาเหล่านั้นและมีสิทธิที่ไม่ตรงกับความจริง
R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจเสียงที่ดังขึ้นในใจ เวลารู้สึกว่าใครบางคนพยายามจนขัดธรรมชาติ เสียงของเราเป็นคำพูดประมาณไหน ทำไมมีแต่ด้านลบ และจริงๆ แล้วเรารู้สึกกับเขาเหล่านั้นอย่างไร อย่างน้อยเราจะได้ทันความคิดก่อนที่จะไปติดป้ายใครว่า Wanna be
Time index
02:26 ทำไมคำว่า Wanna be ถึงกลายเป็นคำที่ฟังดูลบ
03:55 การ Wanna be เป็นสิทธิส่วนบุคคล
04:43 การ Wanna be ที่มากเกินไปอาจผิดกับกาลเทศะ บุคคล สถานที่
05:56 การ Wanna be อาจเป็นวัฒนธรรมตะวันตกที่ยังไม่เคยชินในสังคมไทย
07:13 การตัดสินคนอื่นว่า Wanna be อาจมีความคิดเบื้องหลังว่าเขาคนนั้นไม่ควรทำอย่างนี้
10:54 สิ่งควรทำกับไม่ควรทำของแต่ละคนไม่เท่ากัน
11:20 ความต้องการยอมรับเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน
13:59 ลองสังเกตความรู้สึกตัวเองเมื่อบอกว่าใครสักคน Wanna be
ตลอดระยะเวลาการทำพอดแคสต์ R U OK มักมีฟีดแบ็กและคำถามต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดกับตัวเองและคนรอบข้าง เชิงคำถามว่าพฤติกรรมเหล่านี้ปกติไหม และจุดไหนที่ควรไปหาหมอ
ในโอกาสที่เดินทางมาถึงเอพิโสดที่ 50 เราขอเลือก 3 คำถามที่น่าสนใจมาตอบในรายการ เผื่อผู้ฟังคนไหนเจอเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงจะได้นับไปปรับใช้กับตัวเอง
Time index
01:57 นั่งเหม่อทั้งวันจนเสียการเสียงาน ควรไปหาหมอไหม
05:46 บุคลิกดุโดยที่ไม่ตั้งใจ จะปรับอย่างไรดี
13:56 เพื่อนมาปรึกษาว่ามีเสียงในหัวให้ไปทำร้ายคนอื่น ควรให้คำแนะนำอย่างไรดี
“ต้องรักตัวเองก่อนจะไปรักใคร” ประโยคแสนคลิเช่ที่ได้ยินกันมานับครั้งไม่ถ้วน บางคนเข้าใจ แต่ก็มีหลายคนนึกไม่ออกแถมไม่เชื่อ แต่สำหรับ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดจากพอดแคสต์ R U OK เชื่อว่าเราควรเริ่มต้นจากการรักตัวเองจริงๆ
R U OK พอดแคสต์เลยชวนทำความเข้าใจประโยคแสนธรรมดาว่ารักตัวเองคืออะไร สามารถทำได้ด้วยวิธีไหน เพื่อสุดท้ายเราจะสามารถเติมเต็มให้ตัวเองโดยไม่ต้องโหยหาและไม่ต้องไขว่คว้าจากใคร
Time index
01:30 มนุษย์ทุกคนอยากเป็นที่รัก
03:03 ความรักคือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน
05:27 เราเคยรักใครสักคนไหม เราทำอย่างนั้นกับตัวเองได้
06:52 บางคนกว่าจะเข้าใจว่ารักตัวเองเป็นอย่างไรอาจผ่านมาครึ่งชีวิต
10:54 ปมโหยหาความรักมีที่มาเสมอ
อาการหวงเกิดได้ทั้งกับสิ่งของ คน และความสัมพันธ์ แต่กับบางคนหวงเพื่อน ไม่อยากให้เพื่อนไปสนิทกับใคร หรือบางครั้งก็รู้สึกน้อยใจที่เพื่อนเห็นความสำคัญเราลดลง
R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนมาหาสาเหตุว่าความหวงที่ไม่ได้เกี่ย วข้องกับเรื่องชู้สาวทำไมถึงเกิดกับเพื่อน เบื้องหลังความรู้สึกหวงที่ว่านี้คืออะไร และจะชวนสะกิดอาการน้อยใจ ว่าควรรับมือกับความรู้สึกนี้อย่างไรให้ไม่กระทบความสัมพันธ์
Time index
03:26 อาการหวงเพื่อน
06:24 ความน้อยใจที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่ความจริง แต่เป็นความคิดของเรา
06:51 ความรู้สึกน้อยใจ ไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง มากจากไหน
10:35 จัดการกับความรู้สึกน้อยใจที่เกิดขึ้นอย่างไรดี
11/5/2018 • 15 minutes, 56 seconds
RUOK42 เห็นแก่ตัว VS รักตัวเอง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และจะทำอย่างไรถ้าอยู่กับคนที่ยึดความต้องการตัวเองเป็นหลัก
ความรักตัวเองเป็นสิ่งที่พื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมี แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเราต้องเข้าสังคมและมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ความรักและความต้องการของเรา อาจต้องยืดหยุ่นหรือลดลง เพื่อให้เราใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
R U OK เอพิโสดนี้จึงมาชวนคุยเรื่องความรักตัวเอง ที่บางครั้งดูทับซ้อนกับความเห็นแก่ตัว ว่าจริงๆ แล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และในขณะที่เราต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะที่ทำงาน ที่มีคนที่ชัดเจนในความต้องการของตัวเองมากๆ จะทำอย่างไรให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างไม่ขัดแย้ง
Time index
01:29 เห็นแก่ตัว VS รักตัวเอง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
06:33 บางครั้งคำว่าเห็นแก่ตัวก็เป็นการตัดสินคนอื่น
09:47 ลองถามตัวเองก่อนบอกว่าใครเห็นแก่ตัว
13:04 ถ้าต้องทำงานกับคนที่ความต้องการชัดเจนโดยไม่แคร์คนอื่น ควรทำอย่างไร
ความตายเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นกับทุกคน บางคนเลยคิดถึงความตายในแง่การเข้าใจชีวิต แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าถ้าคิดถึงบ่อยๆ จะเป็นอะไรไหม สามารถนำไปสู่ความคิดอยากฆ่าตัวตายได้หรือเปล่า R U OK เอพิโสดนี้จึงว่าด้วยเรื่องความตาย ว่าความคิดแบบไหนที่ลั่นขึ้นมาในหัวเมื่อไหร่ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญ
Time index
01:58 คิดถึงความตายกับคิดอย่างฆ่าตัวตายต่างกันอย่างไร
02:55 เราหลีกเลี่ยงการพูดถึงความตายเพราะกลัวเป็นเรื่องไม่มงคล
04:34 อยากฆ่าตัวตายคือการตั้งคำถามกับคุณค่าของชีวิตตัวเอง
09:00 ถ้าเพื่อนพูดถึงเรื่องความตายอย่าเพิ่งปัดตกแต่ให้ตั้งใจฟัง
10:06 คิดถึงความตายแบบไหนที่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
การเห็นอกเห็นใจคนอื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับบางคนความรู้สึกนั้นก็ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เพราะกังวลว่าคนรอบข้างจะรู้สึกอย่างไรมากเกินไป แคร์ว่าเราทำอะไรให้เขารู้สึกไม่ดีไหม หรือบางคนก็รับมวลความทุกข์คนอื่นมาเป็นของตัวเอง
R U OK เอพิโสดนี้ จะมาหาสาเหตุว่าการแคร์คนอื่นจนยอมพับความต้องการของตัวเองเก็บไว้เกิดจากอะไร และจะรู้จักปฏิเสธอย่างไรไม่ให้เสียความสัมพันธ์
Time index
01:09 หลากหลายพฤติกรรมการใส่ใจความรู้สึกคนรอบข้างมากเกินไป
02:30 แคร์ความรู้สึกคนอื่น VS Empathy
05:33 ทำไมบางคนไม่กล้าปฏิเสธคนอื่น
08:10 จะรักคนอื่นได้ต้องรักตัวเองก่อน
09:07 Empathy VS Sympathy
สิ่งหนึ่งที่ย้ำอยู่เสมอในพอดแคสต์ R U OK คือ หากเราสงสัยในพฤติกรรมของตัวเองและอยากแก้ไขก็สามารถพบจิตแพทย์ได้ โดยไม่ถึงกับต้องอาการหนักหรือถึงขั้นป่วยเป็นโรค แต่หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ บางอย่างก็สามารถพบผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน
R U OK เอพิโสดนี้จึงมารวมพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าควรพบจิตแพทย์ ต่อเนื่องไปจนถึงว่า หากคนรอบตัวไปพบจิตแพทย์มาแล้ว เราควรปฏิบัติอย่างไรให้เหมาะสม จะให้กำลังใจอย่างไรให้ถูกวิธี
Time index
01:50 สัญญาณเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ไปหาจิตแพทย์ได้
08:02 ถ้าคนรอบตัวอยู่ระหว่างการพบจิตแพทย์ เราควรปฏิบัติอย่างไร
อ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok37/