Winamp Logo
Bon Appetit ธุรกิจรอบครัว Cover
Bon Appetit ธุรกิจรอบครัว Profile

Bon Appetit ธุรกิจรอบครัว

Thailändisch, Finance, 1 Staffel, 88 Episoden, 2 Tage, 5 Std., 31 Protokoll
Über
รายการธุรกิจอาหารที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อย ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร
Episode Artwork

ไปต่อหรือพอแค่นี้ ขาลงของธุรกิจอาหาร Plant-Based ที่แม้แต่รายใหญ่ยังทยอยปิดตัว | Bon Appétit EP.85

ตลอดเกือบสิบปีที่ผ่านมา กระแสอาหารหนึ่งที่เรียกว่า Plant-Based ถือเป็นกระแสที่นิยมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทรนด์การกินที่เปลี่ยนไป การกินมังสวิรัติและวีแกนขยายความนิยมเพิ่มมากขึ้น จนอุตสาหกรรมอาหารเองก็ต่างผลิตเนื้อสัตว์จากพื้นให้หลากหลายแบบ หลากหลายรสชาติออกมา เพื่อเป็นตัวเลือกทางด้านการกิน แต่ตอนนี้กลับดูเหมือนว่า Plant-Based กำลังจะตายและเสื่อมความนิยมลงไป . อะไรคือเหตุผลที่ทำให้รูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก หรือเทรนด์ Plant Base กำลังเปลี่ยนไป มณีเนตร วรชนะนันท์ รอไขคำตอบเรื่อง Plant-Based ที่ Podcast Bon Appétit EP.85 แล้ว ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย
21.2.20246 Protokoll, 41 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ MUST Wine Bar บูธีกไวน์ที่เปิดโลกไวน์ใหม่ๆ ให้ตลาดไทยรู้จัก | Bon Appétit EP.84

หากเป็นในต่างประเทศ หรืออย่างฝรั่งเศส การนั่งชิลๆ ระหว่างวันเพื่อจิบไวน์คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะไวน์สำหรับประเทศแถบยุโรปเป็นเหมือนเครื่องดื่มที่สร้างสุนทรียระหว่างมื้ออาหาร แต่ถ้ามองมาที่ไทยบ้านเรา ไวน์เพิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อไม่นานนี่เอง  . ด้วยแพสชั่นและความหลงใหลในไวน์ จนอยากส่งต่อความพิเศษของเครื่องดื่มชนิดนี้ให้คนไทยได้ลิ้มรส ‘เบน–เบญจวรรณ วิสูตรสัตย์’ จึงได้ก่อตั้ง MUST Wine Bar ร้านอาหารสไตล์บิสโทรขึ้น ณ ทองหล่อ 13 ในคอนเซปต์ ‘Wine Dining’ ที่เมื่อสั่งอาหารแล้วจะถูกเสิร์ฟพร้อมไวน์ที่เธอเลือกมาแล้วว่าเข้ากับเมนูนั้นๆ เพราะอยากเปิดโลกไวน์ใหม่ๆ ให้คนไทยได้สัมผัส . MUST Wine Bar จะพิเศษและสามารถสร้างประสบการณ์การดื่มไวน์ใหม่ๆ ได้ยังไง วิธีเลือกไวน์เข้ามาให้คนไทยได้ลองมีรายละเอียดยังไง เบนได้รอส่งต่อประสบการณ์การดื่มไวน์ และพาคุณท่องเข้าไปในอาณาจักรแห่งการดื่มของ  MUST Wine Bar  แล้วที่รายการ Podcast Bon Appétit EP.84 ตอนนี้
14.2.202453 Protokoll
Episode Artwork

การตลาดของ Mixue แบรนด์ไอศครีมเครื่องดื่มจากจีน ที่ตั้งเป้าให้ถึงพันสาขาในไทยภายในสามปี | Bon Appétit EP.83

ช่วงนี้ไปที่ไหนก็เป็นต้องเจอกับร้านไอศกรีม-เครื่องดื่มสีแดงรายล้อมอยู่รอบตัว ร้านที่ว่าก็คือ ‘Mixue’ แบรนด์สัญชาติจีนที่เข้ามาทำการตลาดในไทยได้ไม่นานก็สามารถขยายสาขาได้หลายร้อยสาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล . นอกจากเจ้ามาสคอตตุ๊กตาหิมะแสนน่ารักที่เชื้อเชิญให้เราอยากเข้าไปลิ้มลองรสชาติไอศครีมแดนมังกร ราคาของสินค้าจาก Mixue เองก็ราคาเป็นมิตรและถูกกว่าสินค้าประเภทเดียวกัน หรือนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่แบรนด์ไอศครีมและเครื่องดื่มแบรนด์นี้สามารถผลิดอกออกผลธุรกิจได้อย่างรวดเร็วในตลาดไทย  . Mixue ทำการตลาดในไทยด้วยกลยุทธ์ใด อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังการเติบโตของแบรนด์ไอศครีมแบรนด์นี้ มณีเนตร วรชนะนันท์ รอไขคำตอบทั้งหมดให้แล้วใน Podcast Bon Appétit EP.83 ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย
7.2.20247 Protokoll, 21 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ จากครีเอเตอร์ยุคบุกเบิก สู่เจ้าของเพจคนตามเกือบล้าน | Bon Appétit EP.82

ถ้าย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน การจะเป็นครีเอเตอร์หรือนักรีวิวอาหารออนไลน์นั้นไม่ง่ายเลย ด้วยสื่อกระแสหลักยุคนั้นล้วนเป็นสื่อโทรทัศน์ มากไปกว่านั้นเรื่องของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียเองก็ยังเป็นเรื่องใหม่ แถมความเร็วอินเทอร์เน็ตยังไม่รวดเร็วเทียบเท่า 5G ยุคปัจจุบัน แต่สำหรับ ‘ลุงอ้วน’ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นั้น ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคมากพอให้เขาไม่อยากรีวิวอาหารร้านอร่อยที่ได้มีโอกาสไปลิ้มลองเลยสักนิด . ใครที่อยู่มาตั้งแต่การรีวิวในเว็บไซต์ pantip.com เป็นพื้นที่ที่เราจะไปตามหาที่เที่ยวเด็ด ของกินร้านอร่อย ก็คงจะคุ้นเคยดีกับ ‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ จนมาถึงยุคนี้ที่แม้เทคโนโลยีและโซเชียลจะพัฒนาเปลี่ยนไปไกล ถึงอย่างนั้นเราก็ยังได้เห็นลุงอ้วนรีวิวของอร่อยในทุกๆ แพลตฟอร์มเรื่อยมา  . อะไรทำให้ชายคนนี้แพสชั่นในการกิน การเป็นนักรีวิวยุคก่อนกับยุคปัจจุบันแตกต่างกันยังไง ประสบการณ์การกินที่สั่งสมมายาวนาน ตั้งแต่สมัยหูฉลามเยาวราชชามละ 35 บาทจะมีเรื่องราวใดซ่อนอยู่ พ็อดแคสต์ Bon Appétit ตอนนี้ของชวนไปพูดคุยกับ ‘ลุงอ้วนกินกะเที่ยว’ ถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ลุงอ้วนรักการกินจนกลายมาเป็นนักรีวิวระดับตำนาน ไปจนถึงเบื้องหลังการทำงาน ความคิด และความเชื่อที่ลุงอ้วนคนนี้มีต่อวงการรีวิวอาหาร 
31.1.20241 Stunde, 16 Protokoll, 46 Sekunden
Episode Artwork

รวม 5 เทรนด์ธุรกิจอาหารปี 2024 ที่คนทำธุรกิจและหลงใหลอาหารต้องรู้ | Bon Appétit EP. 81

ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นปีทองของธุรกิจหม่าล่าและชาไทยเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะไปทางไหน เปิดโซเชียลใด เป็นต้องเจอกับการรีวิวร้านหมาล่าเปิดใหม่ กระทั่งชาไทยรสเข้มผ่านมาให้เห็น ซึ่งนอกเหนือจากที่ว่ามา LINE MAN Wongnai ยังได้เผยข้อมูลให้ได้เห็นอีกด้วยว่าร้านอาหารประเภทที่นั่งมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง    . ด้วยเทรนด์และความนิยมเปลี่ยนอยู่เสมอ จึงน่าสนใจว่านอกจากกระแสของปี 2023 ปี 2024 ของเราจะมีอะไรผุดขึ้นมาฮิตได้บ้าง ปีนี้จะเป็นปีทองของธุรกิจอาหารประเภทไหน ซึ่งหลังจากเรา season break ไปในช่วงท้ายของปีเก่าจะเข้าสู่ปีใหม่ เราจึงขอต้อนรับคุณผู้ฟังด้วยการไปคุยถึงเทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปี 2024 ที่น่าจับตามองกัน เทรนด์ธุรกิจอาหารที่ว่าจะมีกระแสไปในทิศทางไหน เมนูอะไรผงาดขึ้นมา  . เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ โฮสต์รายการ Bon Appétit จึงได้สรุป 5 เทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปี 2024 ที่คนทำธุรกิจและหลงใหลอาหารต้องรู้มาให้ได้ฟังกันใน Bon Appétit EP. 81 หากพร้อมแล้วก็ตามไปฟังกันเลย
17.1.202414 Protokoll, 38 Sekunden
Episode Artwork

Top 10 ร้านของหวานที่ Bon Appétit หลงรักที่สุดประจำปี 2023 | Bon Appétit Special EP.02

สัปดาห์ก่อน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัวก็ได้รวบ Top 10 ร้านอาหารคาวมาให้แฟนๆ รายการและเหล่าคนรักอาหารการกินได้อิ่มหนำกันไปเรียบร้อย เมื่อคัลเจอร์การกินของบ้านเราคือกินคาวต้องกินหวาน บวกกับคำกล่าวโบราณเองก็ได้ว่าไว้ว่า ‘กินคาวไม่กินหวาน สันดานไพร่’ ก่อนบอกลาสัปดาห์สุดท้ายของปี และเจอกันใหม่ในปีหน้า Bon Appétit เลยรวบรวม Top 10 ร้านของหวานที่ Bon Appétit หลงรักที่สุดประจำปี 2023 มาให้เหล่าแฟนๆ รายการที่ติดตามกันมาได้ไปเติมความหวานวันหยุดยาว 
27.12.202323 Protokoll, 31 Sekunden
Episode Artwork

Top 10 ร้านอาหารคาวที่ Bon Appétit หลงรักที่สุดประจำปี 2023 | Bon Appétit Special EP.01

ในที่สุดเราก็เดินทางกันมาจนถึงช่วงสุดท้ายของปี ผ่านเรื่องราวและฝ่าฟันเหตุการณ์ต่างๆ มามากมาย โดยเฉพาะการพา Podcast Bon Appétit เดินทางมาถึงตอนที่ 80  . ในเดือนสุดท้ายของปี 2023 Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว จึงได้มัดรวม Top 10 ร้านของคาวที่ Bon Appétit หลงรักมาไว้ในพ็อดคาสต์ตอนนี้ เพื่อส่งมอบร้านอาหรคาวทั้ง 10 ร้านให้เหล่าแฟนๆ รายการที่ติดตามและอยู่ด้วยกันมาจนถึงสิ้นปี . Top 10 ร้านอาหารคาวที่ Bon Appétit หลงรักที่สุดประจำปี 2023 จะมีรายไหนบ้าง ตามไปฟังพร้อมกันที่ Bon Appétit Special EP.01 กันเลย
20.12.202336 Protokoll, 36 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับแอดมินเพจ Burger King แบรนด์เบอร์เกอร์ที่ใช้โลกโซเชียลฯ สร้างความเป็นเพื่อนกับลูกค้า | Bon Appétit EP.80

ถ้าจะพูดว่าการตลาดของเบอร์เกอร์คิง (Burger King) สร้างการรับรู้แก่ผู้คนหมู่มากได้อย่างดีคงไม่เกินจริง เพราะที่ผ่านมาเรามักจะได้เห็นแคมเปญการตลาดของเบอร์เกอร์คิงผ่านตามาให้ร้องว้าวกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญล่าสุดอย่าง The Real Cheese Burger ที่เปิดขายเบอร์เกอร์โคตรชีส จนเกิดไวรัลในโลกออนไลน์ หรือจะการทำการตลาดแบบ localize ด้วยการออกแคมเปญ ‘ไก่ทอดหาดใหญ่ ชิกเก้นคิง’ เพื่อให้ตอบโจทย์กับลูกค้าคนไทยรักการกินไก่ทอดหาดใหญ่  . ปัจจุบันไทยมีธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ดหลายเจ้าเข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น จึงแปลว่าแต่ละเจ้าก็ต้องหากลยุทธ์มามัดใจลูกค้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการจะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ในทุกหย่อมหญ้า แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ยากเกินไปสำหรับ Burger King แล้วแบรนด์เบอร์เกอร์สัญญาชาติอเมริกันแบรนด์นี้มีเบื้องหลังในการคิดแคมเปญการตลาดยังไงให้เป็นไวรัลได้เสมอ Podcast Bon Appétit ตอนนี้จึงได้ชวน ตุลย์-ชนินทร์ นาคะรัตนาก Digital Market บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด คิงมาแชร์สูตรลับในการทำการตลาดให้ปังครองใจคนไทยมาได้ยาวนานกว่า 23 ปี  
22.11.202351 Protokoll, 46 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ 'กาดโกโก้' แบรนด์คราฟต์โกโก้ที่ตั้งใจช่วยผลักดันให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้น | Bon Appétit EP.79

เวลาพูดถึงโกโก้ เราก็จะนึกถึงทวีปแอฟริกา ด้วยเป็นแหล่งผลิตและเป็นดินแดนอุตสาหกรรมโกโก้ที่ทั้งใหญ่ แพร่หลาย และเป็นที่รู้จักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีน้อยคนที่จะรู้ว่าประเทศไทยบ้านเราก็ปลูกโกโก้ได้เช่นเดียวกัน ถ้าเจาะลึกลงไปยังพื้นที่ปลูกโกโก้ของไทย จะเห็นว่าหลายๆ จังหวัดในไทยนั้นอุดมสมบูรณ์มากพอที่จะให้ต้นโกโก้หยั่งรากลึกได้ แถมโกโก้ของแต่ละพื้นที่ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างไม่เหมือนใคร . แม้จะไม่ได้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง แต่ก็มีหญิงสาวคนหนึ่งที่มองเห็นว่าช็อกโกแลตไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก เธอคนนั้นคือ ‘ต้า – ณัฐญา ชุณหสวัสดิกุล’ จากเดิมที่บังเอิญไปเจอที่ดินผืนหนึ่งในเชียงใหม่ และหวังให้ที่ดินผืนนั้นเป็นที่ปลูกบ้านและใช้ชีวิตหลังเกษียณ แต่ด้วยเวลาที่ยาวนานหลายปีกว่าจะเกษียณ แทนที่จะปล่อยที่ดินไว้ว่างเปล่า เธอจึงเกิดไอเดียวขึ้นมาว่าต้องปลูกอะไรสักอย่าง และสิ่งนั้นก็คือโกโก้ . ความตั้งใจแรกคือแค่อยากปลูกอะไรสักอย่าง กลายมาเป็นความอยากรู้อยากเห็นที่เพิ่มมากขึ้น ต้าจึงค่อยๆ ลองเรียนรู้และทำความรู้จักกับโกโก้ที่ละขั้นตอน ตั้งแต่ลองเปลี่ยนโกโก้ให้เป็นช็อกโกแลตด้วยสองมือ ลองปลูกต้นโกโกขึ้นบนที่ดินที่เชียงใหม่ กระทั่งค้นคว้าหาโกโก้รสชาติดีๆ จากพื้นที่ต่างๆ ของไทย เพื่อที่จะได้ลงลึกและรู้จักกับเจ้าพืชสีน้ำตาลตระกูลนี้ และในที่สุดเธอก็นำส่วนประกอบทั้งหมดที่มีปรุงรสออกมาเป็น Kad Kokoa แบรนด์คราฟต์โกโก้สัญชาติไทยที่สร้างชื่อเสียงไปไกลในระดับนานาชาติ  . เล่าผ่านตัวหนังสืออาจไม่สนุกเท่าการฟังต้าเล่าให้ฟังด้วยตัวเธอเอง Bon Appétit EP.79 ตอนนี้จึงอยากชวนทุกคนไปฟังเธอเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำ Kad Kokoa จนถึงความยากในการปลูกโกโก้ในไทย พร้อมสัมผัสรสาติในแต่ช่วงเวลาของทำแบรนด์ ตั้งแต่รสหวาน มัน ขม ไปจนถึงเปรี้ยว เพื่อให้ได้รู้ว่าจริงๆ แล้วโกโก้และช็อกโกแลตดีๆ ที่ประเทศไทยบ้านเราก็ทำได้ดีไม่แพ้ชาติอื่น ตามไปฟังกันเลย  #Capital #BonAppétit #KadKokoa
8.11.20231 Stunde, 3 Protokoll, 13 Sekunden
Episode Artwork

Gordon Ramsey จากความฝันที่จะเป็นนักฟุตบอลสู่เชฟเจ้าของอาณาจักรร้านอาหารที่ขยายสาขาไปทั่วโลก | Bon Appétit EP.78

เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีไม่น้อยเลยสำหรับวงการอาหาร เพราะปลายปีนี้ Gordon Ramsey (กอร์ดอน แรมซีย์) เซเลบริตี้เชฟชื่อดังจากอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าของอาณาจักรร้านอาหารที่ขยายสาขาไปทั่วโลก กำลังจะมาเปิดร้านอาหารแนวแคชชวลไดนิ่งและร้านพิซซ่าที่มาในคอนเซปต์ ‘pizza without rules’ ที่กรุงเทพฯ ณ Emsphere ศูนย์การค้าแห่งใหม่ของย่านพร้อมพงษ์  . ไม่ว่าจะเป็นคนที่อยู่ในวงการเชฟหรือไม่นั้น แต่ถ้าคุณหลงใหลในอาหารและชอบเรื่องราวหลังม่านครัว ชื่อของการ์ดอน แรมซีย์ต้องเคยผ่านหูผ่านตามาให้ได้เห็นได้ยินอยู่บ้าง หากไม่ใช่การเห็นกอร์ดอนจากคาแร็กเตอร์เชฟเถื่อนดิบโหดตามรายการอาหาร ก็คงเคยได้ยินชื่อเขาจากการเป็นเชฟผู้มีร้านอาหารมากมายหลายสาขาทั่วโลก . แม้ปัจจุบันกอร์ดอนจะมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่กว่าที่เขาจะเดินทางมาไกลได้เพียงนี้ก็ไม่ใช่เส้นทางที่ง่าย แถมการเป็นเชฟหรือการเข้ามาอยู่ในวงการอาหารก็ไม่ใช่ความฝันของเขาตั้งแต่แรก ความฝันในวัยเด็กของแรมซีย์แตกต่างจากสายงานครัวอย่างสิ้นเชิง ในวัยเยาว์เขาเคยฝันอยากเป็นนักฟุตบอล ก่อนจะพบกับความผิดหวังและเบนมายังเส้นทางสายอาหาร แม้ว่าการเป็นเชฟจะไม่ใช่ความฝันแรก แต่เขาก็นับว่าเป็นเชฟอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในวงการอาหาร . จากที่เล่าข้างต้นเป็นบางส่วนของเส้นทางชีวิตของกอร์ดอนเท่านั้น พ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.78 ตอนนี้ อยากขอชวนไปฟังเรื่องราวชีวิตของเขา ตั้งแต่เรื่องชีวิตวัยเด็กที่ไม่ได้กรุยมาด้วยดอกไม้ ความพยายามในการทำตามความฝันที่อยากเป็นนักฟุตบอล ไปจนถึงผจญเข้าไปในโลกหลังครัวผ่านเรื่องราวของกอร์ดอน ไปเต็มอิ่มกับรสชาติชีวิตของเชฟชื่อดัง ‘การ์ดอน แรมซีย์’ กันเลย
1.11.202318 Protokoll, 56 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ 'โจนส์ สลัด' ร้านสลัดที่พยายามทำให้การกินผักเป็นเรื่องง่ายและรสชาติเป็นมิตรกับคนไทย | Bon Appétit EP.77

เทรนด์อาหารสุขภาพเรียกได้ว่ามาแรงแซงทางโค้ง และมีหลากหลายแบรนด์ทั้งในไทยและต่างประเทศผุดขึ้นมาประชัดความเฮลตี้กันไม่หยุดหย่อย แม้ในตลาดอาหารสุขภาพจะมีผู้เล่นมากมายทั้งใหม่และเก่า แต่ถ้าหากพูดถึงร้านอาหารสุขภาพ มนุษย์สายเฮลตี้ก็ต้องนึกถึงชื่อของ ‘โจนส์ สลัด’ มาเป็นอันดับแรกๆ นอกจากจะเป็นร้านที่มีเมนูอาหารให้เลือกหลากหลาย ในด้านการทำการตลาดแบรนด์เองก็โดดเด่นและหลากกลยุทธ์ไม่น้อยไปกว่าใคร  . โจนส์ สลัด เกิดขึ้นมาจากการเป็นเพียงร้านเล็กๆ ที่จามจุรีสแควร์ โดยมี ‘กล้อง-อาริยะ คำภิโล’ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เขาได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตส่วนตัว หลังจากตรวจพบชิ้นเนื้อก็ได้เริ่มหันมารักสุขภาพและให้ความสำคัญกับเรื่องการกิน จนในที่สุดก็ค้นพบรสชาติน้ำสลัดที่อร่อยและเริ่มเปิดร้านด้วยเงินหนึ่งก้อนและต้นทุนความรู้ที่มี พร้อมพยายามทำการตลาดผ่านครีคอนเทนต์ เพื่อสื่อสารให้ผู้คนได้รู้ว่าการกินผักไม่ใช่เรื่องยาก และการสร้างสุขภาพที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ . จากร้านเล็กๆ ที่จามจุรีสแควร์กลายมาเป็นร้านโจนส์ สลัดขึ้นห้างเป็นมายังไง ใช่เพราะการทำการตลาดผ่านการครีเอตคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพหรือไม่ วิธีคิดและการบริหารธุรกิจแบบไหนที่ทำให้แบรนด์ยืนระยะมาได้ถึงขวบปีที่ 9 กลยุทธ์ใดที่โจนส์ สลัดใช้ในการทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักของสายสุขภาพและกลุ่มคนที่เริ่มอยากรักสุขภาพ ขอชวนไปฟังคำตอบของเขาพร้อมกันในพ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.77
25.10.20231 Stunde, 1 Minute, 13 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับทีมผู้ก่อตั้ง ‘เผ็ดมาร์ค’ ร้านที่อยากให้คนคิดถึง เมื่อนึกถึงเมนูผัดกะเพรา | Bon Appétit EP.76

ผัดกะเพราดูจะเป็นเมนูสามัญประจำมื้อของคนไทย ถ้าคิดไม่ออกว่าจะกินอะไร มื้อนั้นเราก็มักจะตัดจบด้วยผัดกะเพราละกัน แม้จะเป็นเมนูที่ง่ายกินมื้อไหนก็ได้ แต่ถ้าอยากกินกะเพราดีๆ สักจาน หนึ่งในร้านกะเพราที่หลายคนจะนึกถึงและพุ่งตรงไป คงมีชื่อของ ‘เผ็ดมาร์ค’ ผุดขึ้นมาในลิสต์แน่นอน  . เผ็ดมาร์คคือร้านอาหารที่กิตติเดช วิมลรัตน์ นักชิมและนักวิจารณ์อาหารชื่อดัง, พงศ์เทพ อนุรัตน์ นักชิม นักกิน และศิลปิน และมาร์ค วีนส์ ยูทูบเบอร์สายอาหารชื่อดังที่มีสโลแกนว่า ‘ไม่เผ็ดไม่กิน’ ร่วมกันปลุกปั้นขึ้นด้วยอยากยกระดับอาหารไทยอย่างผัดกะเพราที่เป็นเมนูธรรมดาๆ ให้พิเศษขึ้น พวกเขาจึงเริ่มต้นรีเสิร์ชผัดกะเพราะผ่านการตะเวนกินกะเพราจากทุกร้านที่ขึ้นชื่อ ก่อนจะพัฒนาสูตรจนออกมาเป็นเผ็ดมาร์ค ซึ่งไม่เพียงครองใจเหล่านักกินคนไทย เพราะอาหารของร้านแห่งนี้โด่งดังชนิดที่นักชิมต่างชาติแวะเวียนมาลิ้มรสความเผ็ด . ด้วยเมนูที่ขายนั้นแสนธรรมดา จึงน่าสนใจว่าเผ็ดมาร์คทำยังไงให้กะเพราและเมนูอาหารจานอื่นๆ เป็นที่รักของเหล่านักกิน อะไรทำให้ร้านกะเพราแห่งนี้ให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบของอาหาร ตั้งแต่การเลือกข้าวไปจนถึงการจัดจานที่ละเมียดละไม ทำไมแค่ผัดกะเพราเพียงหนึ่งจานต้องผ่านขั้นตอนของการรีเสิร์ชมากมาย ตามไปสนทนากับทีมผู้ก่อตั้งทั้งสามคนที่แล้วที่พ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.76 กันเลย
18.10.20231 Stunde, 4 Protokoll, 13 Sekunden
Episode Artwork

Mehran’s Steakhouse ร้านสเต๊กทิพย์ที่จำต้องเปิดขายคืนเดียวเพราะเพื่อนแกล้ง แต่มีคิวหลักพัน | Bon Appétit

ถ้าถามว่าเรื่องไหนทิพย์ที่สุดในปีนี้สำหรับวงการอาหารคงต้องยกให้เรื่องราวของ Mehran’s Steak House ร้านสเต๊กเฮาส์ทิพย์แห่งนิวยอร์กที่ไม่มีอยู่จริง มีเพียงชื่อและรีวิว 5 ดาวในกูเกิลแมปส์ที่ถูกสร้างขึ้นไว้เท่านั้น  . หลายคนคงสงสัยว่าถ้าเป็นร้านที่ไม่มีอยู่จริง แล้วทำไมถึงมีชื่อในกูเกิลแมปส์ และมีคนเข้าไปรีวิวชื่นชม?  . จุดเริ่มต้นของ Mehran’s Steak House มาจากการหยอกล้อของเหล่าเพื่อนที่รู้สึกพิเศษในรสมือของเพื่อนรักนักปรุงอาหารที่ชื่อ Mehran Jalali จึงได้ไปรีวิวฝีมือการทำสเต๊กของเพื่อนไว้บนกูเกิลแมปส์แล้วตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า Mehran’s Steak House . และหลังจากนั้นเรื่องราวความโกลาหลปนน่ารักก็เกิดขึ้น เมื่อผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา ณ ย่านอัปเปอร์อีสต์ไซด์เข้าใจผิดว่านี่คือร้านสเต๊กจริงจนอยากมาลิ้มรสชาติสเต๊กของเมห์รัน มีคนเดินมาเคาะประตูที่หน้าบ้านกันอย่างไม่ขาดสาย จนเพื่อนคนหนึ่งในบ้านที่เป็นไอทีอยู่แล้วก็นึกครึ้มขึ้นมาในใจว่า ลองมาเก็บสถิติกันดูหน่อยเป็นไรว่าจะมีคนอยากลองมากินสเต๊กของเมห์รันสักกี่คนกัน . สุดท้ายมีคนมาลงชื่อเกือบ 3,000 คน . เรื่องราวสุดโกลาหลจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ตามไปฟังเรื่องราวทั้งหมดจาก มณีเนตร วรชนะนันท์ พร้อมกันที่พ็อดแคสต์ Bon Appétit EP. 75 ตอนนี้
11.10.202312 Protokoll, 37 Sekunden
Episode Artwork

จากเคสสตาร์บัง เสือพ่นไฟ สู่ลูกไก่ทอง คุยกับ อาจารย์ดิว เรื่องกฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับร้านอาหาร | Bon Appétit EP.74

ช่วงเดือนที่ผ่านมา ในโลกโซเชียลได้มีประเด็นร้อนเกี่ยวกับการจดเครื่องหมายการค้า ซึ่งทำให้เรื่องของลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือทรัพย์สินทางปัญญากลับได้รับการพูดถึงกันอีกครั้งในวงกว้าง แต่อันที่จริงประเด็นที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมานั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีเหตุการณ์คล้ายกันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเคสของสตาร์บัง หรือจะเสือพ่นไฟ  . ประเด็นการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา หากมองในมิติข้อดีก็จะเห็นว่าเป็นวิธีที่จะคุ้มครองในความคิดสร้างสรรค์และป้องกันการลอกเลียนแบบได้ โดยเฉพาะสำหรับคนทำธุรกิจที่มีแบรนด์ของตัวเองและไม่ได้จดทะเบียนเพื่อปกป้องนวัตกรรมของตัวเอง คุณก็อาจกลายเป็นผู้เสียหายได้แบบไม่รู้ตัว . รายการพ็อดแคสต์ Bon Appétit ตอนนี้จึงได้ชวนอาจารย์ ‘ดิว’ -บุญยศิษย์ บุญโพธิ์ มาพูดคุยถึงเรื่องกฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องอาหาร ตั้งแต่เรื่องของลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ไปสิทธิบัตร เพื่อให้เหล่าร้านค้า ร้านอาหาร และผู้ประกอบการได้ศึกษาและเข้าใจถึงการจดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างลงลึก หากพร้อมแล้วตามไปฟังได้ใน Bon Appétit EP.74 กันเลย
4.10.202348 Protokoll, 30 Sekunden
Episode Artwork

ทำไมภาครัฐฝรั่งเศสถึงจ้างโรงงานผลิตไวน์ทำลายไวน์และจ้างเกษตรกรปลูกมะกอกแทนองุ่น | Bon Appétit EP.73

อาจกล่าวได้ว่า ไวน์คือเครื่องดื่มที่แทรกซึมอยู่ในทุกอารยธรรม ทุกดินแดนแห่งหน โดยเฉพาะดินแดนอย่างฝรั่งเศส ไวน์เป็นเสมือนเครื่องดื่มประจำชาติ เป็นของสามัญประจำบ้านและร้านอาหาร แถมคนฝรั่งเศสก็ไม่ดื่มเฉพาะวันเลี้ยงฉลองเท่านั้น แต่ดื่มไวน์กันทุกวัน จนไวน์ถือเป็นเครื่องดื่มกระแสหลักของชาวปารีเซียง . ไวน์ในฝรั่งเศสมีภาพอย่างที่เล่ามาข้างต้น จนเมื่อเดือนที่ผ่านมา ไวน์อันเป็นสินค้าสามัญประจำฝรั่งเศสเกิดสภาวะล้นตลาดและตัวเลขการดื่มไวน์เองก็ลดลง ส่งผลให้ราคาไวน์ในตลาดลดฮวบอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการซื้อและการผลิตที่ไม่สัมพันธ์กัน รัฐบาลฝรั่งเศสจึงทุ่มงบหลายล้านยูโรเพื่อทำลายไวน์ทิ้ง  . นอกจากต้องแก้ปัญหาไวน์ล้นตลาดด้วยการทำลายไวน์แล้ว ความต้องการไวน์ที่ลดลงยังส่งผลต่อเกษตรกรผู้ปลูกองุ่น รัฐบาลฝรั่งเศสทำวิธีไหนเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกร และเรื่องนี้เกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อและเศรษฐกิจโลกยังไง ตามมณีเนตร วรชนะนันท์ ไปหาคำตอบพร้อมกันในพ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.73 ตอนนี้
27.9.202311 Protokoll, 11 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ Khao-Sō-i บาร์ข้าวซอยเส้นสดจากเชียงใหม่ที่เติบใหญ่สู่กรุงเทพฯ และหวังให้ข้าวซอย Impact the world | Bon Appétit EP.72

เคยมีคำถามกันมั้ยว่าทำไมอาหารญี่ปุ่นถึงเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทำไมผู้คนที่แม้จะต่างภาษาแต่กลับจำชื่อเมนูของอาหารญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี เช่นกันกับ ‘วิน ศรีนวกุล’ ที่เป็นอีกหนึ่งคนที่มีคำถามนี้เกิดขึ้นในใจ ในขณะที่อาหารไทยเองก็มีดีไม่แพ้อาหารญี่ปุ่น แต่ทำไมเมนูอาหารไทยอย่างข้าวซอยกลับยังถูกจดจำในชื่อภาษาอังกฤษ และเป็นชื่อที่น้อยคนจะรู้จักชื่อของข้าวซอยจริงๆ  . จากความหลงใหลในกรรมวิธีและศาสตร์การปรุงของญี่ปุ่น ประกอบกับแพสชั่นที่อยากยกระดับอาหารไทยให้ดังไกลทั่วโลก วินจึงเริ่มทำร้าน Khao-Sō-i ขึ้น โดยตั้งใจปรับโฉมข้าวซอยเชียงใหม่ผ่านวิธีคิดแบบญี่ปุ่น เพื่อให้ข้าวซอยธรรมดาๆ กลายเป็นข้าวซอยแบบใหม่ที่แตกต่าง จึงได้ให้ความสำคัญกับเส้น โดยเส้นทุกเส้นของ Khao-Sō-i จะเป็นเส้นสดที่ผ่านการรีดมาอย่างดี ส่วนน้ำแกงข้าวซอยเองก็ยังพิถีพิถันกับการเคี่ยว ด้วยต้องการให้ได้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์  . จากเชียงใหม่ที่เติบใหญ่สู่กรุงเทพฯ มีเรื่องราวเป็นมายังไง อะไรทำให้วินมองเห็นโอกาสของอาหารไทยและอยากยกระดับให้ดังไกลทั่วโลก Podcast Bon Appétit EP.72 ตอนนี้ขอชวนไปพูดคุยกับเขาถึงที่มาที่ไปของร้าน Khao-Sō-i เจาะลึกถึงเบื้องหลังความหลงใหลในศาสตร์อาหารญี่ปุ่น ไปจนถึงตามหาวิธีคิดและกลยุทธ์การทำร้านข้าวซอยแห่งนี้ 
20.9.20231 Stunde, 27 Protokoll, 31 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘เชฟน้ำ’ แห่ง Ñam Ñam Pasta and Tapas ร้านที่มิกซ์พาสต้าเส้นสดให้แมตช์กับรสนานาชาติ | BonAppétit EP.71

ทุกครั้งที่ไปร้านอาหารอิตาเลียนและต้องสั่งเมนูพาสต้า ความสนุกอย่างหนึ่งคือการได้เลือกเส้นพาสต้า แม้จะมีคำแนะนำว่าเส้นไหนเข้ากับซอสอะไร แต่การได้มิกซ์แอนด์แมตช์เพื่อตามหาซอสและเส้นแบบใหม่ๆ ที่ถูกปากและถูกใจ ก็ยังให้ความรู้สึกตื่นเต้นและลุ้นถึงรสชาติที่จะได้อยู่เสมอๆ ยิ่งร้านไหนมีเส้นพาสต้าและซอสหลายๆ แบบ ก็ยิ่งสนุกเข้าไปใหญ่ หนึ่งในร้านพาสต้าที่ไปเยือนแล้วได้จอยกับการตามหารสชาติใหม่ๆ เสมอก็คือ Ñam Ñam Pasta and Tapas ร้านของ น้ำ–ปุณฑริก พงษ์พานิช นอกจากที่นี่จะเป็นร้านที่ทำพาสต้าเส้นสด ยังมีพาสต้าให้เลือกกว่า 10 ประเภท และมีซอสให้มิกซ์อีกกว่า 10 รสชาติ ทั้งยังเป็นรสชาติที่คัดสรรจากเมนูอาหารของนานาประเทศ เมื่อพาสต้าและซอสสูตรเฉพาะของร้านมารวมกัน ก็จะได้รสชาติที่แปลกใหม่และแตกต่างจากร้านพาสต้าอื่นๆ ซึ่งก็เข้ากับคอนเซปต์ร้านที่เธอบอกว่าเป็น universal cuisine หรือร้านที่ใช้พาสต้าเป็นหัวใจและปรุงแต่งด้วยสิ่งอื่นๆ ให้เกิดรสชาติใหม่ๆ  เบื้องหลังของ Ñam Ñam Pasta and Tapas เป็นมายังไงถึงได้กลายมาเป็นร้านพาสต้าเส้นสดขวัญใจ noodle lover ตามมณีเนตร วรชนะนันท์ ไปพูดคุยกับปุณฑริกถึงเรื่องราวทั้งหมด ตั้งแต่จุดเริ่มเต้นที่ทำให้เธอหลงใหลในการทำอาหาร เส้นทางชีวิตของอาชีพเชฟ ไปจนถึงการทำธุรกิจร้านอาหารอย่าง Ñam Ñam Pasta and Tapas ไปฟังพร้อมกันได้ที่พ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.71
13.9.20231 Stunde, 20 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ชมพู บุญรักษา ทายาทร้าน ‘สุจิตพร ขนมชั้นอร่อย’ ผู้อยากทำให้ขนมไทยแมสกว่าที่เคย

ใครที่ผ่านไปผ่านมาแถวโรงพยาบาลธนบุรีคงคุ้นเคยกับร้าน ‘สุจิตพร ขนมชั้นอร่อย’กันมาบ้าง นอกจากชื่อร้านที่สะดุดตา อ่านแล้วให้ความรู้สึกว่าคงต้องอร่อยแน่นอน ร้านขนมไทยแห่งนี้ยังยืนหนึ่งเรื่องขนมมากว่านานกว่า 30 ปี ซึ่งอายุที่ยาวนานแถมมาด้วยรสชาติที่อร่อยแม้กาลเวลาจะผ่านไป ก็ทำให้เป็นอีกหนึ่งร้านขนมไทยขวัญใจชาวย่านอีกด้วย  . สุจิตพร ขนมชั้นอร่อย คือร้านขนมไทยที่แรกเริ่มขายเพียงขนมชั้น ก่อนที่ต่อมาจะขยายขายขนมไทยอื่นๆ มากขึ้นจากคำเรียกร้อยของลูกค้า อาทิ ตะโก้ หม้อแกง อาลัวและเค้กต่างๆ และแม้ระยะหลังจะมีร้านขนมปัง เบเกอรี่ใหม่ๆ ผุดขึ้นมาในตลาดขนมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนมันกลายมาเป็นความท้าทายสำหรับคนทำธุรกิจขนมหวาน แต่ถึงอย่างนั้นสุจิตพร ขนมชั้นอร่อยก็ยังคงยืนระยะมาได้ จนปัจจุบันก็ได้เติบโตขึ้นและมีลูกค้าอยู่ทั่วทั้งกรุงเทพฯ  . กว่าร้านขนมชั้นเล็กๆ จะกลายมาเป็นร้านประจำย่านมีเรื่องราวเป็นมายังไง ขนมชั้นของที่นี่แตกต่างจากที่อื่นด้วยอะไร ทำไมหลายคนจึงหลงรักขนมของสุจิตพร และกลยุทธ์ใดที่ทำให้แบรนด์ยืนหนึ่งเรื่องขนมมาได้หลายสิบปี รายการ Podcast Bon Appétit ตอนนี้จะพาไปพูดคุยกับ ชมพู บุญรักษา ทายาทร้าน ‘สุจิตพร ขนมชั้นอร่อย’ ผู้อยากทำให้ขนมไทยแมสกว่าที่เคย ตามไปฟังกันได้เลย
7.9.20231 Stunde, 3 Protokoll, 37 Sekunden
Episode Artwork

การกินเนื้อวาฬของคนญี่ปุ่นเกี่ยวยังไงกับการแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ | Bon Appétit EP.69

ย้อนกลับไปช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังญี่ปุ่นโดนระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ และแพ้สงครามให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร นอกจากหายนะและความเสียหายที่เกิดขึ้น ในตอนนั้นเองก็ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับญี่ปุ่นทั้งด้านเศรษฐกิจ ทหาร และรัฐบาล และอีกด้านก็คือเรื่องอาหารการกิน  . เนื่องจากหลังจบสงคราม เมืองของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายอย่างมาก ทั้งเศรษฐกิจไม่ดี ที่นาทำกินต่างๆ ก็หายไปกับระเบิด ทำให้ญี่ปุ่นเกิดภาวะขาดแคลนอาหารในประเทศ จากปัญหานี้สหรัฐอเมริกาที่เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการญี่ปุ่น รวมถึงจัดการเรื่องอาหารการกิน จึงนำเนื้อวาฬมากินเพื่อประทังในช่วงเวลาแห่งความขาดแคลน เพราะตอนนั้นเนื้อวาฬแทบจะเป็นไม่กี่อย่างที่ช่วยเสริมสร้างโภชนาการทางอาหารได้ . มากไปกว่าเรื่องที่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คนญี่ปุ่นขาดแคลนสารอาหาร การกินเนื้อของคนญี่ปุ่นที่กลายมาเป็นวัฒนธรรมจวบจนปัจจุบันมีรายละเอียดอื่นๆ ยังไง ปีนึงคนญี่ปุ่นนำวาฬมาปรุงอาหารมากแค่ไหน เมนูไหนที่มักถูกนำไปปรุงรส ตาม มณีเนตร วรชนะนันท์ ไปย้อนประวัติศาสตร์การกินเนื้อวาฬของคนญี่ปุ่นกันในรายการ Bon Appétit EP.69 ตอนนี้
30.8.20239 Protokoll, 10 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘ฟาน อัครินทร์’ ผู้ลงลึกกับกาแฟ ตั้งแต่ทำไร่ที่เชียงดาว ไปจนบุกเบิกโรงคั่วกลางทองหล่อ และทำร้านชื่อ Coffeeology | Bon Appétit EP.68

ด้วยกาแฟเป็นศาสตร์ที่น่าหลงใหล ทั้งด้านเรื่องราว กลิ่นหอม กระทั่งสารพัดรสชาติที่ชวนให้ค้นหา ทำให้กาแฟเป็นสิ่งที่หลายคนมักตกหลุมรักเอาง่ายๆ ซึ่ง ‘ฟาน-อัครินทร์ ศิวพรพิทักษ์’ เองก็อีกคนที่ตกหลุมรักและหลงใหลในศาสตร์กาแฟเช่นกัน และเขาชนิดลงลึกเรื่องกาแฟด้วยการไปทำไร่ที่เชียงดาว บุกเบิกทำโรงคั่วที่ทองหล่อ มาจนถึงทำร้านกาแฟ Coffeeology ที่เป็นร้านขวัญใจคอกาแฟหลายๆ คน . ความหลงใหลในศาสตร์กาแฟมีที่มาที่ไปยังไง การไปทำไร่ที่เชียงดาวที่ต้องแลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกร และทำงานร่วมกับชาวไร่กาแฟนั้นมีเรื่องราวยังไง และในยุคที่มีธุรกิจคาเฟ่เกิดขึ้นใหม่ไม่หยุดหย่อน การกระโดดเข้ามาทำคาเฟ่มีความยากและท้าทายแค่ไหน Bon Appétit Podcast ตอนนี้จะพาไปคุยกับ ‘ฟาน อัครินทร์’ เพื่อลงลึกถึงเรื่องกาแฟและเบื้องหลังการเดินทางบนวงการกาแฟของเขา 
23.8.20231 Stunde, 22 Protokoll, 13 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ จิว-สรวิศ แห่ง MTCH ว่าด้วยการลงลึกและนำเสนอมัตฉะหลากสายพันธุ์ จนเป็นกลายมัตฉะบาร์ที่หลายคนหลงรัก | Bon Appétit EP.67

สำหรับใครที่ชื่นชอบมัตฉะคงมีชื่อของร้าน MTCH อยู่ในพื้นที่หัวใจ ไม่ก็เป็นลิสต์ร้านประจำกันอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะเป็นร้านที่ได้ชื่อว่ามัตฉะโคตรเข้มข้น ที่นี่ยังนำเสนอชาเขียวและมัตฉะหลากสายพันธ์ผ่านเมนูหลากหลายสไตล์ให้ได้เลือกลอง มีทั้งรูปแบบของพุดดิ้ง เครื่องดื่ม ไปจนถึงขนมและเค้ก ด้วยแบรนด์ตั้งใจให้คนได้สัมผัสอย่างลงลึกถึงรสชาติของมัตฉะ . MTCH คือร้านมัตฉะบาร์สุดพรีเมียมสัญชาติไทยที่เกิดขึ้นจาก จิว-สรวิศ พันธ์เกษม และ จ๊ะเอ๋-เชฐธิดา เนตรมุกดา หนุ่มสาวผู้ที่มีความหลงใหลในศาสตร์การดื่มเก่าแก่อย่างมัตฉะของญี่ปุ่น ก่อนจะเปลี่ยนแพสชั่นนั้นมาเป็นธุรกิจที่พวกเขาตั้งใจว่าอยากทำให้ศาสตร์เก่าแก่นี้ให้ดูร่วมสมัย เพื่อให้มันได้เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนได้  . จากแพสชั่นเปลี่ยนมาเป็นมัตฉะบาร์ในดวงใจของหลายๆ คนได้ยังไง อะไรที่ทำให้ MTCH มัดใจผู้คนได้อยู่หมัด Bon Appétit EP.67 ขอชวนไปสนทนากับ ‘จิว-สรวิศ พันธ์เกษม’ ถึงเรื่องราวเบื้องหลังทั้งหมดของแบรนด์และกลยุทธ์ของการทำแบรนด์มัตฉะบาร์ให้คนหลงรัก 
16.8.202352 Protokoll, 41 Sekunden
Episode Artwork

เบื้องหลังธุรกิจร้านอาหารในหนังที่มีปารีสเป็นฉาก ทั้ง Emily in Paris, Midnight in Paris, Julie & Julia l Bon Appétit EP.66

หนึ่งในเมืองที่เป็นฉากสำคัญของภาพยนตร์ในดวงใจใครหลายคนคือปารีส อาจด้วยเสน่ห์สุดพิเศษของเมือง สถาปัตยกรรมเก่าแก่งดงามที่กระจายอยู่ทั่วเมือง หรือหลายสถานที่ก็มีบรรยากาศเฉพาะตัวทั้งร้านค้า คาเฟ่ รวมถึงร้านอาหาร . Emily in Paris, Midnight in Paris และ Julie & Julia คือส่วนหนึ่งของหนังที่มีร้านอาหารในปารีสเป็นฉากหลัง Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว เลยขอชวนบินลัดฟ้าไปยังปารีสเพื่อรับฟังเบื้องหลังธุรกิจร้านอาหารที่ปรากฏในหนัง ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไร รับฟังได้ใน Bon Appetit EP.66
9.8.202319 Protokoll, 30 Sekunden
Episode Artwork

Piccolo Buco ร้านดังในโรมที่รวมวัตถุดิบที่ดีที่สุด ในทุกด้านมาไว้ในถาดพิซซ่า จนคนยอมต่อแถวรอเป็นชั่วโมง

ในโลกที่ไร้พรมแดน ถ้าอยากกินพิซซ่าต้นตำรับแท้ๆ ก็หากินได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปถึงอิตาลี แต่สุดท้ายการได้ไปนั่งกินพิซซ่าท่ามกลางบรรยากาศและตึกอาคารสไตล์โรมันก็ย่อมเต็มอิ่มกว่าอยู่ดี รายการพ็อดแคสต์ Bon Appétit ครั้งนี้เลยพาไปเยือนโรมและกินพิซซ่าอิตาลีแท้จาก Piccolo Buco พิซซ่าที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดเพราะคัดสรรวัตถุดิบที่ดีในทุกด้านมาไว้ในพิซซ่าถาดเดียว แถมยังเป็นร้านที่คนต่อแถวรอนานเป็นชั่วโมง  . ก่อนไปสัมผัสกับความอร่อยสุดพรีเมียมจาก Piccolo Buco เชอร์รี่–มณีเนตร วรชนะนันท์ จะพาไปรู้จักกับพิซซ่าแบรนด์นี้อย่างลงลึก ตั้งแต่ความลับของร้านที่เจ้าของไม่ใช่คนอิตาลีแต่เป็นแรงงานอพยพ ไปจนถึงจุดเริ่มต้นของร้านที่เริ่มมาจากการเป็นลูกจ้างผู้ใช้แรงงาน ก่อนผันตัวมาเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารอิตาเลียน
2.8.202313 Protokoll, 48 Sekunden
Episode Artwork

Cedric Grolet เชฟขนมที่ร้อนแรงที่สุดในปารีสเจ้าของฉายาเชฟขนมหวานที่ดีที่สุดในโลก l Bon Appétit EP.64

Cedric Grolet คือเจ้าของคอนเทนต์ทำขนมหวานที่เป็นที่รู้จักในโลกโซเชียล โดยมีผู้ติดตามบนอินสตาแกรม และ TikTok รวมๆ เกือบสิบล้านยูสเซอร์ แต่ก่อนจะมีโด่งดังในโลกออนไลน์ ชื่อเสียงของเขาคนนี้ก็ไม่ได้ธรรมดาอย่างที่คิด เพราะเขาคือคือผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น #เชฟขนมหวานที่ดีที่สุดในโลก และเป็นเจ้าของฉายาเจ้าพ่อขนมหวานแห่งปารีส  . ยอดนักอบขนมสู่อินฟลูเอนเซอร์ในโลกของโซเชียลมีเดียมีเส้นทางชีวิตและการทำงานยังไง เบื้องหลังคลิปทำขนมบนโลกออนไลน์ที่กลายเป็นความรื่นรมย์ให้กับคนเรือนล้านมีอะไรซ่อนอยู่ Podcast Bon Appétit ตอนนี้ขอพาไปชิมรสชาติชีวิตของราชาเชฟ Cedric Grolet ตั้งแต่ย้อนวัยเด็กดูความสัมพันธ์ของเขากับขนมหวาน และส่องเบื้องหลังเส้นทางการเป็นเชฟขนมที่กลายมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีคนติดตามทั่วโลก 
26.7.202314 Protokoll, 56 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับวิชิต ซ้ายเกล้า แห่ง Chitbeer ขบถผู้ลุกขึ้นสร้างทางเลือกในการดื่ม และสอนคนต้มเบียร์มาแล้วหลักพันคน I Bon Appétit EP. 63

“เมื่อไหร่ก็ตามที่คนไทยสามารถพึ่งพาตัวเองด้านความเมาได้ ประเทศนี้แม่งเปลี่ยน”  . ในประเทศประชาธิปไตยที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองด้านความเมาได้ และเบียร์ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ดื่มได้ ‘วิชิต ซ้ายเกล้า’ เจ้าของแบรนด์คราฟ์เบียร์ Chitbeer และเจ้าของร้าน Chit Hole จึงลุกขึ้นต่อสู้เพื่อให้การต้มเบียร์เปลี่ยนประเทศ เพราะหวังอยากให้คนไทยพึ่งพาตัวเองด้านความเมาได้และมีทางเลือกในการดื่มมากขึ้น  . การต่อสู้ของวิชิตเริ่มมาตั้งแต่ยังไม่มีพ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ทำมายาวนานกว่าสิบปี ถูกจับและปรับมาหลายหน ต้มเบียร์ทิ้งไปหลายสิบถัง และสอนคนธรรมดาให้ต้มเบียร์เป็นอีกหลายพันคน จนคนในวงการคราฟต์เบียร์ไทยยกย่องเขาเป็นดั่งครู และหากพูดชื่อเขาในวงการนี้ก็คงไม่มีใครไม่รู้จักชายผู้เป็นนักสู้ให้กับคราฟต์เบียร์ไทย . ในวาระที่มวลชนชาวไทยอยู่ในช่วงที่ต้องลุ้นว่าใครจะเป็นนายกคนใหม่ และมีหลายคนสงสัยว่า #สุราก้าวหน้า จะไปต่ออย่างไร ระหว่างเวลานี้ Bon Appetit Podcast EP.6 อยากชวนไปจิบเบียร์เย็นฉ่ำและฟังเบื้องหลังเส้นทางการต้มเบียร์เพื่อเปลี่ยนประเทศของ ‘วิชิต’ ผู้ที่บอกว่าเบียร์คือประชาธิปไตยที่แดกได้ 
19.7.20231 Stunde, 8 Protokoll, 5 Sekunden
Episode Artwork

สำรวจวัฒนธรรมบุฟเฟ่ต์ ตั้งแต่สแกนดิเนเวีย คาสิโนในลาสเวกัส จนถึงร้านหมูกระทะในไทย I Bon Appétit EP.62

วัฒนธรรมการกินบุฟเฟต์เข้ามาในไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ รู้ตัวอีกทีการกินบุฟเฟต์ก็กลายเป็นวิถีการกินของคนไทยเป็นคำที่เข้าใจตรงกันได้ว่าคือการกินได้ไม่อั้น และร้านอาหารไทยหลายๆ ร้านเองก็กลายเป็นแนวบุฟเฟต์ไปซะแล้ว  . ย้อนกลับไปในอดีต บางคนบอกว่าการกินแบบบุฟเฟต์มาจากอังกฤษในสมัยยุคศตวรรษที่ 18 บ้างบอกว่ามีจุดเริ่มต้นที่สวีเดนราวยุคศตวรรษที่ 16 แต่แม้จะผ่านมาหลายทศวรรษ แต่วัฒนธรรมการกินรูปแบบนี้กลับยังคงอยู่และส่งผลมาจนถึงการกินหมูกระทะของคนไทย  . บุฟเฟ่ต์คัลเจอร์เริ่มต้นมายังไง วัฒนธรรมการกินไม่อั้นที่เริ่มมาจากสแกนดิเนเวียน อังกฤษ กลายไปเป็นส่วนหนึ่งของคาสิโนในลาสเวกัส จนถึงหมูกระทะเมืองไทยมีเรื่องราวอะไรซ่อนอยู่ Bon Appétit Podcast EP.62 ตอนนี้จะพาย้อนอดีตไปหาคำตอบทั้งหมด
12.7.202310 Protokoll, 50 Sekunden
Episode Artwork

Le Creuset เครื่องครัวฝรั่งเศสที่อยากให้คุณจ่ายเงินแค่ครั้งเดียวแต่มีเครื่องครัวใช้ตลอดไป I Bon Appétit EP. 61

Le Creuset คือแบรนด์เครื่องครัวสัญชาติฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงและจำหน่ายในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เป็นเครื่องครัวเหล็กหล่อเคลือบคุณภาพสูง คุณสมบัติของภาชนะทุกชิ้นจึงแข็งแรง ทนทาน นำความร้อนได้ดี และเป็นเครื่องครัวที่ว่ากันว่าจ่ายเงินแค่ครั้งเดียวแต่มีเครื่องครัวใช้ได้ตลอดไป  . เครื่องครัวที่ดูธรรมดาแต่ไม่ธรรมดานี้พิเศษอย่างไร การผลิตเครื่องครัวมีกระบวนการแบบไหน ทำไมเป็นแบรนด์ที่จ่ายเงินครั้งเดียวแล้วจะมีเครื่องครัวใช้ตลอดไป และอะไรที่ทำให้เหล่าคนรักการทำครัวหมายปองเจ้าเครื่องครัวจากแบรนด์นี้ รายการ Bon Appétit EP.61 จะพาบินลัดฟ้าไปยังปารีสเพื่อไขคำตอบเบื้องหลังทั้งหมด ตามไปฟังกันเลย 
5.7.20238 Protokoll, 31 Sekunden
Episode Artwork

สตาร์บัคส์ปรับตัวยังไงในประเทศที่วัฒนธรรมการดื่มกาแฟเข้มแข็งอย่างอิตาลีและออสเตรเลีย I Bon Appétit EP. 60

‘Big fish eats little fish ปลาใหญ่กินปลาเล็ก’ . สำนวนที่บ่อยครั้งมักถูกนำมาใช้กับแวดวงธุรกิจ โดยเฉพาะกับบริบทของการแข่งขันระหว่างธุรกิจขนาดเล็กกับธุรกิจใหญ่ๆ และหลายๆ ครั้งผู้ค้ารายเล็กก็ต้องล้มหายและพ่ายแพ้ไป แต่สำหรับธุรกิจเกี่ยวกับอาหารการกินไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายและราบเรียบอย่างที่สำนวนว่าไว้ เพราะเรื่องอาหารนั้นสัมพันธ์กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของรสนิยมการกินอยู่ และเป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องเข้าใจทั้งวิธีคิดและวิธีกินของลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่หรือในประเทศ . หนึ่งในแบรนด์ของกินที่มีสาขากระจายไปทั่วโลก และการทำการตลาดก็ขึ้นอยู่กับความเฉพาะตัวของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ก็คือ ‘สตาร์บัคส์’ แบรนด์กาแฟสัญชาติอเมริกันที่มีสาขากระจายไปทั่วโลก แต่การจะขยายสาขาให้ได้กว้างขวางหรือทำแบรนด์ให้สามารถยืนระยะได้มาจนถึงปัจจุบันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะในบริบทของประเทศที่มีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟเข้มแข็งอย่างอิตาลีและออสเตรเลีย . ในขวบปีที่ 25 ของ Starbucks Thailand Podcast Bon Appetit ตอนนี้เลยอยากขอชวนไปหาคำตอบเกี่ยวกับการทำการตลาดของสตาบัคส์ในอิตาลีและออสเตรเลีย การจะประสบความสำเร็จในประเทศที่มีบริเฉพาะเช่นนี้ แบรนด์กาแฟระดับโลกแบรนด์นี้ทำยังไง  การตลาดที่ขึ้นอยู่วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ชีวิต จิตใจและลิ้นของคนท้องถิ่นต้องวางกลยุทธ์แบบไหน ไปฟังวิธีคิดเบื้องหลังพร้อมกันใน Bon Appétit EP. 60 ได้เลย
28.6.202314 Protokoll, 43 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับเชฟบิ๊ก แห่ง ‘อยากทำแต่ไม่อยากกิน’ ผู้พิสูจน์ตัวเองกับที่บ้าน จนมีธุรกิจร้านอาหาร และเป็น TOP CHEF Thailand 2023 I Bon Appétit EP.59

ใครที่ชื่นชอบในการกินและอาหารต้องไม่พลาดที่จะเคยได้เห็นเพจ ‘อยากทำแต่ไม่อยากกิน’ ผ่านมาที่หน้าฟีดโซเชียล และใครที่หลงรักอาหารฝรั่งเศสก็น่าจะเคยเก็บชื่อของ ‘อยากย่าง’ ร้าน Chef’s Table แนวบิสโตรเข้าไว้ในลิสต์เป็นแน่  . ผู้อยู่เบื้องหลังเพจอยากทำแต่ไม่อยากกินและร้านอาหารอยากย่างก็คือ เชฟบิิ๊ก-อรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล ที่ล่าสุดเพิ่งคว้ารางวัล TOP CHEF Thailand 2023 ไป นอกจากนี้ถ้าใครได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Hunger คนหิวเกมกระหาย ก็จะได้เห็นหน้าค่าตาเชฟบิ๊กเช่นกัน เรียกได้ว่าชายผู้นี้เป็นอีกคนที่โล่นแล่นอยู่ในวงการอาหารและคนที่โดดเด่นไม่น้อยสำหรับวงการนี้  . จุดเริ่มต้นในอาชีพเชฟของเชฟบิ๊กเป็นมายังไง รายการ Bon Appétit EP.59 จะพาย้อนไปวันวานไปยังวัยเด็กของเชฟบิ๊ก ไปเจาะลึกเบื้องหลังเส้นทางอาชีฟเชฟ และหาส่วนประกอบของเส้นทางชีวิตที่ปรุงรสให้เชฟบิ๊กกลายมาเป็นเชฟชื่อดังและ TOP CHEF Thailand 2023 ตามไปฟังกันได้เลย 
21.6.20231 Stunde, 18 Protokoll, 57 Sekunden
Episode Artwork

ใช้ดาต้ายังไงให้ธุรกิจร้านอาหารเติบโต หาคำตอบกับ ณัฐพล ม่วงทำ จาก ‘การตลาดวันละตอน’

การนำเอาข้อมูลหรือดาต้ามาใช้ในการทำธุรกิจร้านยำ After Yum ของ แต๋ง–กฤษฎ์กูล ชุมแก้ว กลายเป็นกระแสฮือฮาในโลกโซเชียลฯ ซึ่งเคสของ After Yum เป็นหนึ่งในกรณีตัวอย่างของร้านที่นำเอาดาต้ามาใช้ในการทำธุรกิจ . ซึ่งหนึ่งในผู้ที่พูดเรื่องการใช้ดาต้ามาวิเคราะห์ธุรกิจมาอย่างจริงจังและยาวนานคือ ‘ณัฐพล ม่วงทำ’ ผู้ก่อตั้งเพจ ‘การตลาดวันละตอน’  ที่นำเสนอความรู้เรื่องการตลาด โดยเฉพาะเรื่อง Data-Driven Marketing, Personalization, Social Listening และ Contextual Marketing  . รายการ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ วันนี้เราจึงชวนเขามาคุยถึงเรื่องการใช้ดาต้ากับธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ใครที่กำลังอินกับประเด็นนี้ขอชวนไปฟังกันได้เลย 
14.6.202354 Protokoll, 14 Sekunden
Episode Artwork

วัฒนธรรมการดื่ม ‘ไซเดอร์’ จากโลกตะวันตกถึงไทย ทำไมวันนี้ไซเดอร์จึงเป็นเครื่องดื่มที่น่าจับตา I Bon Appétit EP.57

ไซเดอร์เป็นเครื่องดื่มโบราณของชาวตะวันตกที่มักใช้แอปเปิลเป็นวัตถุดิบหลักและมีกรรมวิธีคล้ายการทำไวน์และเบียร์ เป็นเครื่องดื่มมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ให้ความรู้สึกสดชื่นซาบซ่าและอร่อยชื่นใจ ในอดีตผู้คนจึงนิยมดื่มไซเดอร์และนิยมใช้ไซเดอร์เป็นค่าจ้างแรงงานให้กับชาวไร่ชาวนาในอังกฤษ นอกจากแดนตะวันตก ระยะหลังมานี้ในไทยเองก็เริ่มนิยมของเครื่องดื่มไซเดอร์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน . แม้จะผ่านมาหลายพันปีแต่ไซเดอร์ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จึงน่าสนใจว่านอกจากรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ วัฒนธรรมการกินนี้มีความเป็นมายังไง ทำไมภูมิปัญญาเก่าแก่จึงสามารถสืบต่อมาหลายพันปี ย้อนประวัติศาสตร์ไปยังยุคแรกเริ่มของวัฒนธรรมการดื่มไซเดอร์พร้อมกันรายการ Bon Appétit EP.57 ตอนนี้
7.6.202311 Protokoll, 40 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ Guss Damn Good ไอศครีมที่ตั้งใจเล่าเรื่องราวและความรู้สึกผ่านไอศครีม I Bon Appétit EP.56

แม้จะเข้าสู่หน้าฝนแต่อากาศประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อนก็ยังคงมีช่วงให้ได้รู้สึกอยากทานไอศครีมกันต่อเนื่อง คราฟต์ไอศกรีม (Craft Ice Cream) เป็นหนึ่งในไอศครีมที่เริ่มเป็นที่นิยมในไทย และหนึ่งในแบรนด์ที่คนไทยตกหลุมโดยเฉพาะในความคิดสร้างสรรค์ด้านการตั้งชื่อไอศครีมและรสชาติที่แปลกไม่ซ้ำใครก็คือไอศครีมจาก Guss Damn Good  . Guss Damn Good คือคราฟต์ไอศครีมแบรนด์ไทยของ ระริน ธรรมวัฒนะ และ นที จรัสสุริยงค์ สองผู้ก่อตั้งที่ความบังเอิญนำพาพวกเขามาเจอกันในห้องเรียน และได้รู้จักกันจนในที่สุดก็ร่วมกันทำแบรนด์ไอศครีมฝีมือคนไทยขึ้น เรื่องราวที่อยู่หลังรสชาติไอศครีมทุกถ้วยจะสนุกแค่ไหน รายการ Bon Appetit Podcast EP.56 จะพาไปหาคำตอบ
1.6.20231 Stunde, 20 Protokoll, 22 Sekunden
Episode Artwork

อาหารที่สะท้อนตัวตนผู้นำทั่วโลก ตั้งแต่สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ จนถึงไทย I Bon Appétit EP.55

ว่ากันว่าอาหารจานโปรดคือสิ่งสะท้อนตัวตนของคนคนนั้น ทั้งอาจสะท้อนนิสัยส่วนตัว พื้นเพที่เป็นมา ฯลฯ . ท่ามกลางบรรยากาศการเมืองที่ไทยเรากำลังหวังจะมีผู้นำคนใหม่ คอลัมน์ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ จึงอยากชวนคุยถึงผู้นำทั่วโลกผ่านอาหารจานโปรด เพื่อไปดูว่าอาหารเมนูนั้นๆ สะท้อนถึงตัวตนของผู้นำทั่วโลกยังไง  . โจ ไบเดน, โดนัลด์ ทรัมป์ วลาดีเมียร์ ปูติน, เอ็มมานูเอล มาครง ควีนเอลิซาเบธ ไปจนถึงประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอาหารจานโปรดเป็นอะไร และอาหารเหล่านั้นบ่งบอกและแสดงตัวตนของเหล่าผู้นำประเทศนั้นยังไง หาคำตอบพร้อมกันในคอลัมน์ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ ได้เลย 
17.5.202318 Protokoll, 11 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ 'เชฟปาร์ค' นักแสดง Hunger ที่ตัวจริงเป็น Private chef และเจ้าของร้านอาหาร | Bon Appétit EP.54

หลังม่านครัวกระทั่งอาหารทุกจานที่เสิร์ฟให้ผู้คน คนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังเมนูอาหารมากมายก็คือผู้ที่ถูกเรียกว่า ‘เชฟ’ ทั้งทำหน้าที่บริหารจัดการงานครัวเลือกสรรวัตถุดิบ ไปจนถึงปรุงรสอาหารออกมาให้ลิ้มรส แต่การจะกลายมาเป็นเชฟหรือทำอาชีพเชฟได้นั้น นอกจากการหลงใหลและรักในการทำอาหารแล้ว ผู้ที่จะเป็นเชฟได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และเส้นทางอาชีพการเป็นเชฟนั้นต้องว่าด้วยเรื่องราวแบบไหน รายการ Bon Appétit EP.54 ตอนนี้ขอชวนไปพูดคุยกับ 'เชฟปาร์ค' ภัทรวิทย์ จันทร์ไทย หนึ่งในนักแสดงภาพยนตร์ Hunger ที่ชีวิตจริงเป็น Private chef และเจ้าของร้านอาหาร โดยจะคุยตั้งแต่จุดเริ่มต้นของความหลงใหลในการทำอาหาร เรื่องราวก่อนวัยมัธยที่ต้องค้นหาตัวเอง ไปจนถึงเส้นทางการก้าวเข้าสู่วงการอาชีพเชฟ ตามไปฟังพร้อมกันเลย
10.5.20231 Stunde, 26 Protokoll, 48 Sekunden
Episode Artwork

การตลาดและการปรับตัวของเครื่องปรุงรสไทยที่ส่งออกไปไกลจนติดท็อป 3 ของโลก | Bon Appétit EP.53

นอกจากอาหารไทยที่ใครๆ หลงรักแล้ว เครื่องปรุงรสของไทยก็ถูกใจชาวโลกไม่น้อย ถูกใจชนิดที่ว่ามูลค่าการส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยติดท็อป 3 ของโลกเลยทีเดียว . น้ำปลาหลากหลายยี่ห้อ ซอสหอยนางรมหลากหลายสูตร ซอสพริกไซส์จิ๋วพกพาง่าย ไปจนซีอิ๊วขาวโลว์โซเดียม คือผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสในท้องตลาดที่ผู้บริโภค แม่ค้า พ่อครัวสามารถเลือกสรรมาปรุงอาหารได้ ทำไมเครื่องปรุงรสของไทยจึงมีหลากหลายรูปแบบ อะไรทำใหมูลค่าการส่งออกเครื่องปรุงรสสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตัวเลขการส่งออกเครื่องปรุงรสในช่วงโควิดมาจนถึงตอนนี้เติบโตไปมากน้อยแค่ไหน ซอสและเครื่องปรุงนั้นนับเป็น Soft Power ของไทยได้หรือไม่ แล้วเจ้า Soft Power จะปรับตัวและการตลาดไปอย่างไรในสมรภูมิโลก มณีเนตร วรชนะนันท์ มีคำตอบให้ในรายการ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ EP.53 ตอนล่าสุดนี้แล้ว 
3.5.202313 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

ฉลองครบรอบ 1 ปี ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ รวม ‘ที่สุด’ ด้านต่างๆ ตลอดปีที่ผ่านมา | Bon Appétit EP.52

รายการ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’เดินทางกันมาครบ 1 ปีเรียบร้อย ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านเรื่องราวสนุกๆ มามากมาย ลัดเลาะเข้าครัวไปเจาะลึกเรื่องราวเบื้องหลังอาหารจานโปรดมาก็มาก ในโอกาสครบรอบ 1 ปี มณีเนตร วรชนะนันท์ Host ประจำรายการ จึงได้คัดสรรเรื่องราวอันเป็นที่สุดมาให้ทุกท่านได้ติดตาม . ตั้งแต่ร้านที่รู้สึกว่าการตลาดยอดเยี่ยมที่สุด, ร้านที่รักโลกที่สุด, ร้านที่ได้เหรอที่สุด, การสัมภาษณ์ยาวที่สุด, การสัมภาษณ์ที่เซอร์ไพรส์ที่สุด, การสัมภาษณ์ที่อิ่มที่สุด, การสัมภาษณ์ที่ตลกที่สุด, การสัมภาษณ์ที่ตื่นเต้นที่สุด และการสัมภาษณ์ที่สร้างแรงบันดาลใจมากที่สุด . ตามไปฟังความเป็น ‘ที่สุด’ พร้อมกันตอนนี้ Bon Appetit EP. 52 แล้วมาแชร์เรื่องราวและแบรนด์ร้านอาหารที่เป็นที่สุดของคุณในคอมเมนต์ได้เลย
26.4.202329 Protokoll, 53 Sekunden
Episode Artwork

% Arabica เชนกาแฟสัญชาติญี่ปุ่นทำยังไงถึงคงความคราฟต์ได้ในทุกแก้วแม้ขยายสาขาไปทั่วโลก | Bon Appétit EP.51

% Arabica คือเชนกาแฟสัญชาติญี่ปุ่นที่เพิ่งมีอายุเพียงแค่ 10 ปี แต่ขยายสาขาไปแล้วถึง 146 สาขา ใน 20 ประเทศทั่วโลก อะไรคือเหตุผลที่ทำให้กาแฟแบรนด์นี้เติบโตจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก นอกจากดีงามด้วยการตั้งใจคัดสรรกาแฟจากภูมิภาคที่ปลูกกาแฟที่ดีที่สุดในโลก ภายใต้การใส่ใจทุกรายละเอียดในขั้นตอนการชงกาแฟ สิ่งนี้หรือไม่ที่ทำให้กาแฟของ % Arabica คงรสชาติได้ทุกหยด ตามไปหาคำตอบในพ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.51 ได้เลย
19.4.202312 Protokoll, 10 Sekunden
Episode Artwork

Baskin Robbins แบรนด์ที่บุกเบิกการชิมก่อนซื้อและโมเดลแฟรนไชส์จนแพร่หลายไปทั่วโลก | Bon Appétit EP.50

ล่าสุด Baskin Robbins จำต้องปิดตัวในไทยเนื่องจากผลประกอบการที่ลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดย Baskin Robins คือแบรนด์ไอศครีมเก่าแก่ชื่อดังสัญชาติอเมริกันของเบอร์ตัน บาสกิ้น (Burton Baskin) และเออร์ไวน์ รอบบินส์ (Irvine Robbins) สองหนุ่มผู้หลงรักไอศครีมร่วมกันก่อตั้งขึ้น เพื่อให้เปิดเป็นร้านไอศครีมที่เป็นสถานที่พักผ่อนและรวบรวมรอยยิ้มของเพื่อนและครอบครัวเอาไว้ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1945 และเป็นที่จดจำผ่านการเป็นแบรนด์ไอศครีมที่มีรสชาติถึง 31 รสให้เลือกลิ้มลอง ปัจจุบันเป็นขวบปีที่ 78 ของแบรนด์ และเป็นแบรนด์ไอศครีมที่ขยายสาขาทั่วโลกได้แล้วถึง 8,000 แห่ง ตามไปรู้จักแบรนด์ไอศครีมจากแดนตะวันตกนี้พร้อมกันใน Bon Appétit EP. 50 ได้เลย 
13.4.202315 Protokoll, 20 Sekunden
Episode Artwork

Hawker Center กับการแก้ปัญหาผังเมืองและโรคระบาด จนสิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงสตรีทฟู้ดโลก | Bon Appétit EP.49

วัฒนธรรมอาหารริมทางหรือสตรีทฟู้ดนับเป็นวัฒนธรรมอันแสนพิเศษของชาวสิงคโปร์ เพราะนอกจากจะสะท้อนมรดกและความหลากหลายด้านอาหารการกิน สตรีทฟู้ดยังเป็นพื้นที่ที่ช่วยให้ชาวเมืองซื้อจ่ายอาหารได้ในราคาประหยัด แต่ด้วยปัญหาจากสตรีทฟู้ด ทั้งเรื่องกีดขวางการสัญจรบนทางเท้า ความไม่สะอาดและไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพของคนในเมือง รัฐสิงคโปร์จึงแก้ปัญหาสตรีทฟู้ดด้วยการจัดระเบียบพื้นที่ใหม่ โดยย้ายร้านแผงลอยและร้านอาหารริมทางทั้งหมดไปไว้ให้โครงการศูนย์อาหาร hawker center เบื้องหลังการเก็บรักษาวัฒนธรรมอาหารและการกินให้คงอยู่มีรายละเอียดยังไง ตามไปฟังในพ็อดแคสต์ Bon Appétit ตอนนี้ได้เลย
5.4.202320 Protokoll, 29 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ กัญจน์ ภักดีวิจิตร จากนักปิ้งไก่ในตำนานสู่คนขายไก่ย่างอังกอร์ | Bon Appétit EP.48

การปิ้งไก่ในละครของ ‘กอล์ฟ–กัญจน์ ภักดีวิจิตร’ จะไม่ใช่เพียงฉากในละครอีกต่อไป หลังจากกอล์ฟได้เปิด ‘ไก่ย่างในตำนาน ไก่ย่างอังกอร์’ เรียบร้อยแล้ว การลุกขึ้นมาขายไก่ย่างครั้งนี้เป็นมายังไง อะไรทำให้การเปิดร้านขายบนโลกออนไลน์โด่งดังจนเป็นไวรัล ตามไปคุยกับเขาพร้อมกันในรายการ Bon Appetit ธุรกิจรอบครัว EP.48 ตอนนี้
30.3.202341 Protokoll, 47 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘รวยไม่หยุดกรุ๊ป’ จาก nice two Meat u, ชานมเสือพ่นไฟ สู่ความฝันอยากเป็นที่หนึ่งในใจเรื่องร้านอาหารเกาหลี | Bon Appétit EP. 47

สองสามปีก่อนปิ้งย่างเกาหลีเรียกได้ว่าบูมอย่างมากในวัฒนธรรมการกินของคนไทย ทำให้มีร้านปิ้งย่างเกาหลีเกิดขึ้นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นก็คือ nice two Meat u ที่เป็นต้นตำรับปิ้งย่างเกาหลีแห่งแดนกิมจิ นอกจากนี้ยังมีกระแสความนิยมชานมไข่มุก โดยเสือพ่นไฟเรียกได้ว่าเป็นชานมที่ติดท็อปแบรนด์ยอดนิยมของตลาดชานม ซึ่งปิ้งย่าง nice two Meat u และชานมเสือพ่นไฟ ทั้งหมดเป็นร้านภายใต้บริษัท ‘รวยไม่หยุดกรุ๊ป’ ที่เป็นอาณาจักรร้านอาหารและเครื่องดื่มสไตล์เกาหลีของ ชุติมา เปรื่องเมธางกูร และ นันทนัช เอื้อศิริทรัพย์ แล้วสองสาวผู้อยู่เบื้องหลัง ‘รวยไม่หยุดกรุ๊ป’ มีเคล็ดลับการทำธุรกิจว่าด้วยแนวคิดใด ไปหาคำตอบพร้อมกันได้ใน Bon Appétit EP.47 ตอนนี้
22.3.20231 Stunde, 34 Protokoll, 10 Sekunden
Episode Artwork

Umeshu จากเหล้าบ๊วยที่เคยเป็นเครื่องดื่มแสนแพง สู่การเป็นเครื่องดื่มที่ดองเองได้ทุกบ้าน | Bon Appétit EP. 46

เข้าสู่ฤดูกาลบ๊วยออกผล วัฒธรรมหนึ่งที่มาพร้อมลูกบ๊วยจำนวนมหาศาลก็คือการดองเหล้าบ๊วย ก่อนจะไปเตรียมส่วนผสมลงโถ รายการ Bon Appétit ขอชวนไปฟังเรื่องราวของเหล้าบ๊วย ตั้งแต่อดีตที่เคยเป็นเครื่องดื่มราคาแสนแพงแห่งยุคเอโดะ มาจนถึงการเป็นเครื่องดื่มประจำบ้าน ที่บ้านทุกบ้านสามารถดองได้เอง หากพร้อมแล้วตามไปฟังใน Bon Appétit EP.44 ได้เลย 
15.3.202310 Protokoll, 21 Sekunden
Episode Artwork

‘ยาคูลท์’ แบรนด์ที่ใช้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ทำให้คนเปิดใจว่าจุลินทรีย์ดีต่อร่างกาย | Bon Appétit EP.45

ย้อนไปยุคเกือบร้อยปี การโฆษณานมสีครีม มีรสเปรี้ยว หรือที่เราเรียกว่ายาคูลท์ ด้วยการบอกว่าเจ้านมนี้จะช่วยให้สุขภาพของลำไส้แข็งแรง เพราะมันมีจุลินทรีย์หลายร้อยล้านตัว หลายคนก็อาจจะมีไม่เชื่อ ยาคูลท์ แบรนด์นมเปรี้ยวสัญชาติญี่ปุ่นจึงวางกลยุทธ์การตลาดในแบบที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการใช้โมเดลธุรกิจและการตลาดที่เรียกว่า ‘สาวยาคูลท์’ เพื่อกระจายสินค้าและเป็นสื่อกลางในการขายตรงให้แก่ลูกค้า ซึ่งทำให้ยาคูลท์ได้กลายเป็นสินค้าประจำบ้านและเป็นนมเปรี้ยวที่คนไทยนิยมดื่มมาจนถึงปัจจุบัน แต่กว่ายาคูลท์จะสามารถเป็นตัวกลางเชื่อมสัมพันธ์ของมนุษย์กับจุลินทรีย์ได้นั้น การเดินทางอันยาวนานนี้เป็นมายังไง ฟังพร้อมกันในรายการ Bon Appétit EP.45 ตอนนี้
8.3.202315 Protokoll, 8 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ 'โอ้กะจู๋' จากร้านขายผักและคาเฟ่ที่สันทราย สู่วันที่มีสาขามากมายทั้งกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ | Bon Appétit EP.44

โอ้กะจู๋ คือร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่เริ่มจากฝันของ โจ้–จิรายุทธ ภูวพูนผล และ อู๋-ชลากร เอกชัยพัฒนกุล เพื่อนคู่ซี้ที่ฝันอยากเป็นเกษตรกร และได้ร่วมกันลองทำสวนผักออร์แกนิกและเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพในชื่อ ‘โอ้กะจู๋’ จากร้านอาหารเพื่อสุขภาพเล็กๆ ในเชียงใหม่ กลายมาเป็นขวัญใจคนรักผัก กระทั่งครองใจคนไม่ชอบผักให้หันมาชอบผักได้ยังไง เรื่องราวการเดินทางของสวนผักและร้านแห่งนี้เป็นมาแบบไหน วิธีคิดไปจนถึงกลยุทธ์ใดมี่ทำให้แบรนด์เติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคง ตามไปฟังคำตอบของ โจ้–จิรายุทธ ภูวพูนผล, อู๋-ชลากร เอกชัยพัฒนกุล และ ต้อง-วรเดช สุชัยบุญศิริ สามหุ้นส่วนผู้ร่วมกันสร้างโอ้กะจู๋มา ได้ในรายการ Bon Appétit ตอนนี้ 
1.3.20231 Stunde, 1 Minute, 35 Sekunden
Episode Artwork

อิทธิพลของแบรนด์ยางรถยนต์ในธุรกิจร้านอาหาร เบื้องหลังและอีกด้านของ Michelin Guide | Bon Appétit EP.43

ถ้าร้านอาหารร้านไหนได้ติดดาวมิชลิน ไม่ทันได้ลองอาหารก็เป็นที่รู้กันว่าอาหารของร้านนั้นต้องรสชาติดี คุณภาพเป็นเลิศ ดาวมิชลินมาจากมิชลินไกด์ (Michelin Guide)–คู่มือการเดินทางของบริษัทยางรถยนต์มิชลิน โดยด้านในจะมีทั้งข้อมูลแผนที่ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม รวมถึงร้านอาหารขึ้นชื่อ แม้การสร้างมิชลินไกด์จะเป็นการตลาดที่มิชลินอยากให้คนออกเดินทางมากขึ้นเพื่อเพิ่มยอดขายยางรถยนต์ แต่สำหรับวงการร้านอาหารมันก็ส่งอิทธิพลเช่นกัน แล้วแบรนด์อะไหล่และยางรถยนต์มิชลินสร้างแรงกระเพื่อมต่อวงการร้านอาหารยังไง คู่มือการเดินทางมิชลินไกด์นั้นดีจนทำเอาร้านอาหารหลายร้านอยากได้ดาวจริงไหม ตามไปฟังเบื้องหลังและอีกด้านของมิชลินไกด์ที่รายการ Bon Appétit ตอนนี้ได้เลย
22.2.202317 Protokoll, 36 Sekunden
Episode Artwork

Noma ร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลกที่จะปิดตัวเพื่อความยั่งยืนในวงการร้านอาหาร | Bon Appetit EP.42

Noma ร้านอาหารที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลก, ได้รับ 3 ดาวมิชลินในปี 2021, ธีมหลักในการทำร้านด้วยแนวคิดแบบนอร์ดิก และเป็นร้านอาหารที่ใส่ใจกับขั้นตอนและวัตถุดิบของอาหารทุกจาน จากทั้งหมดที่ว่ามาทำให้ร้านอาหารแห่งนี้ได้รับการยกย่องว่าสามารถทำให้โคเปนเฮเกนกลายเป็นเมกกะแห่งวงการอาหาร ทำไมร้านอาหารแห่งนี้จึงได้ชื่อว่าดีที่สุด หลังจากเดินทางมายาวนานกว่าสองทศวรรษ​ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ Noma ประกาศปิดตัวเพื่อเริ่มต้นใหม่ การปรับจากร้านอาหารไปสู่เป็นห้องแล็บครัวที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ สร้างรสชาติใหม่ จะปฏิวัติวงการอาหารได้อย่างไร คำตอบอยู่ใน Bon Appetit EP.42 ตอนนี้
15.2.202321 Protokoll, 2 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ เฮียเหลา แห่ง ‘แสงชัยโภชนา’ ร้านข้าวต้มย่านสุขุมวิทที่รูปคนดังเต็มกำแพง I Bon Appetit EP.41

ร้านข้าวต้มริมทางนั้นมีอยู่ทั่วทุกที่ในเมือง แต่หนึ่งร้านข้าวต้มขึ้นชื่อของกรุงเทพฯ ที่เราจะลัดเลาะเข้าไปหลังครัววันนี้ก็คือ ‘แสงชัยโภชนา’ ของเฮียเหลา–สมชาย จิตรเจริญวิรกุล ร้านข้าวต้มประจำย่านเอกมัย-ทองหล่อและสุขุมวิท-พร้อมพงษ์ ที่เหล่าคนดังระดับซุปตาร์ไปจนถึงดาราน้องใหม่มักจะแวะเวียนมาลิ้มรสชาติอาหารของร้านข้าวต้มแห่งนี้ คนดังแวะเวียนมาเยอะขนาดที่ทำให้แสงชัยโภชนากลายเป็นร้านข้าวต้มย่านสุขุมวิทที่มีรูปคนดังเต็มกำแพง  ภาพถ่ายคู่คนดังมากมายหลายคนที่ติดอยู่บนกำแพงคล้ายจิตรกรรมฝาผนัง คือภาพถ่ายที่ไม่ได้ถ่ายในคราเดียว แต่เป็นภาพที่ค่อยๆ ถ่ายและเยอะขึ้นไปตามวันเวลาที่เดินไปข้างหน้า นอกจากจะบ่งบอกว่าเป็นร้านที่มีคนดังแวะเวียนมาเสมอ ภาพถ่ายเหล่านั้นยังบอกถึงการเดินทางที่ยาวนานของแสงชัยโภชนาอีกเช่นกัน จากภาพถ่ายใบแรกมาจนถึงใบปัจจุบันแสงชัยโภชนาเป็นมายังไง ตาม Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP.41 ไปฟังกันเลย
8.2.20231 Stunde, 5 Protokoll, 45 Sekunden
Episode Artwork

เบื้องหลังความสำเร็จของ Oatside แบรนด์นมโอ๊ตสตาร์ทอัพที่ระดมเงินทุนได้ 22 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ตอนเริ่ม | Bon Appétit EP. 40

Oatside คือแบรนด์นมข้าวโอ๊ตสัญชาติสิงคโปร์ที่ในตอนนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนไทยและร้านคาเฟ่ ความโดดเด่นของนมโอ๊ตแบรนด์นี้ นอกจากมีรสชาติกินง่าย เนื้อสัมผัสไม่กระด้าง และกลิ่นไม่ฉุนเหมือนนมอัลมอนด์ ตัวแพ็กเกจจิ้งเองก็โดดเด่นด้วยดีไซน์เก๋ทันสมัย จนใครๆ ต่างก็ประทับใจ และเป็นต้องซื้อตุนไว้ในตู้ เบื้องหลังความดีงามของ Oatside เป็นมายังไง แบรนด์ทำการตลาดและสื่อสารแบรนด์ยังไงจนแบรนด์เติบโต รายการ Bon Appétit ตอนนี้มีคำตอบ
11.1.202317 Protokoll, 13 Sekunden
Episode Artwork

อาร์เจนตินากับการจำกัดการส่งออกเนื้อ เพื่อให้ผู้รักเนื้อวัวไม่แพ้เมสซี่ไม่ต้องจ่ายแพง | Bon Appétit EP.39

อาร์เจนตินาเป็นดินแดนที่ขึ้นชื่อเรื่องเนื้อวัว นอกจากจะส่งออกเนื้อวัวเป็นอันดับที่ 5 ของโลก คนในประเทศเองยังหลงใหลการบริโภคเนื้อเป็นชีวิตจิตใจ จนกลายมาเป็นประเทศที่บริโภคเนื้อเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากออสเตรเลียและอเมริกา . กระทั่งระยะหลังตัวเลขการบริโภคเนื้อวัวของชาวอาร์เจนฯ ลดลง อันเป็นผลพวงจากปัญหาเศรษฐกิจ เนื่องจากประชากรในประเทศจนลง ขณะเดียวกันสินค้าและบริการกลับมาราคาสูงขึ้น เนื้อวัวเองก็ราคาสูงตาม เป็นผลให้ทางการต้องจำกัดการส่งออกเนื้อ 30 วัน เพื่อให้ชาวอาร์เจนฯ ผู้รักเนื้อวัวไม่แพ้ลิโอเนล เมสซี่ เข้าถึงเนื้อได้ในราคาไม่แพง
4.1.202315 Protokoll, 44 Sekunden
Episode Artwork

เมื่อวิธีทำบาแกตต์ถูกประกาศให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก แต่ธุรกิจขนมปังกำลังเสื่อมถอยและขายได้น้อยลงในฝรั่งเศส | Bon Appétit EP.38

ขนมปังบาแกตต์คือภูมิปัญญาและจิตวิญญาณของฝรั่งเศส เดือนที่ผ่านมายูเนสโกประกาศให้การทำ ‘บาแกตต์’ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (intangible cultural heritage) แต่ในความน่ายินดีกลับมีสถานการณ์ยากลำบากเกิดขึ้น เมื่อวิกฤตสงครามยูเครน-รัสเซียทำให้ธุรกิจขนมปังในฝรั่งเศสมีราคาสูง ซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ในฝรั่งเศสทำสงครามหั่นราคาบาแกตต์ลง ส่งผลกระทบกับผู้ค้ารายย่อย ทั้งนี้กลยุทธ์ของซูเปอร์มาร์เก็ตยังอาจอนุมานได้ว่า น่าจะมีการผ่อนปรนเรื่องคุณภาพและวัตถุดิบของบาแกตต์ และแน่นอนว่านั่นจะส่งผลกับคุณภาพของบาแกตต์และส่งผลให้ธุรกิจขนมปังเสื่อมถอยลงได้
21.12.202219 Protokoll, 11 Sekunden
Episode Artwork

ประเทศไทยกับการป้องกันแชมป์ส่งออกทุเรียนไปจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้ท้าชิงที่น่ากลัว | Bon Appétit EP. 37

การส่งออกทุเรียนไทยจะเป็นอย่างไรเมื่อจีนปรับนโยบายการนำเข้าทุเรียนใหม่ ด้วยเงื่อนไขที่ว่าต้องได้มาตรฐานและมีสุขอนามัยที่ดี มากไปกว่านั้นการส่งออกทุเรียนไทยยังมีประเด็นที่ค่อนข้างหน้ากังวล เมื่อเวียดนามลงนามระบุเงื่อนไขในการที่เวียดนามจะเป็นตลาดในการส่งออกทุเรียนอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวนำไปสู่ประตูในการส่งออกทุเรียนของเวียดนามไปยังจีน ไทยจะยังสามารถป้องกันแชมป์การเป็นเจ้าส่งออกทุเรียนได้หรือไม่ ไปหาคำตอบในรายการ Bon Appétit EP. 37 ตอนนี้ 
14.12.202213 Protokoll, 33 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับเพจ ‘แม่ เมนูนี้ทำไง’ ผู้ชายอ้อมค้อม ที่หาเรื่องคุยกับแม่โดยการทำคอนเทนต์ Bon Appétit | EP.36

‘แม่ เมนูนี้ทำไง’ คือเพจที่เป็นเสมือนห้องครัวเชื่อมสัมพันธ์ของ เค-คณิน พรรคติวงษ์ ลูกชายผู้ไม่สนิทกับแม่ แต่อยากกระชับความรักและลิ้มรสมือแม่ในทุกมื้ออาหาร จึงหาข้ออ้างเพื่อให้ได้คุยกันด้วยการขอสูตรกับวิธีทำกับข้าวจากแม่และยาย ห้องครัวความสัมพันธ์นี้เริ่มต้นมาอย่างไร ตัวไกลแต่ใจจะอบอุ่นอยู่ไหม ไปฟังเรื่องราวของเพจ ‘แม่ เมนูนี้ทำไง’ พร้อมกับที่รายการ Bon Appétit EP.36
8.12.20221 Stunde, 15 Protokoll, 1 Sekunde
Episode Artwork

คุยกับ ‘เจ๊จง’ แบรนด์ที่เริ่มจากข้าวหมูทอดกล่องละ 10 บาท สู่ร้านดังระดับประเทศ I Bon Appetit EP.35

‘หมูทอดเจ๊จง’ คือแบรนด์ที่ก่อตั้งโดย ‘เจ๊จง’ ผู้ยึดถือคติการทำงานที่ว่าต้องขยันและใส่ใจในลูกค้าจนปัจจุบันร้านหมูทอดเล็กๆ ที่เคยขายในราคากล่องละ 10 บาท กลายมาเป็นร้านที่มีถึง 11 สาขาทั่วกรุงเทพฯ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ จึงชวน ‘เจ๊จง–จงใจ กิจแสวง ผู้อยู่เบื้องหลังมาเล่าถึงรสชาติของธุรกิจร้านหมูทอดแห่งนี้
30.11.20221 Stunde, 25 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘จ่าอู หมูเกาหลี’ จากร้านในแฟลตกรมทหารฯ สู่สาขามากมายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด Bon Appétit | EP.34

 ‘จ่าอูหมูเกาหลี’ ร้านหมูกระทะชื่อดังท็อป 5 ของกรุงเทพฯ ที่มักได้รับการรีวิวอยู่เสมอๆ ว่ารสชาติดีงามไม่เป็นรองใคร นอกจากความดีงามที่ลูกค้าหรือเราๆ รู้เกี่ยวกับจ่าอูผ่านรสชาติของหมูย่างและน้ำจิ้มรสเด็ด น่าจะยังมีอีกหลายเรื่องราวให้สงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับร้านแห่งนี้ ไม่ว่าจะความสงสัยว่า ‘จ่าอูหมูเกาหลี’ มีเจ้าของร้านเป็นจ่าหรือไม่ ทำไมจึงเป็นร้านหมูกระทะที่เลือกขายเฉพาะ à la carte หรือจะเรื่องราวอีกมากที่ซ่อนอยู่ในเตาย่างหมูรสเลิศ Bon Appétit ตอนนี้จึงชวน ‘จิตราพร เหมาะดี' หัวเรือคนสำคัญที่บริหารจัดการจ่าอูปัจจุบัน มาตอบข้อสงสัยทั้งหมดและเล่าที่มาของร้านหมูกระทะแห่งนี้ให้ฟังกัน
23.11.202233 Protokoll, 18 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ Freddie RiceCurry ร้านที่รื้อสูตรแกงกะหรี่เดิมๆ เพื่อให้ถูกปากคนไทย Bon Appetit | EP.33

Freddie RiceCurry คือร้านข้าวแกงกะหรี่ฟิวชั่นสัญชาติไทย เป็นร้านที่มีเมนูข้าวแกงกะหรี่ที่ไม่เหมือนใคร เพราะได้มิกซ์ความเป็นญี่ปุ่นเข้ากับเมนูไทยๆ อย่างผัดกะเพรา หมูกรอบพริกเกลือ หมูผัดไข่เค็ม ฯลฯ ให้เข้ากันอย่างลงตัว นอกจากจะโดดเด่นเรื่องเมนูสุดครีเอตที่ถูกคิดมาอย่างดีเพื่อให้ถูกปากคนไทย การตลาดติดตลกโดยเฉพาะล้อเลียนตัวเองยังเป็นที่ติดอกติดใจของใครหลายคน ซึ่งหากบอกว่า Freddie RiceCurry คือร้านข้าวแกงกะหรี่ที่โคตรครีเอทีฟก็คงไม่ผิดนัก ตามไปฟังเรื่องราวทั้งหมดของ Freddie RiceCurry กับ ภัคพันธุ์ สมัครสมาน ผู้เป็นเจ้าของร้าน พร้อมกันที่รายการ Bon Appetit EP.33 ตอนนี้เลย
16.11.202243 Protokoll, 56 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ Copper Buffet ร้านที่ยอดเสิร์ฟซุปเห็ดทรัฟเฟิลมากกว่าน้ำเปล่าและคิวยาวเป็นเดือน Bon Appetit | EP.32

หลายคนรู้จัก ‘Copper Buffet’ ในฐานะร้านบุฟเฟต์ที่มาแรง และมีคนจองเต็มทุกรอบที่เปิด ซึ่งความพิเศษของร้านบุฟเฟต์แห่งนี้ นอกจากคัดสรรวัตถุดิบสุดพรีเมียมมาไว้ในที่เดียวกัน ยังมีอาหารจากหลากหลายสัญชาติให้เลือก แม้จะต้องรอคิวกันนานข้ามเดือน แต่ก็ยังมีคนเดินทางมาสัมผัสรสชาติของอาหารสุดพรีเมียมนี้อยู่ไม่ขาด น่าสนใจว่าอะไรทำให้ร้านบุฟเฟต์เกรดพรีเมียมแห่งนี้ยืนระยะมาได้กว่า 6 ปี และแม้จะเป็นร้านบุฟเฟต์ที่มีราคาที่สูง แต่ทำไมลูกค้ายังพร้อมที่จะจ่าย บางรายถึงขั้นเจาะจงขับรถมาจากต่างจังหวัดเพื่อจะได้ลองชิมอาหารจากคอปเปอร์สักครั้ง ชวนไปหาคำตอบเบื้องหลังการบริหารร้าน Copper Buffet กับ เกษมสันต์ สัตยารักษ์ General Manager ร้าน Copper Buffet ได้ในรายการ  Bon Appetit EP.32  ตอนนี้เลย
9.11.20221 Stunde, 30 Protokoll, 13 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ Molto ไอศครีมขายดีบนโลกออนไลน์ที่ยึดหลักดึงรสของวัตถุดิบให้ออกมาดีที่สุด Bon Appetit | EP.31

ใครที่ชื่นชอบไอศครีมคงไม่มีใครไม่รู้จักไอศครีมเจลาโตพรีเมียมชื่อ Molto เพราะนอกจากความหลากหลายของรสชาติที่มีกว่าร้อยรสให้เลือก ทุกๆ รสชาตินั้น Molto ยังยึดหลักการดึงรสของวัตถุดิบให้ออกมาดีที่สุด จนกลายเป็นไอศครีมที่ขายดิบขายดีบนโลกออนไลน์ จากความใส่ใจในรสชาติไอศครีม Bon Appetit EP.31 จึงชวน ธฤษณุ คมโนภาส เจ้าของร้าน Molto มาเล่าถึงเบื้องลึกเบื้องหลังของการทำร้านไอศครีมคราฟต์ ไปจนถึงพูดคุยเกี่ยวกับวิธีคิดในการทำแบรนด์ที่ประกอบรวมกันจนร้านไอศครีมแห่งนี้เติบโต
2.11.202242 Protokoll, 29 Sekunden
Episode Artwork

‘Pizzeria Bianco’ ร้านพิซซ่าของชายผู้เรียนไม่จบที่ได้รับการยกย่องว่าอบพิซซ่าได้ดีที่สุดในโลก Bon Appetit | EP.30

‘Pizzeria Bianco’ ร้านพิซซ่าของคริส บิอังโก (Chris Bianco) ชายชาวอิตาลีที่เกิดและเติบโตในนิวยอร์ก ผู้ที่เรียนไม่จบแต่ประสบความสำเร็จในการทำร้านพิซซ่า และได้รับการยกย่องว่าอบพิซซ่าได้ดีที่สุดในโลก ซึ่งกว่าคริสจะประสบความสำเร็จได้นั้น เส้นทางชีวิตและวัยเด็กของเขาไม่ได้ราบรื่นหรือโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่เป็นการเริ่มมาจากจุดเล็กๆ อย่างการเป็นลูกจ้างร้านพิซซ่า โดยทำหน้าที่แบกกระสอบแป้งจากชั้นใต้ดินเอาไปส่งให้พ่อครัว เป็นคนขูดชีสมอซซาเรลลา ก่อนจะมีร้านพิซซ่าเป็นของตัวเอง และมีคนดังแวะเวียนมาลิ้มรสชาติพิซซ่าของเขา รู้จัก ‘คริส บิอังโก’ ให้มากขึ้นใน Bon Appetit EP.30
26.10.202222 Protokoll, 17 Sekunden
Episode Artwork

ทำไมจึงเกิดวิกฤตกิมจิในเกาหลีใต้ ดินแดนที่มีคนเปรียบว่า "กิมจิก็เหมือนกับอากาศ" I Bon Appetit EP.29

จากปัญหาโลกร้อน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ผักกาดปลูกไม่ขึ้น เกษตรกรหันไปปลูกแอปเปิล จนถึงการเจอคู่แข่งทางการค้า (กิมจิ) ที่สามารถผลิตกิมจิในราคาที่ถูกกว่าอย่างจีน ส่งผลให้เกาหลีใต้ตกอยู่ในห้วงเวลาที่เรียกว่า Kimchi Crisis หรือวิกฤตกิมจิ ที่ในคราวนี้รัฐบาลเกาหลีต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และในวิกฤตที่เป็นปัญหาระดับชาติ รัฐบาลเกาหลีแก้ปัญหายังไง ฟังคำตอบได้ใน Bon Appetit EP.29
19.10.202216 Protokoll, 27 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ 'สุรเวช เตลาน' ผู้นำเข้า MOMO Paradise และใช้เวลา 360 วันแรกบริการลูกค้าด้วยตัวเอง BonAppétit | EP.28

สำหรับคนที่ชื่นชอบชาบูหรือสุกี้สไตล์ญี่ปุ่นคงรู้จัก MOMO Paradise  เป็นอย่างดี ร้านชาบู-สุกี้ที่อิมพอร์ตมาจากแดนอาทิตย์อุทัยนี้ขึ้นชื่อทั้งเรื่องวัตถุดิบที่ผ่านการจัดสรรอย่างเอาใจใส่ ไปจนถึงบริการที่อบอุ่นจากพนักงานทุกๆ คน แต่ยังมีอีกหลายเรื่องราวที่เหล่าคนรักชาบูอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับโมโมพาราไดซ์ Bon Appetit EP.28 จึงชวน เอ - สุรเวช เตลาน มาเล่าถึงที่มาที่ไปไล่ตั้งแต่เบื้องหลังการติดต่อเจ้าของแบรนด์เพื่อนำเข้าโมโมพาราไดซ์มายังไทย ไปจนถึงการบริหารกิจการให้ดำเนินมากว่าสิบปี จนขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพฯ และกลายเป็นร้านที่เป็นที่รักของผู้คน
12.10.20221 Stunde, 6 Protokoll, 28 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘ปลา อัจฉรา’ ถึงวิธีคิดในการทำร้านให้คนรักตั้งแต่ร้านแรกจนถึง FRAN'S และ อันเกิม-อันก๋า BonAppétit | EP.27

หลายคนรู้จัก ปลา-อัจฉรา บุรารักษ์ หรือที่หลายคนคุ้นกันในนาม ‘ปลา iberry’ และคงรู้จักกับข้าว-กับปลา, รสนิยม, เจริญแกง และอีกหลายร้านในเครือ iberry Group รวมถึง 2 ร้านล่าสุดอย่าง FRAN'S และ อันเกิม-อันก๋า ที่ล้วนแล้วแต่เป็นที่รักของนักชิม Bon Appetit EP.27 จึงชวน ปลา-อัจฉรา แห่ง iberry Group มาเล่าถึงวิธีคิดในการทำธุรกิจโดยเจาะลึกไปถึงเบื้องหลังของ FRAN'S และ อันเกิม-อันก๋า ว่าอะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้ทุกแบรนด์ภายใต้การบริหารของเธอมัดใจผู้คนได้เสมอมา
5.10.20221 Stunde, 16 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ 'เถียงนา' จากคาเฟ่เล็กๆ ในจังหวัดตากจนมีสาขาที่สุขุมวิท และคนต่อคิวซื้อครัวซองต์ตั้งแต่วันแรก BonAppétit | EP.26

เถียงนา คือคาเฟ่เล็กๆ ในจังหวัดตากที่สร้างขึ้นในที่ดินของครอบครัวที่เป็นร้านสังฆภัณฑ์ ที่เริ่มมาจากความฝันของสองพี่น้องอย่าง มุทิตา - วันศีล จันทร์อินทร์ ที่อยากกลับบ้านเกิดไปเปิดคาเฟ่เล็กๆ มาวันนี้กิจการของทั้งสองเติบโตจนขยายสาขามาเปิดร้านขนมอบอย่าง ‘เถียงนา Viennoiserie’ ที่ย่านสุขุมวิทและมีคนมาต่อคิวซื้อยาวเหยียดตั้งแต่วันแรก เส้นทางที่ผ่านมาของเถียงนานั้นเต็มไปด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจและไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ พวกเขาดำเนินธุรกิจอย่างไร ผ่านอุปสรรคอะไรมาบ้าง และอะไรคือเหตุผลที่ทำให้ร้านเติบโตมาจนวันนี้ Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว ตอนนี้จะพาไปหาคำตอบ
28.9.20221 Stunde, 17 Protokoll, 59 Sekunden
Episode Artwork

‘Café Joyeux’ คาเฟ่แห่งความสุขจากฝรั่งเศสที่ขับเคลื่อนโดยคนที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา | Bon Appétit EP.25

CaféJoyeux คือคาเฟ่สัญชาติฝรั่งเศสที่มีพนักงานเป็นคนที่มีภาวะออทิสติกสเปกตรัมและดาวน์ซินโดรม หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา แต่คนกลุ่มนี้สามารถสร้างความสุขในการเป็นทั้งพนักงานเสิร์ฟ กุ๊ก บาริสต้าให้กับผู้คนที่มาใช้บริการร้านคาเฟ่ได้ พร้อมกันกำไรจของธุรกิจร้านคาเฟ่แห่งนี้ 100% จะถูกลงทุนต่อเพื่อเปิดคาเฟ่สาขาใหม่ไปเรื่อยๆ ไปรู้จักกับคาเฟ่แห่งความสุขได้พร้อมกันใน Bon Appétit EP.25
21.9.202213 Protokoll, 21 Sekunden
Episode Artwork

‘Red Lobster’ ทำยังไงจึงเติบโตจากร้านซีฟู้ดในฟลอริด้า จนขยายสาขามาไทย และบียอนเซ่ยังพูดถึงในบทเพลง | Bon Appétit EP.24

Red Lobster คือแบรนด์ร้านอาหารทะเลสัญชาติอเมริกันที่คนรักซีฟู้ดใฝ่ฝันอยากไปกินสักครั้ง นอกจากสารพัดเมนูเกรดพรีเมียมที่ผ่านการปรุงอย่างตั้งใจให้เราได้อิ่มอร่อยกันแบบไม่จำกัดเวลาแล้ว ยังมีอะไรอีกที่อยู่เบื้องหลังการทำธุรกิจอาหารและพาพวกเขาก้าวผ่านศึกทะเลเดือด จนสามารถยืนระยะในใจนักชิมมาได้นานถึง 54 ปี ไปหาคำตอบพร้อมกันได้ใน Bon Appétit EP.24
14.9.202224 Protokoll, 20 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘ABC Cooking Studio’ จากร้านขายถ้วยชาม สู่สตูดิโอสอนทำอาหารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ที่เชื่อในการส่งต่อความสุขผ่านมื้ออาหาร | Bon Appétit EP.23

ABC Cooking Studio คือสตูดิโอสอนทำขนมและอาหารสไตล์ญี่ปุ่น ที่คนรักและสนใจการทำอาหารต่างใฝ่ฝันอยากร่วมคลาสสักครั้ง นอกจากบรรยากาศและหลักสูตรที่จะทำให้ผู้เรียนได้เพลิดเพลินไปกับอาหารนับร้อยเมนู ยังมีอะไรอีกที่ทำให้สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยไอเดียและแรงบันดาลใจให้คนได้ส่งต่อความสุขผ่านมื้ออาหาร ไปหาคำตอบพร้อมกันได้ใน Bon Appétit EP.23
7.9.202246 Protokoll, 20 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ สุรนาม พานิชการ จากความรักในรสชาติน้ำเต้าหู้รถเข็น สู่ผู้ก่อตั้ง Tofusan แบรนด์นมถั่วเหลืองที่วางขายทั่วประเทศ | Bon Appétit EP.22

‘Tofusan’ แบรนด์น้ำเต้าหู้พร้อมดื่มที่ครองใจคนรักสุขภาพ ไม่เพียงแต่การปรับโฉมให้อยู่ในรูปแบบขวดดื่มง่ายและหลายรสชาติ แต่ยังใส่ใจกับทุกขั้นตอนของการผลิตจนได้คุณภาพและรสชาติแบบน้ำเต้าหู้ที่คุ้นเคย เบื้องหลังแนวคิดการทำธุรกิจให้เติบโตอย่างแข็งแรงจนสามารถวางขายทั่วประเทศได้คืออะไร Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว ตอนนี้จะพาไปหาคำตอบ
31.8.20221 Stunde, 33 Protokoll, 22 Sekunden
Episode Artwork

‘Mirai Shokudo’ ร้านอาหารแห่งอนาคต ที่ให้คุณใช้เวลาจ่ายค่าอาหารได้ และเสิร์ฟเพียงวันละหนึ่งเมนู | Bon Appétit EP.21

ไอเดียการใช้เวลาจ่ายแทนเงินตราไม่ได้อยู่แค่ในหนังอีกต่อไป เพราะตอนนี้มันเกิดขึ้นจริงแล้วที่ร้านมิไร โชคุโด (Mirai Shokudo) ในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ร้านที่ให้คนมาทำงานในร้าน 50 นาทีเพื่อแลกกับค่าอาหาร 1 มื้อ แต่ไอเดียนี้จะเพียงพอสำหรับดึงดูดลูกค้าและช่วยให้ธุรกิจยืนระยะได้หรือไม่ ไปหาคำตอบพร้อมฟังเรื่องราวที่อิ่มกายและใจได้ใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว ตอนนี้ได้เลย
24.8.202220 Protokoll, 33 Sekunden
Episode Artwork

Heinz แบรนด์ซอสมะเขือเทศที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์โดยการใช้แคมเปญสุดครีเอทีฟ | Bon Appétit EP.20

แคมเปญ ‘เฟรนช์ฟรายส์รูปทรงช้อน’ สำหรับตักซอสเต็มๆ คำ คือหนึ่งในตัวอย่างของการตลาดสุดว้าวของ ‘ไฮนซ์ (Heinz)’ แบรนด์ซอสมะเขือเทศอายุกว่าร้อยปี ที่มีจุดเด่นอยู่ที่การปรับตัวเข้ากับไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมายอย่างครีเอทีฟ 2 สิ่งนี้มีส่วนสำคัญให้ไฮนซ์ยืนหนึ่งในใจคนรักซอสมะเขือเทศได้ยังไง ไปหาคำตอบใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว ตอนนี้ได้เลย
17.8.202218 Protokoll, 9 Sekunden
Episode Artwork

ทำไมแบรด พิตต์ ชอบกินอาหารในฉากภาพยนตร์ | Bon Appétit EP.19

แบรด พิตต์ (Brad Pitt) นักแสดงรูปงามที่เป็นขวัญใจคนทั่วโลก นอกเหนือจากทักษะการแสดงแล้ว สกิลการกินอาหารในฉากต่างๆ อย่างออกรส จนมีการรวบรวมซีนเหล่านั้นเป็นวิดีโอความยาว 16 นาที มีผู้เข้าชมแล้วถึง 1.6 ล้านครั้ง การกินอาหารในฉากสำคัญกับเขายังไง และทำไมเรื่องนี้จึงกลายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แฟนๆ ทั่วโลกนึกถึงเมื่อได้ยินชื่อเขา ไปหาคำตอบพร้อมกันใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP.19
10.8.202214 Protokoll, 59 Sekunden
Episode Artwork

ทำไม ‘ร้านติ่มซำ’ จึงมีส่วนสำคัญในการทำให้ยอดผู้ฉีดวัคซีนในฮ่องกงเพิ่มขึ้น | Bon Appétit EP.18

ฮ่องกงคือหนึ่งพื้นที่ที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก อีกทั้งความกังวลของประชาชนโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีต่อวัคซีนว่าจะปลอดภัยเพียงใด ทำให้ฮ่องกงมีตัวเลขผู้ได้รับวัคซีนน้อยนิด แต่สิ่งที่เกือบเป็นวิกฤตถูกทำให้เปลี่ยนไปได้เพราะ ‘ติ่มซำ’ เมนูนี้มีส่วนทำให้ยอดผู้ฉีดวัคซีนในฮ่องกงเพิ่มขึ้นได้ยังไง คำตอบรออยู่แล้วใน ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ ตอนนี้
4.8.202222 Protokoll, 44 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘โต-ตาล’ แห่งร้านเนื้อแท้ ถึงวิธีคิด ความฝัน และการทำการตลาดออนไลน์จนเป็นไวรัล | Bon Appétit EP.17

‘เนื้อแท้’ แบรนด์ที่มีจุดแข็งไม่ใช่แค่คุณภาพและรสชาติอาหาร แต่ยังเด่นเรื่องการตลาดออนไลน์ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ จึงชวน ‘โต-ตาล’ ผู้อยู่เบื้องหลังมาเล่าถึงรสชาติความผิดพลาดที่ได้เรียนรู้ และความสำเร็จที่ได้ลิ้มลอง
27.7.20221 Stunde, 10 Protokoll, 7 Sekunden
Episode Artwork

ทำไมวันนี้อาหารลาวจึงเริ่มก้าวขึ้นมาป๊อปปูลาร์ในสหรัฐอเมริกา | Bon Appétit EP.16

อาหารลาวรสชาติความแซ่บแบบนวลนัวจากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง กำลังได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา จากที่เคยเป็นเพียงเมนูลับที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้ร้านอาหารไทย อะไรเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้อเมริกันชนเปิดใจรับอีกหนึ่งตัวเลือกความอร่อย และทำให้อาหารลาวค่อยๆ ถูกเสิร์ฟออกไปแบบไม่ต้องหลบซ่อน ติดตามใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP.16
20.7.202213 Protokoll, 29 Sekunden
Episode Artwork

ทำไม ‘ตู้กดซาชิมิอัตโนมัติ’ ในญี่ปุ่นจึงสำเร็จ ทั้งที่มีสุดยอดร้านอาหารมากมาย | Bon Appétit EP.15

‘ตู้กดซาชิมิอัตโนมัติ’ นวัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคปลาดิบ ให้สามารถรับประทานซาชิมิได้สะดวกมากขึ้นภายใต้มาตรการทางสังคมที่จำกัด ไม่เพียงแค่เสิร์ฟเมนูซาชิมิสดใหม่ให้ได้อิ่มอร่อยในราคาสบายกระเป๋า ยังถูกออกแบบมาเพื่อพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง นับเป็นการปรับตัวอันชาญฉลาดของคนญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จจนน่าทึ่ง พวกเขาทำได้ยังไงติดตามได้ใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP.15
13.7.202213 Protokoll, 31 Sekunden
Episode Artwork

หลังแมคโดนัลด์ในรัสเซียปิดตัว แล้วเกิดแบรนด์ใหม่ชื่อ ‘Vkusno & tochka’ มีอะไรที่เปลี่ยนไปและคงเดิม | Bon Appétit EP14

ทันทีที่รัสเซียเริ่มเดินหน้าปฏิบัติการรบพิเศษในยูเครน ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของผู้คนทั้งสองประเทศก็เกิดขึ้นในทันใด หลายชีวิตสูญเสีย เศรษฐกิจเสียหาย แบรนด์สินค้าและบริการต่างก็ตอบโต้ด้วยการพากันถอนตัวออกจากรัสเซียแทบหมดสิ้น หนึ่งในนั้นคือแมคโดนัลด์ที่ขานรับมาตรการคว่ำบาตรด้วยการประกาศขาย 850 สาขาให้กับมหาเศรษฐีอย่าง อเล็กซานเดอร์ นิโกลาเอวิช โกเวอร์ และเปิดตัวแบรนด์ Vkusno & tochka เพื่อเข้ามาดำเนินธุรกิจแทนในทันที พวกเขาจะทำอย่างไรเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเสิร์ฟรสชาติอาหารอเมริกันให้ถูกปากคนรัสเซียแบบเดียวกับที่แมคโดนัลด์ทำมาตลอด 32 ปี ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ ตอนนี้จะพาไปพบกับคำตอบ
6.7.202211 Protokoll, 58 Sekunden
Episode Artwork

chicken-rice crisis วิกฤตข้าวมันไก่ในสิงคโปร์ และเหตุผลที่คนสิงคโปร์รักเมนูนี้ | Bon Appétit EP13

ท่ามกลางกระแสตามหาข้าวมันไก่ร้านเด็ดในบ้านเราบนโลกออนไลน์ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าสิงคโปร์กำลังเผชิญอยู่ตอนนี้คือปัญหา chicken-rice crisis หรือไก่สดขาดแคลนครั้งใหญ่ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงจนเป็นวิกฤตที่ต้องเร่งหาทางออก อะไรทำให้ชาวสิงคโปร์รักเมนูนี้ แล้วปัญหาเรื่องรสชาติและปากท้องของชาวสิงคโปร์จะแก้ไขได้อย่างไร ติดตามได้ใน Bon Appétit EP.13
29.6.202210 Protokoll, 42 Sekunden
Episode Artwork

ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่ทำให้ ‘ป๊อปอาย’ ต้องกินผักโขม และธุรกิจผักโขมขายดีขึ้น 33% | Bon Appétit EP12

หลายคนน่าจะรู้จัก ‘ป๊อปอาย’ ชายสูบไปป์ใส่ชุดกะลาสีเรือที่เวลาปกติก็ดูเป็นชายรูปร่างธรรมดา แต่กล้ามจะโตขึ้นจนมีพละกำลังแข็งแกร่งเกินมนุษย์เมื่อเปิดฝากระป๋องเทผักโขมเข้าปาก แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังของการกินผักโขมของป๊อปอายมาจากความผิดพลาดในการใส่จุดทศนิยมตอนบันทึกค่าสารอาหารธาตุเหล็กที่อยู่ในผักโขมจนเกิดความเข้าใจผิดที่ส่งผลกว่าที่คิด เบื้องหลังความผิดพลาดครั้งนี้เป็นยังไงและส่งผลยังไงบ้าง ฟังได้ใน Bon Appetit EP12
22.6.20226 Protokoll, 40 Sekunden
Episode Artwork

“คำแรกติดใจ คำต่อไปติดคอ” คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง ‘น้ำพริกแคบหมูยายน้อย’ ถึงการตลาดที่บูลลี่ตัวเองจนขายดิบขายดี | Bon Appétit EP11

หลายคนรู้จัก ‘น้ำพริกแคบหมูยายน้อย’ ในฐานะแบรนด์ที่เรียกรอยยิ้มให้ผู้คนบนโลกออนไลน์ผ่านคอนเทนต์บนโลกโซเชียลฯ ที่บูลลี่ตัวเองอย่างมีอารมณ์ขัน จนกลายเป็นกระแสที่ทำให้แบรนด์น้ำพริกแคบหมูเล็กๆ เป็นที่รู้จักของใครหลายคน Bon Appetit EP11 จึงชวน เบียร์–ศรัญญู เพียรทำดี แอดมินและลูกชายยายน้อย ผู้อยู่เบื้องหลังเสียงหัวเราะของผู้ติดตามเพจมาบอกเล่าถึงกลยุทธ์การตลาดที่ไม่มีตำราเล่มใดแนะนำ อะไรทำให้แบรนด์แคบหมูที่บอกว่า “ดีต่อใจ แต่บรรลัยต่อฟัน” เติบโตมาถึงวันนี้ คลิกฟังกันได้เลย ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์
15.6.202253 Protokoll, 17 Sekunden
Episode Artwork

‘แมรีลู เจโซ' เชฟอบขนมเพียงหนึ่งเดียวใน Pixar ถึงบอกว่างานของเธอคืองานที่ดีที่สุดในโลก | Bon Appétit EP10

‘Pixar’ คือหนึ่งในบริษัทที่สร้างความสุขให้คนจำนวนมากบนโลกใบนี้ผ่านแอนิเมชั่นเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาทำ แต่น้อยคนจะรู้ว่าองค์กรนี้ที่ประกอบไปด้วยพนักงานหลายร้อยคน มีคนอยู่หนึ่งคนที่คอยสร้างความสุขให้พวกเขาในฐานะคนทำขนมเพียงหน่ึงเดียว เธอคนนั้นคือ ‘แมรีลู เจโซ' เบื้องหลังงานในครัวที่ส่งผลมายังนอกครัวของเธอเป็นยังไง ฟังได้ใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP10 ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ 
8.6.20226 Protokoll, 43 Sekunden
Episode Artwork

เบื้องหลังการเติบโตของ ‘ปา เฮ่า เถียน มี่’ ร้านขนมหวานที่แปลงร่างมาจากบาร์คอนเซปต์โรงเตี๊ยม 'ปา เฮ่า’ | Bon Appétit EP09

‘ปา เฮ่า เถียน มี่’ คือร้านขนมหวานในเยาวราชที่ดึงเอาวัตถุดิบของย่านมารังสรรค์เมนูจนได้รับการยอมรับทั้งจากนักชิมชาวไทยและต่างชาติ จนปัจจุบันนี้ ปา เฮ่า เถียน มี่ แผ่ขยายความอร่อยออกไปไกลหลายสาขาทั่วกรุงเทพฯ เบื้องหลังการเติบโตของร้านขนมที่มีทีเด็ดอย่างพุดดิ้งเป็นตัวชูโรงคืออะไร ติดตามฟังได้จากปาก 3 ผู้ร่วมก่อตั้งใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP09 ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์
1.6.20221 Stunde, 13 Protokoll, 37 Sekunden
Episode Artwork

จากรถเข็นขายฮอตด็อกในสวนสาธารณะ ‘Shake Shack’ ทำยังไงจนแบรนด์มีมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ | Bon Appétit EP08

“สวัสดี ประเทศไทย! พวกเราจะเสิร์ฟ Shackburger ในดินแดนแห่งรอยยิ้มเร็วๆ นี้” คือประโยคทักทายจากเพจ Shake Shack ที่ทำให้นักชิมชาวไทยหัวใจรักแฮมเบอร์เกอร์ดีใจยกใหญ่ Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP08 จะพาไปหาคำตอบว่าจากรถเข็นขายฮอตด็อกในสวนสาธารณะ Shake Shack ทำยังไงจนแบรนด์มีมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ และขยายสาขาไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ 
25.5.202210 Protokoll, 24 Sekunden
Episode Artwork

อะไรคือแรงดึงดูดของโคคา-โคลา ที่ทำให้วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถึงขนาดซื้อหุ้น 400 ล้านหุ้น และดื่มวันละ 5 กระป๋อง | Bon Appétit EP07

ที่ผ่านมามีเซเลบริตี้ระดับโลกมากมายสร้างกระแส (ทั้งบวกและลบ) ให้เครื่องดื่มอย่าง ‘โคคา-โคลา’ อยู่เป็นระยะ ไม่นานมานี้ก็เช่น คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ซูเปอร์สตาร์ลูกหนังทีมชาติโปรตุเกส หรืออีลอน มัสก์ ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่บุคคลหนึ่งที่ชื่อผูกติดกับโคคา-โคลา ในฐานะผู้ภักดีถึงขั้นซื้อหุ้น 400 ล้านหุ้นและดื่มทุกวันคือ ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ พ่อมดแห่งโลกการเงิน ส่วนที่มาที่ไปเป็นเช่นไร ฟังได้ใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP.7 ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ 
18.5.20227 Protokoll, 44 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘แต๋ง–กฤษฎ์กูล ชุมแก้ว’ จากร้านยำเล็กๆ ในพัทยา อะไรทำให้ธุรกิจเติบโต จนฝันอยากให้ทุกบ้านมีเครื่องปรุง After Yum | Bon Appétit EP06

เชื่อว่าหากใครชื่นชอบอาหารรสแซ่บน่าจะคุ้นชื่อ ‘After Yum’ เป็นอย่างดีในฐานะร้านยำร้านเด็ดแห่งพัทยาที่คิวยาวเหยียด (ถึงขั้นเกิดงานรับจ้างเข้าคิวที่ร้าน) และยังเป็นผู้จุดกระแสร้านยำให้ฮอตฮิตในบ้านเราจนมีธุรกิจร้านยำเกิดใหม่มากมาย และวันนี้ก้าวมาสู่จุดที่มีผลิตภัณฑ์ของ After Yum ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำแล้ว Bon Appétit ตอนนี้จะมาคุยกับ แต๋ง–กฤษฎ์กูล ชุมแก้ว หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งว่าจากร้านยำเล็กๆ ในพัทยา อะไรทำให้ธุรกิจเติบโต จนมีความฝันอยากให้ทุกบ้านมีเครื่องปรุง After Yum ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ 
11.5.20221 Stunde, 17 Protokoll, 43 Sekunden
Episode Artwork

Sushiro ในไต้หวันทำยังไงถึงมีคนยอมเปลี่ยนชื่อในบัตรประชาชนเป็นคำว่า ‘แซลม่อน’ เพื่อกินซูชิฟรี | Bon Appétit EP05

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเป็นแฟนพันธุ์แท้อาหารจากแดนปลาดิบอย่างซูชิ คำถามคือถ้ามีร้านซูชิเปิดโอกาสให้คุณกินฟรี 2 วัน เงื่อนไขใดบ้างที่คุณจะยอมรับได้ ถ้าต้องไปเปลี่ยนชื่อในบัตรประชาชนจะยอมไหม? Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP05 จะพาไปฟังเรื่องราวของแคมเปญบนโลกออนไลน์สุดสร้างสรรค์ของ Sushiro ในไต้หวัน ว่าอะไรกันที่ทำเอาคนจำนวนไม่น้อยยอมแห่ไปเปลี่ยนชื่อเป็น ‘แซลม่อน’ ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ 
4.5.20228 Protokoll, 17 Sekunden
Episode Artwork

ในยุคที่ไอศกรีมยังเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยและราคาถูก ทำไม Häagen-Dazs จึงกล้าตั้งราคาสูงแต่ก็ยังเติบโตเป็นแบรนด์ระดับโลก | Bon Appétit EP04

หากย้อนกลับไปช่วงยุคปลาย 50s ตอนนั้นไม่มีพ่อค้าขายไอศกรีมคนไหนกล้าทำไอศกรีมที่ราคาแพงๆ ออกมาขาย เพราะไอศกรีมไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพ ราคาไอศกรีมในท้องตลาดมีแต่จะถูกลงๆ แล้วอะไรทำให้แบรนด์ไอศกรีมที่ชื่อไม่มีความหมายในพจนานุกรมอย่าง Häagen-Dazs จึงกล้าตั้งราคาสูงในวันนั้น แถมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในยุคหนึ่ง Häagen-Dazs คือความรื่นรมย์ของชาวบุปผาชนในสหรัฐอเมริกา และวันนี้ก็กลายเป็นแบรนด์ระดับโลก หาคำตอบเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ไอศกรีมขวัญใจใครหลายคนได้ใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP04 ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์
27.4.202212 Protokoll, 11 Sekunden
Episode Artwork

คุยกับ ‘กานต์ กิตติเวช’ วันที่โลกนี้มีก๋วยเตี๋ยวเรือมากมาย ทำไม ‘ทองสมิทธ์’ ยังคงเปล่งประกาย | Bon Appétit EP03

ก๋วยเตี๋ยวเรือไม่ใช่เมนูแปลกใหม่หรือหากินยากอะไร ราคาส่วนใหญ่ก็ล้วนเข้าถึงได้ง่ายอยู่แล้ว มองเผินๆ แทบไม่เหลือช่องว่างทางการตลาดให้ร้านหน้าใหม่ได้แจ้งเกิด แต่อยู่มาวันหนึ่งก็มีร้านก๋วยเตี๋ยวเรือร้านหนึ่งเลือกทำเลในห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง ตั้งราคาสูงตามคุณภาพของวัตถุดิบ  แล้วนับจากวันนั้นคนรักก๋วยเตี๋ยวเรือในบ้านเราก็แทบไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ ‘ทองสมิทธ์’ Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP03 จึงชวน ‘กานต์ กิตติเวช’ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและอยู่เบื้องหลังเมนูต่างๆ ที่ใครที่ได้ชิมต่างติดใจ สังเกตได้จากคิวแต่ละสาขาที่ยังคงเนืองแน่น มาพูดคุยว่าอะไรคือเบื้องหลังความสำเร็จของทองสมิทธ์ วันที่โลกนี้มีก๋วยเตี๋ยวเรือมากมาย ทำไมร้านก๋วยเตี๋ยวเรือแห่งนี้จึงยังคงเปล่งประกาย ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์
20.4.20221 Stunde, 20 Protokoll, 5 Sekunden
Episode Artwork

McDonald's แก้เกมยังไงในอินเดีย ประเทศที่คนฮินดูไม่กินเนื้อและคนมุสลิมไม่กินหมู | Bon Appétit EP02

ตอนนี้อาหารสตรีทฟู้ดอินเดียกลายเป็นกระแสจากคลิปวิดีโอสั้นๆ ในโลกโซเชียลฯ อีพีนี้เราเลยอยากชวนไปฟังเรื่องราวการบุกตลาดในอินเดียของ McDonald’s แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคย พร้อมโจทย์แสนโหดหิน เพราะประชากรในอินเดียมีทั้งชาวฮินดูและชาวมุสลิม อย่างที่รู้กันว่าชาวฮินดูนั้นไม่กินเนื้อ ขณะที่ชาวมุสลิมไม่กินหมู ในเมื่อเมนูที่ขายไม่ได้มีแค่ไก่ แต่ยังต้องขายอย่างอื่นด้วย McDonald’s ที่อินเดียใช้กลยุทธ์อะไรในการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ชวนฟังกันได้ใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP02 ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์
13.4.20229 Protokoll, 4 Sekunden
Episode Artwork

ทำไมมีตบอลจึงทำให้ตู้หนังสือ BILLY ใน IKEA ขายดีขึ้น | Bon Appétit EP01

ถ้าคุณคือคนที่ไป IKEA เพื่อกินอาหารแล้วค่อยไปเดินช้อปปิ้งต่อไม่ต้องแปลกใจเพราะคุณไม่ใช่คนเดียวที่เป็นแบบนั้น ในปีหนึ่งทั่วโลก มีคนกว่า 200 ล้านคนกำลังทำแบบเดียวกันกับคุณ มาที่ IKEA เพียงเพื่อมานั่งกินข้าวที่นี่ ตัวเลขคร่าวๆ ของเงินที่ IKEA ได้จากกิจการร้านอาหารคือราวๆ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 65,000 ล้านบาท) ต่อปี ทั้งๆ ที่กิจการหลักของตัวเองคือขายเฟอร์นิเจอร์ IKEA Restaurant & Cafe มีที่มาที่ไปยังไง และมีวิธีคิดใดซ่อนอยู่หลังครัว ชวนฟังกันได้ใน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP01 ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์
6.4.202212 Protokoll, 29 Sekunden
Episode Artwork

‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ รายการธุรกิจอาหารฟังอร่อยที่ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มเคล็ดการตลาด | Bon Appétit EP00

ขอต้อนรับสู่ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ รายการธุรกิจอาหารที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร แฟรนไชส์ ขนม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ไล่ลามไปถึงเครื่องครัวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารทั้งสเกลเล็ก กลาง ใหญ่ ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่–มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to Word Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อย ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด
5.4.20223 Protokoll, 40 Sekunden